จรรยวรรธน์ฟาร์ม ตัวอย่างผู้เลี้ยง ปลาสลิดบางแพ
จากเดิม การเลี้ยงปลาสลิด ที่ขึ้นชื่อทุกคนต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ แต่ในปัจจุบันอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเป็นแหล่งการผลิตปลาสลิดแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งในประเทศ เมื่อระยะเวลาผ่านไปเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดมีการปรับเทคนิคการเลี้ยงและพัฒนารูปแบบการเลี้ยงจนสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรเองได้ถึงหลักแสน
จรรยวรรธน์ฟาร์มเป็นฟาร์ม เลี้ยงปลาสลิด แห่งหนึ่งในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรีที่หันมาเลี้ยงปลาสลิดจากเมื่อก่อนที่เคยเลี้ยงกุ้งและไม่ประสบความสำเร็จ จึงเปลี่ยนมาจับด้านปลาสลิดแทนและทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ครอบครัวได้มีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงที่ต่างไปจากอดีตในการลงพื้นที่ ครั้งนี้ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้มีโอกาศพูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดที่มีการพัฒนาการเลี้ยงแล้วประสบผลสำเร็จ คุณวันเพ็ญ ทิพย์สัน เลี้ยงปลาสลิด มากกว่า 10 ปีมีพื้นที่การเลี้ยง 5 บ่อ 100 กว่าไร่ โดยเมื่อก่อนเลี้ยงปลาเบญจพรรณแต่ก็มีใส่ปลาสลิด คุณวันเพ็ญ เริ่มจาก 1 บ่อ ปีแรกๆต่อมาได้ชักชวนสามีหันมาทำโดยใช้พื้นที่เลี้ยงกุ้งมาขุดทำเป็นบ่อใหญ่ การเลี้ยงปลาสลิด เริ่มเลี้ยงแรกๆก็ไม่ได้เครียดเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ตัดหญ้าให้กิน มีการให้อาหารหมูบ้างช่วงแรกๆที่ทำก็ได้กำไรประมาณแสนกว่าบาท พอมาหลังๆก็จับจุดรู้ก็เปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงใหญ่ขึ้นจากที่ 7-8 ตัวต่อกิโลกรัมก็เปลี่ยนมาเป็น 5-6 ตัวต่อกิโลกรัมขยับความยากขึ้นมาตอนนั้นกิโลละ 60 กว่าบาท แต่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 40 กว่าบาท ถ้าปลาสวยๆจะได้อยู่ 70 กว่าบาท มาระยะหลังปลาขนาดใหญ่ขายได้ราคาดีกว่าก็เริ่มที่จะพัฒนาการเลี้ยงขึ้นจะมัวแต่ตัดหญ้าให้ปลากินก็คงไม่ได้กำไรมากก็เลยหันมาเลี้ยงรูปแบบใหม่จากที่รายได้กำไรหลักแสน ก็ขยับเป็น 4-5 แสนบาทจากที่ให้อาหารธรรมดา ก็เปลี่ยนมาเป็นให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนสูงจึงทำให้มีกำไรมาก
ผลิตพ่อแม่พันธุ์เลี้ยงเอง
