ชาวนา กุ้ง เมืองสองพี่น้อง กำไรเพราะใช้ เคพี ไดนามิก / แม็ก ไดนามิก และ ไดนามิก พลัส

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์การเลี้ยง กุ้ง ในประเทศไทยปัจจุบัน ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลถึงราคากุ้งที่ปรับตัวลดลง รวมถึงปัญหาเรื่องโรคระบาดในกุ้ง ที่ยังคงมีให้เห็นเป็นระยะ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเกษตรกรในการลงกุ้ง ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง เช่น การปรับลดขนาดบ่อ การปล่อยความหนาแน่นกุ้งให้เบาลง การเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับกุ้งก้ามกราม ซึ่งวิธีนี้เป็นอีกวิธีในการ ลดต้นทุน และ เพิ่มกำไร ให้เกษตรกร

ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวนมากนิยมเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับกุ้งก้ามกราม ถือเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ลงทุนเพียงครั้งเดียวได้ประโยชน์ 2 ทาง ประโยชน์ทางแรก คือ การลดต้นทุนค่าอาหาร เพราะกุ้งขาวกินอาหารด้านบน ส่วนกุ้งก้ามกรามกินอาหารที่ตกลงข้างล่าง และประโยชน์อีกทาง คือ การที่กุ้งก้ามกรามกินอาหารบนพื้นดินนั้น จะช่วยกำจัดของเสีย และซากกุ้งขาวที่ตาย เป็นการตัดเชื้อไม่ให้เกิดการสะสม ลดการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดโรคในกุ้ง

1.คุณลุงเชาว์ เกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
1.คุณลุงเชาว์ เกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์

การเพาะเลี้ยงกุ้ง

ทีมงานสัตว์น้ำได้มีโอกาสลงพื้นที่ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี  ได้ร่วมพูดคุยกับ ลุงเชาว์ บุญเกิด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ที่ผันตัวจากการรับจ้างขับรถแทรกเตอร์ไถนา หันมาเลี้ยงกุ้งตามคำแนะนำของเพื่อนๆ เกษตรกร ปัจจุบันลุงเชาว์มีบ่อกุ้งอยู่ทั้งหมด 3 บ่อ แบ่งเป็นบ่อ 3 ไร่, บ่อ 6 ไร่ และ บ่อ 10 ไร่  เลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับกุ้งก้ามกราม ได้เล่าถึงครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยงกุ้ง เริ่มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามล้วนเพียงบ่อเดียว ซึ่งบ่อในตอนนั้นก็แปลงจากการทำนามาทำบ่อกุ้ง ผลลัพธ์การเลี้ยงครั้งแรกค่อนข้างดี จับขายได้ราคาดี จึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนในการเลี้ยง และตอนนี้ก็เลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับกุ้งก้ามกรามทั้งหมด 3 บ่อ

สิ่งสำคัญในการเลี้ยงกุ้ง คือ การเตรียมบ่อ เตรียมน้ำ  การเตรียมบ่อที่ดีในการเลี้ยงกุ้งจะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคในกุ้ง ซึ่งสำหรับบ่อดินแล้วยิ่งต้องดูแล ลุงเชาว์เล่าว่า หลังจากจับกุ้งเรียบร้อยแล้ว จะไม่ปรับบ่อทุกครั้ง แต่จะปรับทุก 5-6 ปี เพราะฉะนั้นจึงมีการใช้ ไดนามิก พลัส มาผสมน้ำ แล้วฉีดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นเพียงตากบ่อให้แห้ง จนดินแตกระแหง เท่านี้ก็จะไม่มีเลน

2.ผลิตภัณฑ์ ไดนามิก พลัส และ แม็กไดนามิก
2.ผลิตภัณฑ์ ไดนามิก พลัส และ แม็กไดนามิก

คุณสมบัติของ ไดนามิก พลัส และ เคพี ไดนามิก

สำหรับ ไดนามิก พลัส คือ สารปรับสภาพดิน สูตรปรับปรุงสภาพน้ำเพื่อ บ่อกุ้ง และ บ่อปลา ที่ได้รับการตรวจสอบจาก “หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน” โดยการทำงานของ ไดนามิก พลัส เป็นการใช้จุลินทรีย์มาช่วย ในขั้นตอนการเตรียมบ่อ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และสร้าง “สัตว์หน้าดิน” เพื่อเป็นอาหารให้กับลูกกุ้งในบ่อ

