ข้าวโพดหมัก รุ่ง! สัตว์เคี้ยวเอื้องต้องการมาก
แม้กระแส โปรตีนพืช จะเกิด และค่อยๆ ไหลเข้ามาในประเทศไทย
แต่ไม่ได้เกิดแบบปุ๊บปั๊บ เพราะมีตัวแปรมากมาย ทั้ง ตลาด และ การผลิต
ตรงกันข้าม โปรตีนสัตว์ ตลาดต้องการบริโภคตลอด ไม่ว่า เนื้อ นม หรือ ไข่ ได้รับความนิยม
การผลิตข้าวโพดหมัก
รูปแบบการผลิต หรือการเลี้ยงสัตว์ มีทั้งในและนอกโรงเรือน ควบคู่กันตามประเภทสัตว์ที่เลี้ยง
ต้นทุนหลักยังเป็นเรื่อง “อาหาร” ทั้งแบบเม็ดและหยาบต่อไป
ด้วยเหตุนี้ การจัดหาวัตถุดิบมาผลิตอาหารสัตว์ กลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่ผู้ผลิตจะต้องพิชิตให้สำเร็จ
วันนี้มี “ขบวนการ” ปลูกข้าวโพดแป้ง แล้วตัดทั้งต้นมา ล้าง สับ และ ปั่น จากนั้นก็บรรจุในกระสอบ ปิดมิให้ออกซิเจนเข้า กลายเป็น “ข้าวโพดหมัก” โปรตีน 14% เป็นที่ต้องการของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
การปลูกข้าวโพด
คุณจรัญ ลีลาชัย หรือ “คุณอ้วน” เป็นผู้นำกลุ่มค้าข้าวโพดหมักร่วม 40 ราย ที่โคราช
คุณอ้วนเข้าไปส่งเสริมเกษตรกร 5 ราย ให้ปลูกข้าวโพด โดยนำ “เครื่องสับ” มาตรฐานไปให้ พร้อมทั้ง เมล็ดพันธุ์ และ ยา เป็นต้น เป็นลูกไร่ที่ค้าขายกันประจำ วนเวียนในโคราชเป็นหลักในแต่ละปี
การปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ หรือ ข้าวโพดแป้ง สายพันธุ์ 339 ของ บริษัท แปซิฟิกเมล็ดพันธุ์ จำกัด โดยใช้เครื่องหยอดเมล็ด พอต้นข้าวโพดโตสูงขนาด 150-160 ซม. ออกฝักแก่ อายุ 70-75 วัน ก็ตัดทั้งต้น เพื่อทำไซเลสขายให้ผู้เลี้ยงแพะ แต่ถ้าข้าวโพดอายุ 80-85 วัน ก็ทำไซเลสขายให้ผู้เลี้ยงโคและกระบือ
โดยคุณอ้วนรับซื้อทั้งต้น กก.ละ 1 บาท ราคาขึ้นลงตามฤดูกาล ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 5-6 ตัน ปีหนึ่งปลูกได้ 3 รุ่น ทำให้เกิดรายได้ไร่ละ 15,000-18,000 บาท หักต้นทุน มีกำไรกว่า 100%
คุณสมบัติของเครื่องสับ
การผลิตข้าวโพดหมัก (ไซเลส) คุณอ้วนยืนยันว่า หัวใจอยู่ที่คุณภาพเครื่องสับ ถ้าไม่มาตรฐาน ข้าวโพดหมักจะไม่ได้น้ำหนัก เก็บไว้ไม่นาน และเมื่อสัตว์กินแล้วท้องเสียได้ ซึ่งเครื่องสับที่ตนใช้ต้องผลิตโดย ช่างสำเริง ปากท่อ เท่านั้น เป็นเครื่องมาตรฐานที่พิสูจน์แล้ว
ต้องการเข้าร่วม ข้าวโพดหมัก ติดต่อ คุณอ้วน โทร.064-963-7853