ในปัจจุบัน พ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด ส่วนใหญ่จะเก็บพ่อแม่พันธุ์ไว้จากการจับปลาครั้งที่แล้ว และมีการซื้อมาผสมไขว้สายพันธุ์บ้าง ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จะดูลักษณะพ่อแม่พันธุ์ที่สวย ลำตัวใหญ่ แม่พันธุ์จะดูที่มีลักษณะดี ไม่พิการ ในการเพาะลูกพันธุ์คุณวันเพ็ญบอกว่าส่วนใหญ่จะเพาะเองเลี้ยงเองโดยหลังจากการเตรียมบ่อเลี้ยงแล้วจะนำพ่อแม่พันธุ์มาใส่ไว้ในบ่อกาจ(บ่อพักพ่อแม่พันธุ์)ที่ขุดไว้ในบ่อใหญ่อีกทีลักษณะจะเป็นบ่อซ้อนบ่อ บ่อจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก 4×4 เมตร แล้วแต่เกษตรกร
การเตรียมบ่อเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาสลิด
ในการเตรียมบ่อทางจรรยวรรธน์ฟาร์มจะทำการตากบ่อให้แห้งระยะเวลาในการตากบ่อจะอยู่ประมาณ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง แล้วแต่สถานการณ์และสภาพอากาศ ในปัจจุบันจะดูจากหญ้าที่ขึ้นมาในบ่อเพราะจำเป็นต้องใช้หญ้าในการฝักลูกปลาและดูแม่ปลาที่เก็บไว้ว่าสมบูรณ์แค่ไหนสามารถที่จะเพาะพันธุ์ได้หรือไม่หลังและทำการตัดหญ้าให้เป็นช่องๆทั่วบ่อ จากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อจนท่วมบ่อพ่อแม่ปลาก็จะออกมาวางไข่ระดับน้ำในระยะแรกจะสูงจากพื้นกลางบ่อประมาณ 50-80 เซนติเมตร เมื่อสูบน้ำเข้าบ่อได้แล้วประมาณ 2-3 วันก็จะลงไปสังเกตว่าปลาก่อหวอดหรือยังโดยการเอาไปควานดูเมื่อได้ 3-4 วันจะสั่งน้ำอามิมาลงเพื่อให้เกิดลูกไรให้ปลาสลิดกินระยะแรกปลาสลิดจะยังไม่กินอาหารประมาร 7 วัน ทางฟาร์มเลยต้องเตรียมลงน้ำอามิก่อน3 -4 วันเพื่อให้ลูกไรเกิดทันปลาสลิด พอสักประมาณ 1 อาทิตย์จึงค่อยเพิ่มระดับน้ำสังเกตดูว่ามีปลาไหม สังเกตได้จากปลาจะขึ้นมาเล่นน้ำ ในการเพาะปลาสลิดจะทำการเติมน้ำใหม่ไปล่อให้เกิดการผสมพันธุ์กันเรื่อย คุณวันเพ็ญบอกว่าประมาณ 5 รุ่นกว่าจะเพาะเสร็จ ถ้ามันเยอะเกินก็จะปล่อยปลาช่อนลงเพื่อให้กินปลาขนาดเล็ก
การย้ายปลาสลิด
เมื่อเพาะปลาสลิดได้ประมาณ 2-3 เดือนคอยสังเกตดูว่าปลามีปริมาณมากหรือน้อย ดูจากพฤติกรรมการกินอาหารของปลาเมื่อให้อาหารไปแล้วปลากินหมดไวผิดสังเกตขนาดปลาไม่ใหญ่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลามีปริมาณหนาแน่นต้องย้ายบ่อนำไปใส่บ่อที่ปลาน้อยกว่าทางฟาร์มจะสูบน้ำให้แห้งเป็นการคัดปลาที่ไม่ต้องการไปในตัวเพราะบ่อปลาสลิดจะมีปลาหมอเยอะจะทำการแยกปลาหมอออกเพื่อป้องกันการแยงอาหารทำให้ปลาสลิดไม่โต
8 เดือน จับ 6-7 ตัว/ก.ก.
