ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเมืองร้อนชื้น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของ แมลงสาบ หนู แมลงวัน และ ด้วงดำ เป็นต้น ซึ่ง สัตว์พาหะโรค เหล่านี้ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เมื่อมีอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมและเอื้ออำนวย
ประเทศไทยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่หลากหลาย เพื่อผลิต “โปรตีน” จากปศุสัตว์ ทั้ง เนื้อ นม และไข่ ป้อนผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศหลายแสนล้านบาท/ปี ก่อให้เกิดการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานหลายล้านคน
เกิดฟาร์มปศุสัตว์กระจายไปทั่วประเทศ ทั้ง อิสระ และ ลูกเล้า ของบริษัทยักษ์ใหญ่
แต่เพราะความที่ประเทศไทยเป็น “เมืองร้อนชื้น” ทำให้โรคจาก ไวรัส และ แบคทีเรีย เกิดได้ง่าย จึงกระจายเข้าสู่ฟาร์มทั้งหลาย ผ่าน “พาหะ” ต่างๆ เช่น คน สัตว์ ยานพาหนะ และ แมลง เป็นต้น จนทำลายสัตว์เสียหาย เจ้าของฟาร์มขาดทุนป่นปี้ กว่าจะกลับเข้าวงการได้ต้องใช้ เวลา และ ทุน ส่งผลต่อภาพรวมด้านสัตว์เศรษฐกิจทั้งประเทศ ที่ประเมินค่าความเสียหายได้ยาก
การผลิตสารเคมีกำจัดแมลง
แม้ว่าวันนี้จะมี เคมี หรือยา ที่นำเข้าจากบริษัทดังๆ ในทางประเทศ เพื่อฆ่าสัตว์พาหะดังกล่าว แต่ก็มี “จุดอ่อน” หลายอย่าง เช่น ราคาแพง หรือยาบางอย่างก็อันตรายต่อผู้บริโภคเนื้อสัตว์ หากใช้ไม่ถูกต้อง หรือต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้ได้ผล
เพื่อแก้ปัญหาสัตว์พาหะแบบยั่งยืน บริษัท ICB Pharma จำกัด ประเทศโปแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนและสัตว์สู่ตลาดโลก ได้มองเห็นจุดอ่อนของสารเคมีกำจัดแมลง จึงได้คิดค้นและพัฒนาสูตรเคมีจาก “โพลิเมอร์” และพบ “วิธีการ” นำไปใช้แล้ว สัตว์พาหะจะหยุดการเคลื่อนไหว ภายใน 60 วินาที และตายภายใน 24-48 ชั่วโมง ปลอดภัยกับ คน สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม จนได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก
นวัตกรรมด้านโพลิเมอร์ของ บริษัท ICB Pharma จำกัด ประเทศโปแลนด์ อยู่ในสายตาของ คุณโสภณ เพิ่มพูลบูรณะ มาตลอด เพราะเขาคือ “ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการสัตว์พาหะ” ลำดับต้นๆ ของประเทศไทย มีศาสตร์และศิลป์ในการจัดการสัตว์พาหะทุกชนิดอย่างได้ผล
และในทางธุรกิจ เขาคือตัวแทนจำหน่ายเคมีจากบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง บริษัท บีเอเอสเอฟ (ไทย) จำกัด, บริษัท ซูมิโตโม เคมีคอล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด มาจำหน่ายในไทยมากกว่า 7 ปี มีผลงานเป็นที่ยอมรับของ 3 ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ จน บริษัท เอ็กซ์เปอร์ท เพสท์ ซิสเต็ม จำกัด ที่เขาเป็นกรรมการผู้จัดการ มีเครดิตมากในสายตาคู่ค้า
ด้านตลาดผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง
ในที่สุดคุณโสภณฯ ได้ตัดสินใจเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ICB Pharma จำกัด ประเทศโปแลนด์ แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย และได้เริ่มก่อตั้ง บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท ฟาร์ม โซลูชั่น จำกัด เพื่อขยายตลาดและโอกาสเติบโตทางด้านปศุสัตว์ โดยมี น.สพ. วีริศ หิรัญภูมิ, น.สพ. รุจ ชูชัยแสงรัตน์, นายโสภณ เพิ่มพูลบูรณะ และ นายกฤษดา เพิ่มพูลบูรณะ มาร่วมธุรกิจ
เมื่อพูดถึง เดอกัล® (Dergall®) กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์ระดับโลก คุณหมอวีริศ หิรัญภูมิ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานที่ประเทศโปแลนด์ กล่าวว่า “สารออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มโพลิเมอร์ เมื่อนำมาใช้ทดลองหน้างานจริง ปรากฏว่าสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของแมลงได้ภายใน 60 วินาที และตายภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยแมลงไม่สามารถสร้างกลไกการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มนี้ได้”
การนำ เดอกัล® (Dergall®) ไปบุกตลาดฟาร์มปศุสัตว์ ปรากฏว่าเพียงไตรมาสแรกของปี’64 เริ่มเห็นความสำเร็จ เพราะยักษ์ใหญ่ในวงการปศุสัตว์ให้การยอมรับในสินค้าดังกล่าว
ดังนั้น บริษัท ICB Pharma จำกัด ประเทศโปแลนด์ จึงได้แต่งตั้ง “บริษัท เอ็กซ์เปอร์ท เพสท์ ซิสเต็ม จำกัด” ให้เป็นผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายยอดขายหลายล้านบาทต่อปี