ซึ่ง ไดนามิก พลัส ปริมาณ 1 กรัม มีจุลินทรีย์ถึง 87,000 ตัว มากกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่ปริมาณ 1 กรัม มีจุลินทรีย์ประมาณ 3,000 ตัว จุลินทรีย์เหล่านี้เข้ามาช่วยย่อย ขี้กุ้ง ขี้ปลา เศษอาหารตกค้าง ทำให้น้ำใส แสงแดดส่องลงไปในบ่อน้ำได้ดี ลดการเกิดของเสียในบ่อ และลดการเกิดก๊าซไข่เน่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงกุ้ง เรื่องการเตรียมน้ำก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ถ้าอยากได้น้ำที่คุณภาพดี ต้องหมั่นกำจัดของเสียที่ดินด้วยจุลินทรีย์เสียก่อน ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีตามธรรมชาติในบ่อกุ้งมีไม่เพียงพอสำหรับบ่อที่เลี้ยงหนาแน่น อย่าง บ่อลุงเชาว์ จึงต้องมีการใช้ ไดนามิก พลัส  เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทาง บริษัท เกษตรเคมีภัณฑ์ จำกัด เพาะเลี้ยงขึ้นมาเอง และเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถใส่แล้วใช้งานได้ทันที 

แร่ธาตุรวม เคพีไดนามิก
แร่ธาตุรวม เคพีไดนามิก

ลุงเชาว์เล่าว่า เมื่อก่อนลุงก็เลี้ยงแบบลองผิดลองถูก การเลี้ยงกุ้งย่อมต้องศึกษาข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เจอปัญหาพื้นดินเน่าเหม็นมาจากอาหารกุ้ง ซึ่งมีบางส่วนที่กุ้งกินไม่หมดแล้วตกลงก้นบ่อ ทำให้สะสมเกิดการเน่าเสีย มีผลทำให้น้ำโดยรวมเน่าเสียไปด้วย ช่วงนั้นลุงก็ต้องมาศึกษาหาวิธีการแก้ไข และได้มีเพื่อนเกษตรกรเลี้ยงกุ้งในหมู่บ้านแนะนำ เคพี ไดนามิก ช่วยในการเสริมแร่ธาตุให้กุ้ง แก้ปัญหาเรื่องค่า pH น้ำไม่นิ่ง หรือ pH ตก รวมถึงปัญหากุ้งตัวขาวขุ่น เนื้อไม่แน่น และ กุ้งลอกคราบไม่แข็ง ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ กุ้งตัวจะสะอาด และลอกคราบได้ปกติดี

ซึ่ง เคพี ไดนามิก ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจาก “ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ” ว่ามีแร่ธาตุอยู่หลายชนิด อาทิ แคลเซียม 68%, อัลคาไลน์ 5.65%, แมกนีเซียม 4.49%, ซิลิคอน 17.96%, เหล็ก, โพแทสเซียม รวมถึงแร่ธาตุอีกหลายชนิด การใช้ก็ใช้ในปริมาณไม่มาก เพียง 3 กิโลกรัม/ไร่

หลังจากที่ลุงเชาว์ทดลองใช้ตามคำแนะนำ ปรากฏผลให้เห็นชัดเจนในเรื่องสีของน้ำ และ พื้นบ่อ ซึ่งปกติลุงจะลงไปงมดินก้นบ่อมาเช็คทุก 7 วัน ผลปรากฏว่าจากพื้นสีเขียวกลายเป็นสีเหลือง แสดงว่ากุ้งกินอาหารได้ดี สีน้ำดูดี และปัจจุบันลุงใช้ ไดนามิก พลัส คู่กับ เคพี ไดนามิก เป็นประจำ เพื่อปรับทั้งสภาพดินและน้ำ

