บนเส้นทางธุรกิจไก่เนื้อ 35 ปี ของ ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป เติบโตมาตลอด สถาปนาโดย วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ โดยเริ่มเลี้ยงไก่เนื้อในจังหวัดลพบุรี วันละ 20,000 ตัว
การเลี้ยงไก่เนื้อ
18 สิงหาคม 2557 ได้นำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจ ในนาม บริษัท ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดี เมื่อเห็นว่าธุรกิจเป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องขยายฐานการเลี้ยง “ไก่เนื้อ” ด้วยรูปแบบ “ลูกเล้า” กระจายไปหลายจังหวัด ใช้ระบบ โรงเรือนอีแวป เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น เมื่อไก่อยู่สบาย ได้อาหารเม็ดที่ดี ก็ขยันกิน 42 วัน ได้น้ำหนักตัวละไม่เกิน 1.8 กก. ตามสเปคของไทยฟู้ดส์ ต่อมาก็พัฒนาพันธุ์เลี้ยง 32 วัน ได้น้ำหนัก 1.8 กก. ต้นทุนการเลี้ยงลด ทำกำไรให้ลูกเล้ามากขึ้น
“ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป” ส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อาเบอร์ฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์สากล ผู้บริโภคยอมรับ แต่ถ้ามีปัญหาบ้าง เช่น “กระเพาะคราก” เป็นต้น ก็พัฒนาจนแก้ปัญหาดังกล่าวได้ พูดง่ายๆ ไทยฟู้ดส์กรุ๊ปพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานนั่นเอง
สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่เนื้อ
คุณนุชดา โกลากุล หรือ “คุณอ๊อด” เป็นลูกเล้าไทยฟู้ดส์กรุ๊ป 19 ปี ยืนยันว่าจะภักดีไทยฟู้ดส์ฯ ตลอดไป เพราะเหตุหลายประการ ซึ่งเรื่องนี้เธอได้เปิดใจให้สัมภาษณ์ว่า ได้เลี้ยงไก่เนื้อครั้งแรก ปี 46 เริ่ม 1.5 หมื่นตัว เป็นลูกเล้าไทยฟู้ดส์ฯ จนกระทั่งปี 2550 ทาง บริษัท การุณ บราเธอร์ส จำกัด ได้เข้ามาวางระบบออโต้ฟีด มีถังไซโลเป็นหลัก และอุปกรณ์ภายในฟาร์ม บริษัท KSP อุปกรณ์ จำกัด วางระบบให้ คุณภาพดี แต่ราคาไม่แพง ส่วนโรงเรือน มีช่างรับเหมาทำให้ กิจการรุดหน้ามาตลอด จนต้องเพิ่มโรงเรือนหลังแรก และลงทุนโรงเรือนหลังที่ 2 เลี้ยงหลังละ 2 หมื่นตัว
“คุณอ๊อด” ได้เปิดเผยความก้าวหน้าของการเลี้ยงว่า ตนได้ลงทุนขยายฟาร์มหลังแรกให้กว้างขึ้น จาก 16 เมตร เป็น 18 เมตร เลี้ยงไก่ได้ 2 หมื่นตัว เลี้ยงมาทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 5 รุ่น คุณอ๊อด ยอมรับว่า ไทยฟู้ดส์ฯ แก้ปัญหาและพัฒนาไวมาก กรณีไก่กระเพาะคราก ก็แก้ทันที “พอลูกเล้าคอมเมนท์ถึงปัญหา ก็เข้ามาดูเรื่องสายพันธุ์ เพราะช่วงนั้นเลี้ยงพันธุ์ครอปด้วย เพราะอาเบอร์ฯ ไม่พอ เรื่องนี้มันกระทบกับโรงเชือดด้วย พอกระเพาะคราก อาหารตกค้าง เวลาไปเชือดก็เปื้อนเครื่องจักร”
การบำรุงดูแลไก่เนื้อ
เมื่อไทยฟู้ดส์ฯ ทำสัญญาส่งไก่ให้ลูกค้าต้องผ่านงานวิจัยและพัฒนาจนตกผลึกทางธุรกิจ ได้ทดลองเลี้ยงพันธุ์อาเบอร์ฯ ให้กินอาหารเบอร์ 1 จำนวน 4% เบอร์ 2 จำนวน 2% และ เบอร์ 3 จำนวน 3% เลี้ยง 32 วัน ได้ไซซ์ 1.8 กก./ตัว ผ่านไป 2 รุ่น จึงได้ทราบต้นทุนชัดเจน
ไทยฟู้ดส์ฯ จะล็อคว่าของฟาร์มเราเลี้ยงไก่เล็กได้จำนวน 2 หลังเท่านั้น เชือดวันละ 1 หลัง ส่วนฟาร์มอื่นก็ไล่ไปจนวนกลับมา 32 วัน บางเล้า 33 วัน เพราะไม่ได้ลงเล้าวันอาทิตย์ บางเล้าเอาไก่เข้าวันเสาร์ วันอาทิตย์หยุดก็ไปเชือดวันจันทร์ คุณอ๊อด เปิดเผยถึงโปรแกรมการเอาไก่เข้าเล้า
การเลี้ยง 32 วัน ปรากฏว่า “ต้นทุน” ลดลง เช่น ค่าแกลบโรงละ 2,000 บาท ค่าขนส่งเฉลี่ยตันละ 300 บาท ลง 2 หลัง รุ่นละ 12 ตัน แกลบลดลงชัดเจน นอกจากนี้ เมื่อก่อนเลี้ยง 42 วัน ค่าไฟ 8 หมื่นกว่าบาท พอเลี้ยง 32 วัน ค่าไฟลดลง 50%
การบริหารจัดการฟาร์มไก่เนื้อ
เมื่อถามถึงราคาที่ไทยฟู้ดส์วางไว้ 32 บาท/กก. คุณอ๊อดเห็นว่าพอมีกำไร จึงมั่นใจในไทยฟู้ดส์ฯ ว่าเป็นคู่ค้าที่ซื่อสัตย์ ต้องค้าขายกันตลอดไป จึงเห็นได้ว่า ไทยฟู้ดส์กรุ๊ปฯ สร้างพันธมิตรกับเกษตรกร ดุจหุ้นส่วน เพราะได้ขยายธุรกิจปลายน้ำ หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการเปิดช็อปเอง ทำให้ต้องใส่ใจผู้เลี้ยงสัตว์มากขึ้นโดยออโต้