การบริหารจัดการฟาร์ม
ตามทฤษฎี “ตีเหล็ก” ต้องตีตอนร้อน จึงจะได้มีดเล่มที่ต้องการ ภารกิจนี้ก็เช่นกัน เมื่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever; ASF) ยังควบคุมด้วยยาและวัคซีนไม่ได้ ย่อมมี “ความเสี่ยง” ในอุตสาหกรรมสุกรทั้งระบบ เช่นเดียวกับ “อุตสาหกรรมไก่เนื้อ” แค่ ด้วงดำ เกิดขึ้นและระบาดในฟาร์มไก่เนื้อที่เลี้ยงด้วยระบบปรับอากาศด้วยการระเหย (Evaporative Cooling System; EVAP (อีแวป)) ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคภายในฟาร์มผ่านด้วงดำ รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างโรงเรือน และอาคาร นำไปสู่ความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจอย่างมหาศาลแก่เจ้าของฟาร์ม
ดังนั้นการขับเคลื่อน เดอกัล® (Dergall®) เข้าสู่ฟาร์มปศุสัตว์อย่างรวดเร็ว จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนร่วมกัน ระหว่าง บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท ฟาร์ม โซลูชั่น จำกัด และฟาร์มปศุสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อมิให้สัตว์พาหะ นำเชื้อก่อโรคเข้าสู่วัฏจักรการผลิตสัตว์ จนก่อให้เกิดการป่วย ตาย หรือเสียหายทั้งระบบธุรกิจ
“เดิมผมเข้าไปหาฟาร์มแล้วบอกว่ามาขายยาฆ่าแมลง เขาจะบอกว่าใช้ไซเปอร์ฯ ก็จบแล้ว แต่พอเกิดโรค ASF ระบาดเขาจะโฟกัสไปที่สัตว์พาหะมากขึ้น” คุณหมอวีริศฯ ให้ความเห็น และยืนยันว่า “เดอกัล® (Dergall®)” เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาและการจัดการสัตว์พาหะที่ดีในฟาร์มปศุสัตว์ของไทย
ยกตัวอย่าง “หนู” ถ้าจะวางกับดักให้ได้ผล ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ วางตรงไหน วางอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องรู้พฤติกรรมของหนู และสัตว์พาหะต่างๆ จึงจะได้ผล
แม้แต่ “แมลงสาบ” ในฟาร์ม สามารถนำเชื้อไวรัสจากโรงเรือนหนึ่งไปอีกโรงเรือนหนึ่งได้ วิธีกำจัดแมลงสาบโดยทั่วไปมักใช้การพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งทำให้แมลงสาบตกใจและเกิดการแตกรัง แพร่กระจาย แต่ทางบริษัท ฯ มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดการแมลงสาบในภาวะโรคระบาดโดยไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายได้
หรือ “ไรขี้เรื้อน” ในฟาร์มสุกร ก็จัดเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบผลต่อประสิทธิภาพการผลิตสุกร ซึ่งวิธีที่ปฏิบัติกันมาตลอด คือ การพ่นสารเคมีกำจัดแมลงบนตัวสุกร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ ทางบริษัท ฯ มีความตั้งใจให้เกษตรกรไทยได้รับความรู้และได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่จัดการกับไรขี้เรื้อนอย่างเหมาะสม โดยมองถึงผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ
ในฟาร์มไก่เนื้อระบบอีแวป เมื่อพบ “แมลงปีกแข็ง” หรือ “ด้วงดำ” ปะปนอยู่ใต้แกลบ โดยด้วงดำจัดเป็นสัตว์พาหะนำเชื้อ “ซัลโมเนลลา (Salmonella spp.)” โดยตรง ดังนั้นวิธีการหยุดด้วงดำที่ใช้กันแพร่หลาย คือ การใช้ สารเคมีกำจัด ซึ่งปรากฏว่าการควบคุมด้วยสารเคมีแบบดั้งเดิมนั้นเริ่มไม่ได้ผล อันเนื่องมาจากการดื้อยานั่นเอง
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง
ทั้งนี้การขับเคลื่อนเข้าสู่ฟาร์มปศุสัตว์ ด้วยมือจัดจำหน่าย อย่าง บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท ฟาร์ม โซลูชั่น จำกัด นั้น ใช้ ทีมเวิร์ค ในการทำงาน หมอวีริศฯ ศิษย์เก่าสัตวแพทย์จุฬา รุ่น 69 ยึดอาชีพการตลาด ขายยาสัตว์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในไทยมาตลอด จึงแน่นด้วยประสบการณ์ ดังนั้นการวางเป้าหมายยอดขายปีนี้หลายล้านบาท จึงเป็นงานท้าทายอย่างยิ่ง
การปั้นผลิตภัณฑ์ เดอกัล® (Dergall®) โดย บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท ฟาร์ม โซลูชั่น จำกัด และบริษัทตัวแทนจำหน่าย ผนึกกำลังลุยตลาดปศุสัตว์ ท่ามกลางวิกฤตการระบาดของโรค ASF ในสุกร จึงเป็นงานเร่งด่วน หากทุกฟาร์มหยุด “สัตว์พาหะ” ได้ ก็ลดความเสี่ยงจากโรค ASF ได้ทางหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้เจ้าของฟาร์มสุกรเข้าใจดี
สนใจสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ เดอกัล® (Dergall®) และงานบริการการจัดการสัตว์พาหะในฟาร์มปศุสัตว์เพิ่มเติมได้ที่โทร. 082-419-9465