นกเหยี่ยว ศัตรู “สัตว์พาหะ ASF” ในฟาร์มสุกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทุกวิธี ทุกวิถีทาง ของคนในวงการฟาร์มสุกร ที่จะหยุดโรค ASF ให้ได้

หลายประเทศที่เลี้ยงสุกรเพื่อการค้า ต่างก็ดิ้นรนที่จะหยุดโรค ASF ให้อยู่หมัด แต่มันไม่ง่าย เพราะขึ้นชื่อว่า “ไวรัส” คือ “วัยร้าย” ที่ทำลายสุกร ทุกวัย และทุกสายพันธุ์ โดยที่มันแปลงร่างอยู่ตลอดเวลา

แม้เจ้าของฟาร์มจะลงทุนสร้างฟาร์มมาตรฐาน ตามปรัชญา “ไบโอซีเคียวริตี้” ที่ทุกประเทศถือเป็น “ธงนำ” ในการต่อสู้ แต่เจ้า ASF มันก็ขยายอาณาจักรของมัน ผ่านคน และ “สัตว์พาหะ” ได้ตลอดเวลา เรื่อง “คน” พอจัดการได้ ไม่ให้ติดเชื้อแล้วลุกลามไปสู่สุกร แต่สัตว์พาหะหลายชนิดควบคุมยาก เช่น “นก” หลายชนิด เป็นต้น

เหตุนี้หลายฟาร์มจึงต้องใช้ “เหยี่ยว” ที่ผ่านการฝึกแล้วมาไล่ ซึ่งในธรรมชาติก็เป็นเช่นนี้ นักล่า อย่าง เหยี่ยว ย่อมไม่ปราณีเหยื่อ เพราะกฎธรรมชาติย่อมรักษาสมดุลไว้ในระบบนิเวศ

1.นายสัตวแพทย์เจษฎา เภตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเทค เว็ท จำกัด
1.นายสัตวแพทย์เจษฎา เภตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเทค เว็ท จำกัด

การจำหน่าย อาหารสัตว์ ยา และ อุปกรณ์

ด้วยเหตุนี้ นายสัตวแพทย์เจษฎา เภตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเทค เว็ท จำกัด ต้องใช้เหยี่ยวเป็นเครื่องมือในการบริการลูกค้า ตามปรัชญา มีทุกข์ ร่วมแบ่งเบา

บริษัท ซินเทค เว็ท จำกัด ทำธุรกิจ ได้แก่ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ และ อุปกรณ์ฟาร์ม เป็นต้น ซึ่งจะต้องช่วยลูกค้า คือ เจ้าของฟาร์มสุกร ให้อยู่รอด เพราะถ้าลูกค้าพัง บริษัทก็เจ๊งด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิสัยทัศน์ทางธุรกิจของคุณหมอเจษฎาย่อมพัฒนาอยู่ตลอด เพราะประสบการณ์ในอดีตในฐานะลูกจ้างระดับบริหารนั้น มีสตอรี่ชัดเจน เช่น เมื่อจบสัตวแพทย์จากจุฬาฯ ปี 58 ก็ได้ทำงานที่ บริษัท เวทโปรดักส์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งมี น.สพ.ธานินทร์ ชีวะผลาบูรณ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ อดีตลูกหม้อ ม.เกษตร บางเขน ซึ่งบริษัทเข้าสู่ธุรกิจปีที่ 5 แน่นอนต้องการสัตวแพทย์คนรุ่นใหม่จากจุฬาฯ มาร่วมงาน ปรากฏว่าเก็บเกี่ยวประสบการณ์ 2 ปีเต็ม ก็ลาออกมาหาประสบการณ์อีก 2 ปี

