เกษตรกรเลี้ยง “ หนอนแมลงโปรตีน ” ทดแทน กากถั่ว และ ปลาป่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

Black solider fly หรืออีกชื่อคือ “หนอนแมลงวันลาย” ชื่ออาจดูฟังแล้วเหมือนแมลงวัน ทำให้อาจไม่น่าสนใจ ทำให้ทาง ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ใช้ชื่อว่า “ หนอนแมลงโปรตีน ” เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และสื่อถึงประโยชน์ของหนอนชนิดนี้ คือ มีปริมาณโปรตีนสูง

ปัจจุบันภาคการเกษตรมีการวิจัยเกี่ยวกับหนอนชนิดนี้ ทำให้เกิดเป็นความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะหนอนแมลงโปรตีนนี้จะเป็นแหล่งโปรตีนจากแมลงที่สามารถนำใช้มาทดแทนแหล่งวัตถุดิบประเภทโปรตีน อย่างเช่น ปลาป่น และ กากถั่วเหลือง ได้

1.หนอนแมลงโปรตีน1

การผลิตหนอนแมลงโปรตีน

เนื่องจากในหนอนแมลงโปรตีนจะให้ปริมาณโปรตีนที่ใกล้เคียง กากถั่วเหลือง และ ปลาป่น ในตอนนี้แถบทวีปยุโรปกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการขยายการผลิตโดยใช้หนอนแมลงวันโปรตีนเพิ่มขึ้น เพราะหนอนแมลงโปรตีนถูกใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงปลา และเลี้ยงไก่ ซึ่งได้มีการผลักดันให้นำหนอนแมลงโปรตีนมาใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร และ สัตว์เคี้ยวเอื้อง เพิ่มขึ้น ทำให้สหรัฐอเมริกาเพิ่มฐานการผลิตในอุตสาหกรรมให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีจำนวนมากถึง 50,000-60,000 ตัน จากเดิมที่ผลิตได้ 20,000 ตันต่อปี

ในปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของการวิจัยเพื่อนำเอาหนอนแมลงโปรตีนมาใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งทางสำนักงานวิจัยการเกษตร (สวก.) ได้เป็นสื่อกลางในการหาผู้ประกอบการที่ต้องการนำไปผลิตเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะนี้การผลิตหนอนแมลงโปรตีนในประเทศไทยยังมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงกว่าวัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบัน จึงยังทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก

2.หนอนแมลงโปรตีน2

ข้อดีของหนอนแมลงโปรตีน

ข้อดีของหนอนแมลงโปรตีน คือ เป็นแมลงรักษ์โลก ที่ได้กินทุกอย่าง เช่น เศษผัก เศษอาหารจากในครัวเรือน หญ้าหมัก ซากพืชซากสัตว์ อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ มูลสัตว์ แต่จากการศึกษาพบว่า หนอนแมลงโปรตีนนั้นไม่ได้เป็นแมลงที่ก่อโรคหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งแตกต่างจาก แมลงวัน หรือ ยุง ไม่มีการกัดเพื่อดูดเลือด หรือแพร่เชื้อโรคไปสู่คน

อีกทั้งยังมีสารอาหาร เช่น โปรตีน ในปริมาณสูงมาก ใกล้เคียงกากถั่วเหลืองกว่า 40% เรียกได้ว่าเกือบเทียบเท่ากับปลาป่นที่ถูกเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ อีกทั้งยังมีไขมันอีกหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ เช่น กรดลอริก (lauric acid) ที่เป็นกรดไขมันสายกลางออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านเชื้อไวรัส และยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพ หรือกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fatty acid) และชนิดไม่อิ่มตัว (Polyun saturated fatty acid. PUFA) ชนิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงคาดว่าหนอนแมลงโปรตีนจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต เพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้ากากถั่วเหลืองมาจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง คาดว่าในอนาคตอาจมีมูลค่าที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย การที่ประเทศไทยสามารถผลิตหนอนแมลงโปรตีนได้จะช่วยลดทุนในการผลิตอาหารสัตว์ และเพิ่มโปรตีนให้กับอาหารสัตว์อย่างมหาศาล ปัจจุบันเริ่มมีโรงงานการผลิตที่ใช้หนอนแมลงโปรตีนในแถบเอเชียเพิ่มขึ้น เช่น เวียดนาม ยิ่งทำให้ความน่าสนใจในหนอนแมลงโปรตีนมีเพิ่มขึ้น

3.หนอนแมลงโปรตีน3

วงจรชีวิตของหนอนแมลงโปรตีน

หากจะเริ่มปรับใช้หนอนแมลงโปรตีนในอาหารสัตว์ นายกมล ฉวีวรรณ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร ได้ให้คำแนะนำว่าควรเริ่มที่อาหารไก่เป็นอย่างแรก โดยการใช้หนอนแมลงโปรตีน จะเริ่มใช้ในช่วงระยะก่อนที่หนอนจะกลายไปสู่ดักแด้ ซึ่งจะนับจากวงจรการเป็นตัวแมลง โดยหนอนแมลงโปรตีนจะมีรูปร่างคล้ายตัวต่อ มีสีดำ แต่ขนาดเล็กกว่าตัวต่อ สามารถพบเจอได้ทั่วไป ยิ่งในบริเวณที่มีการทำหญ้าหมัก มีเข้าระยะโตเต็มวัย มันจะกินเพียงน้ำเท่านั้น โดยจะผสมพันธุ์ ออกไข่ และตายลงประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากฟักเป็นตัว