การตรวจวัดคุณภาพน้ำ เกษตรกรหลายคนอาศัยความชำนาญ โดยการสังเกตสีของน้ำด้วยตาเปล่า แต่การวัดคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลูกกุ้งนั้น มีความจำเป็น ควรได้ค่า pH 7-8.5 รวมถึงวัดค่าแคลเซียม, แมกนีเซียมคลอไรด์, โพแทสเซียม, แอมโมเนีย และ ไนเตรท ให้ได้ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานที่สุด หากค่าใดมีค่าน้อย ต้องหาแร่ธาตุมาเสริม                                                    

3.ขั้นตอนและวิธีการใช้แร่ธาตุรวม เคพีไดนามิก
3.ขั้นตอนและวิธีการใช้แร่ธาตุรวม เคพีไดนามิก

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงกุ้ง

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง อ.สองพี่น้อง ป้ามาลี อ่อนละมูล เป็นอีกหนึ่งราย ที่ประสบปัญหาคล้ายกัน คือ ปัญหาพื้นบ่อเน่าเสีย ดินเป็นสีดำ ส่งกลิ่นเหม็น เล่าให้ทีมงานสัตว์น้ำฟังว่า ตอนเจอปัญหาพื้นบ่อเน่า ไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง เลยจะจับกุ้งขึ้น แม้จะยังไม่ได้ไซส์ที่ต้องการ เพราะหากปล่อยไว้กุ้งก็จะตาย พอดีคนรู้จักเข้ามาแนะนำวิธีแก้เพื่อให้ได้เลี้ยงกุ้งต่อได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตนจึงลองเสี่ยงนำ เคพี ไดนามิก มาทดลองใช้ หลังจากหว่านลงไป 2 กระสอบ ผลปรากฏว่าดินที่เคยเน่าเสียกลับดีขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น กุ้งรอด สามารถเลี้ยงต่อได้กว่า 20 วัน แล้วจับขาย หลังจากนั้นป้ามาลีจึงนำทั้ง ไดนามิก พลัส และ เคพี ไดนามิก มาวางขายที่ ร้านมาลีวรรณ เกษตรภัณฑ์ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน ต.บางตาเถรได้ใช้ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำ ดิน เสียในบ่อกุ้ง

การเสริมแร่ธาตุในน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณ แร่ธาตุ แคลเซียม และ แมกนีเซียม ในน้ำ ให้เพียงพอต่อการลอกคราบ เนื่องจากกุ้งต้องลอกคราบทุกวัน ดังนั้นต้องเริ่มเตรียมการตั้งแต่ก่อนปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ โดยใช้ แม็ก ไดนามิก ซึ่งมีสารเสริมแร่ธาตุ ทั้งแคลเซียม 48% และ แมกนีเซียม 68% เหมาะกับการใช้ในระยะยาว ใช้ 7-10 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะเวลาในการใส่ 15 วันต่อครั้ง จะช่วยให้กุ้งติดดี แข็งแรง และยังช่วยแก้ปัญหากุ้งเป็นตะคริว กุ้งตัวขุ่น ลอกคราบแล้วไม่แข็ง

4.คุณป้ามาลี ตัวแทนจำหน่าย และเกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
4.คุณป้ามาลี ตัวแทนจำหน่าย และเกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

และสุดท้ายป้ามาลีอยากฝากถึงคนเลี้ยงกุ้งทุกคนว่า “การเลี้ยงกุ้งมันไม่มีความรู้ตายตัว ทำแบบเดิมมา 10 ครั้ง ก็ใช่ว่าครั้งที่ 11 จะได้ผลลัพธ์แบบเดิม การเลี้ยงกุ้งต้องคอยศึกษาหาข้อมูลอยู่ตลอด ถ้าเกิดปัญหาก็แค่หาข้อมูลแก้ไขไปเรื่อยๆ เรื่องกุ้งต้องหาความรู้ตลอด ไม่มีวันจบ”

ขอขอบคุณ ป้ามาลี อ่อนละมูล  ร้านมาลีวรรณ เกษตรภัณฑ์ และ ลุงเชาว์ บุญเกิด  1 ม.1 ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการคำแนะนำเรื่องผลิตภัณฑ์สำหรับกุ้ง สอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท เกษตรเคมีภัณฑ์ จำกัด โทร.092-561-5556

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 386