จากนั้นก็เข้าสังกัด “เบทาโกร” ซึ่งกำลังขยายงานธุรกิจปศุสัตว์เชิงรุกให้ครบวงจร คุณหมอเจษฎาได้ทำงาน บริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูก เก็บเกี่ยวประสบการณ์เรื่องยาสัตว์ แต่เมื่อเบทาโกรได้เปลี่ยน “ระบบ” ให้คนเดียวสามารถขายผลิตภัณฑ์ ทั้ง ยา อาหาร และอุปกรณ์ เป็นต้น ได้ทุกบริษัทในเครือ เพื่อนๆ 6 คน ได้ตัดสินใจลาออก และร่วมกันตั้ง บริษัท ซินเทค เว็ท จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท  เมื่อ 9 ธ.ค. 58 ปรากฏว่า งบดุล ปี 64 ยอดขาย 121 ล้านบาท กำไร 4 ล้านบาท เสียภาษี 1 ล้านบาท เป็นฝีมือการบริหารล้วนๆ

2.นกเหยี่ยว
2.นกเหยี่ยว

ปัญหาและอุปสรรคฟาร์มหมู

แน่นอนเมื่อวงการสุกรเจอปัญหา ASF ซึ่งบริษัทเกิดและเติบโตเพราะธุรกิจสุกรเป็นหลัก จะเหินห่างจากลูกค้าได้อย่างไร นี่คือ “ความซื่อสัตย์” ที่มีต่อผู้เลี้ยงสุกร ของคุณหมอเจษฎา และทีมงาน

ตราบใดที่โลกยังผลิตวัคซีนสร้างภูมิให้สุกร ป้องกันไวรัส ASF ไม่สำเร็จ การกำจัดหรือป้องกัน สัตว์พาหะ ก็ยังต้องพัฒนาต่อไป

นกเหยี่ยว จึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่คุณหมอเจษฎานำมาใช้ ด้วยความมั่นใจ

25 ปี ในวงการปศุสัตว์ มันเป็นเวลาที่ยาวนานต่อการบ่มเพาะทักษะทางธุรกิจที่พลวัตตลอดเวลา ดังนั้นคุณหมอเจษฎามั่นใจว่าการป้องกัน ASF ด้วยนกเหยี่ยว น่าจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนวัคซีนจะเกิด ส่วนระบบไบโอซีเคียวริตี้ เช่น ฆ่าเชื้อ เป็นต้น หลายบริษัททำไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ละเลยเรื่องระบบไบโอซีเคียวริตี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่การที่ “นกพิราบ” ตายแล้วมีเชื้อ ASF ที่ขา แสดงว่ามันคือสัตว์พาหะชัดเจน และการที่นกพิราบออกไปหากินที่อื่นด้วย แล้วกลับมานอนที่ฟาร์มสุกร จึงสุ่มเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อ แม้จะจุดประทัดไล่มันก็กลับมา เพราะมันฉลาด ด้วยสัญชาตญาณ

ดังนั้นต้องใช้ “ นกเหยี่ยว ” นักล่า มาช่วย “เหมือนเราออกไปหากินในป่า เจอเสือก็ไม่กล้า ต้องหนี นกพิราบก็เหมือนกัน เมื่อมันเจอเหยี่ยวก็ต้องหนี ไม่หากินที่นี่ เพราะอันตราย แต่เราไม่ให้เหยี่ยวกินนก” คุณหมอเจษฎา เปรียบเทียบ เหตุที่ไม่ให้เหยี่ยวจับกินนกพิราบ ก็เพื่อฝึกมันให้ทำงานไล่ อีกอย่างหากเหยี่ยวกินนกอาจติดเชื้อ ASF ได้ แต่เมื่อเหยี่ยวทำงานสำเร็จ ก็จะได้รับรางวัล คือ ลูกไก่แช่เย็น เป็นอาหารอันโอชะ

3.นกเหยี่ยว03

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

ทางบริษัทมี ทีมเหยี่ยว โดยเฉพาะ ทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ทุกอย่าง ปรับตัวให้เข้ากับฟาร์มอย่างน้อย 7 วัน โดยเฉพาะเฟ้นหา “จุดเสี่ยง” ในโรงเรือน ไม่ว่าปิดหรือเปิด ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น รอยรั่ว ที่นกจะเข้ามา หรือนกแอบทำรังไว้ในโรงเรือน หรือโรงอาหาร ป้องกันด้วยตาข่ายหรือยัง หากนกทำรังต้องทำลายด้วยการเผา แม้รังถูกเผา นกพิราบก็ยังอยู่เกาะให้เห็นบนหลังคา เป็นต้น