เพราะฉะนั้นวงรอบตั้งแต่เริ่มเป็นโตเต็มวัย ไข่ หนอน และ ดักแด้ จะใช้ระยะเวลาประมาณเดือนเศษ จึงทำให้วงจรชีวิตของหนอนแมลงโปรตีนสั้นมาก เรียกได้ว่าคุ้มค่าการผลิต เพราะปีหนึ่งสามารถผลิตหนอนแมลงโปรตีนได้มากกว่า 10 วงรอบ เลยทีเดียว โดยช่วงเวลาที่จะทำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหารสัตว์นั้นจะใช้ระยะเวลาช่วงก่อนที่จะเป็นดักแด้ หรือที่เรียกกันว่า “ช่วงหนอนดำ” เพราะในช่วงเวลานี้โปรตีนที่ได้จะมีปริมาณสูงที่สุด

มีงานทดลองโดยนำหนอนแมลงโปรตีนในช่วงหนอนดำไปใช้ในการเลี้ยงไก่ โดยใช้เป็นหนอนแมลงโปรตีนแบบสดเป็นวัตถุดิบ ไข่ที่ได้มีคุณภาพที่ดีกว่าการให้อาหารไก่ไข่ล้วน การนำไปใช้เลี้ยงไก่อีกรูปแบบ คือ นำดักแด้ระยะหนอนดำที่ทำให้ตายมาผ่านกระบวนการทำให้แห้ง และนำมาทำเป็นอาหารในไก่ไข่

สำหรับการผสมในอาหารที่ให้กับหมู จะต้องนำไปทำให้แห้ง บดให้ละเอียด แล้วจึงนำมาผสมกับอาหาร ทดแทนการใช้ กากถั่วเหลือง หรือ ปลาป่น โดยในระยะสุกรเล็กสามารถใช้แทนกากถั่วเหลือง และระยะสุกรรุ่น-ขุน สามารถใช้แทนปลาป่น ส่วนปริมาณในการใช้ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่าจะให้ทดแทนในปริมาณเท่าไร การเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนสามารถเลือกสรรอาหารที่ให้ได้ เพื่อให้ได้สารอาหารตามที่ต้องการ โดยปริมาณโปรตีนและคุณภาพของหนอนแมลงโปรตีนจะขึ้นกับอาหารที่ใช้เลี้ยงหนอน

4.หนอนแมลงโปรตีน4

สภาพพื้นที่เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน

หนอนแมลงโปรตีนมักถูกพบในบริเวณเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น ประเทศไทยเป็นสถานที่หนึ่งที่สามารถพบเจอหนอนแมลงโปรตีนได้ทั่วไป โดยสังเกตได้ง่าย มีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีดำ จะมีการวางไข่เฉลี่ยต่อรอบอยู่ที่ 700-800 ฟอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กรรมวิธีในการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน จะต้องเตรียมพื้นที่โรงเรือนที่มีตาข่ายหรือมุ้ง เพื่อป้องกันตัวเต็มวัยของหนอนแมลงโปรตีนบินหนี โดยนิสัยแล้วตัวเต็มวัยมักชอบผสมพันธุ์ในที่ที่มีแสงสว่าง ช่วงเวลาประมาณ 10.00-12.00 น. การเตรียมพื้นที่สำหรับวางไข่ ให้นำแผ่นไม้มาประกบกันให้มีช่องว่างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สามารถนำแผ่นไม้แต่ละแผ่นมาวางประกบกันประมาณ 3-4 ชั้น

โดยจะต้องมีการนำอาหารมาวางล่อเพื่อให้แม่พันธุ์ทำการวางไข่ เนื่องจากแม่พันธุ์มักจะวางไข่ในจุดที่เห็นว่าเมื่อหนอนฟักออกมาจากไข่จะมีอาหารให้ลูกกินอย่างแน่นอน แมลงโปรตีนจะวางไข่ตามบริเวณช่องว่าง เช่น ระหว่างช่องไม้ที่เตรียมไว้ เมื่อถึงเวลาเก็บไข่จะต้องใช้วิธีขูดนำไข่ออกมาแล้วไปฟักในอาหาร 3-4 วันต่อมา จะกลายเป็นหนอน โดยในระยะที่เป็นหนอนจะชอบอยู่ในที่มืด แต่เมื่อเป็นตัวโตเต็มวัยมักจะออกหาแสงเสมอ

5.หนอนแมลงโปรตีน5

แนวโน้มในอนาคต

ในอนาคตคาดว่าประเทศไทยจะได้นำเอาหนอนแมลงโปรตีนที่ให้โปรตีนสูง และสารอาหารที่มีประโยชน์ มาใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยผลิตอาหารสัตว์ที่สามารถเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับผลิตภัณฑ์ที่จะส่งต่อไปยังผู้บริโภค และยังสามารถสร้างแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรคนไทยได้ลืมตาอ้าปากกันได้มากขึ้น

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 343