ในช่วงแรกจะทำไรให้ปลาสลิดกินโดยการทำน้ำให้เกิดลูกไรตัดหญ้าทำเป็นแพเป็นช่องๆหลังจากนั้นนำน้ำอามิใส่ลงในบ่อเพื่อทำให้เกิดลูกไรในระยะเวลาประมาณ 45 วันก็เริ่มให้อาหารหมูเจาะรูด้วยธูปให้ทั่วกระสอบนำไปแขวนไว้เป็นจุดๆตามบ่อผูกให้จมเพื่อให้ปลาตอดกินได้ตลอดเวลาช่วงหลังจะทำเป็นเปลแล้วใส่อาหารไว้ในเปลปลาจะมาตอดกินเลี้ยงไปจนถึง 4เดือน จะให้เป็นอาหารปลาดุกลอยน้ำ โปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์หลังจาก4 เดือนก็จะให้อาหารจมลงควบคู่กันไปประมาณ 8 เดือนก็สามารถจับผลผลิตได้ ประมาณ 6-7 ตัวต่อกิโลกรัม
เรื่องน้ำเป็นปัญหา
จะเป็นเรื่องของน้ำที่ใช้เลี้ยง ซึ่งมีปัญหามากในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ทำให้น้ำมีความเข้มมากขึ้น ปลาไม่สามารถปรับให้เข้ากับสภาพของน้ำได้ก็ตาย เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
ตลาดปลาสลิด
ตลาดปลาสลิดส่วนใหญ่ที่มารับซื้อ จะเป็นแม่ค้าจากจังหวัดสุพรรณบุรีมาซื้อจากปากบ่อไปกระจายขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าตามจังหวัดต่างๆ ราคารับซื้อหน้าฟาร์มจะอยู่ที่ 10 ตัว 1 กิโลกรัม ราคา 45-50 บาท 6 ตัว 1 กิโลกรัม ราคา 85-95 บาท ช่วงนี้ราคาปลาแพง ในแต่ละรอบการเลี้ยงทำรายได้สูงถึงเลข 7 หลักทีเดียว
ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร
การเลี้ยงปลาสลิด ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่สนใจ แต่มันจะมีข้อเสียตรงที่ว่าใช้ระยะเวลานาน แต่ถ้าเข้าใจกระบวนการของการเลี้ยงถือว่าได้ผลตอบแทนที่คุ้ม เพราะว่าปลาอื่นก็เป็นราคาตลาดมีตกบ้าง สูงบ้าง แต่ก็จะหนักไปทางการบริหารการจัดการอย่างปลานิลต้องมีการดูแลให้อาหารทุกวันระบบน้ำต้องดี ควบคุมคุณภาพน้ำ อย่างปลาสลิดจะเยอะในวันเดียวการจับจะใช้เวลาแค่เบ็ดเสร็จ 3 วันมันใช้เวลาสั้นๆ ใน การเลี้ยงปลาสลิด ถ้าเข้าใจก็สามารถที่จะเลี้ยงได้ปัญหาที่สำคัญสำหรับ การเลี้ยงปลาสลิด อาจจะมีต้นทุนสูง ระยะเวลาการเลี้ยงนานกว่า แต่ถ้าเข้าใจกระบวนการเลี้ยง ปลาชนิดนี้เป็นที่น่าสนใจ เพราะว่าปลาสลิดถึงราคาตกจะไม่ตกมาก ต่ำสุดน่าจะอยู่ที่ 70 กว่าบาท เพราะต้นทุนการผลิตเราสูงก็ขึ้นอยู่กับบ่อว่ากินขนาดไหน สามารถเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรยังไปได้เรื่อยๆ บางครั้งอาจจะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 กว่าบาท แต่ก็ไม่ต่ำกว่าทุน อย่างแรกเลยต้องมีทุนพอสมควร ต้องมีที่สำหรับเลี้ยง แต่ถ้าไม่ลงทุนเยอะมันก็ต้องอาศัยเวลาปลาสลิดถือว่าเป็นทางเลือกในอนาคตสำหรับเกษตรกรผู้สนใจ
ขอขอบคุณ คุณวันเพ็ญ ทิพย์สัน ผู้เลี้ยงปลาสลิดอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
ตั้งอยู่เลขที่ 87/1 หมู่ที่ 9 ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
โทรศัพท์ 081 909-5078 (คุณหนู)
tags: การเลี้ยงปลาสลิด จรรยวรรธน์ฟาร์ม ปลาสลิด วันเพ็ญ ทิพย์สัน เลี้ยงปลาสลิด บางแพ ราชบุรี ตลาดปลาสลิด การเลี้ยงปลาสลิด จรรยวรรธน์ฟาร์ม ปลาสลิด เลี้ยงปลาสลิด
[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]