ขณะเดียวกันเหยี่ยวที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อปรับตัวได้แล้วก็จะต้องฝึกให้ออกมาบินเพื่อรบกวนนกพิราบ ถ้านกพิราบมีมากอาจต้องใช้เหยี่ยว 2 ตัว/ฟาร์ม ทำงาน 2-3 อาทิตย์ จนนกพิราบหายไปอย่างถาวร แต่ถ้าเจอ นกกระจอก นกดื้อ ที่เหยี่ยวก็เอาไม่อยู่ ทางเดียวคือใช้ปืนยิง

เมื่อนกหมดจากฟาร์ม ก็ต้องเก็บเหยี่ยวออกไป จากนั้นทางฟาร์มต้องพัก 2 อาทิตย์ หลังจากนั้น 2 เดือน ก็ต้องนำเหยี่ยวกลับมาใหม่ เพราะนกพิราบชุดใหม่มันจะเข้ามา เพราะไม่รู้ว่ามีเหยี่ยวในฟาร์ม เมื่อเหยี่ยวบินรบกวน อาทิตย์เดียว นกพิราบจะหนี

เรื่องเหยี่ยวไล่นก เจ้าของฟาร์มบางคนระแวงไม่กล้าใช้ เกรงว่าเหยี่ยวจะเป็นพาหะเข้าฟาร์ม แต่เมื่อรู้ว่าทางบริษัทได้กักนกไว้หลังทำงานเสร็จ เพื่อพิสูจน์ว่าติดโรคหรือไม่ ซึ่งมีแผนการทำงานที่ชัดเจนและรัดกุม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.นกเหยี่ยว04

การบริการหลังการขาย

ขณะนี้ทางบริษัทมีทีมเหยี่ยวที่เข้าไปแก้ปัญหา ทั้งฟาร์มสุกร และโรงสีข้าว ด้วย เหยี่ยว 12 ตัว กระจายอยู่กับลูกค้า เป็นเหยี่ยว แฮริสฮอร์ค พันธุ์ยอดนิยม ถูกฝึกเป็นนักล่า เพราะบินได้ไว และล่าเป็นทีม ได้รับความนิยมในการนำมาเลี้ยง และฝึก ค่าตัวค่อนข้างแพง

นกพิราบ เป็นสัตว์เลือดอุ่น อาศัยเป็นคู่ๆ เป็นสัตว์อพยพย้ายถิ่นฐานไปตามแหล่งอาหาร ขยายพันธุ์ ด้วยการทำรังบน พื้นแข็ง เช่น บนหลังคา หรือใต้ชายคา สามารถขยายจำนวนได้เร็ว นอกจากแย่งอาหารของสุกรแล้ว ยังถ่ายมูลให้เป็นแหล่งเชื้อโรคอีกด้วย ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ เก็บรัง หรือทำลายรัง ใช้นกเหยี่ยวบินไล่ทุกวัน ทั้งกลางวัน และกลางคืน สัปดาห์ละ 6 วัน และให้นกเหยี่ยวบินเพื่อควบคุมพื้นที่ และสร้างอาณาเขต

ทางบริษัทต้องใช้เหยี่ยวไล่นกในฟาร์มสุกรของลูกค้า 2 ตัว ราคาตัวละ 30,000 บาท โดยบริการฟรี ส่วนค่าที่พักและอาหารของทีมงาน ทางฟาร์มจะช่วย

สนใจเหยี่ยวไล่นก ติดต่อ คุณหมอเจษฎา เภตรา บริษัท ซินเทค เว็ท จำกัด 19/188 หมู่ 2 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทร.081-146-3838

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 356