พอเอ่ยนาม “มันฝรั่ง” หรือ ไอริชโปเตโต้ คนไทยรู้จักมากขึ้นโดยเฉพาะคนที่ชอบทานอาหารตะวันตก เป็นพืชที่ก่อกำเนิดจากประเทศเปรู อเมริกาใต้ ต่อมาถูกนำไปปลูกที่ประเทศไอซ์แลนด์ จึงชื่อ ไอริชโปเตโต้ กระทั่งทุกวันนี้
มันฝรั่งเป็นพืชสุขภาพ เพราะมีทั้ง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และธาตุต่างๆ มากมาย จึงได้รับความนิยมในระดับโลก
ลักษณะทั่วไปของมันฝรั่ง
เนื่องจากมันฝรั่งเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง 60-100 ซม. แตกกิ่งก้านออกด้านข้าง มีกลีบดอก 5 กลีบ ประกอบด้วยเกสรตัวเมียตัวผู้ 5 อัน ตัวเมีย 1 อัน มีหัว (สโตลอนส์) เพื่อสะสมอาหารและขยายพันธุ์ ผิวทอง หัวมีรูพรุนเล็กๆ (เบนติเซลล์) มีหน้าที่หายใจและถ่ายเทอากาศ มีท่อดินเปียกขึ้น รูหายใจ จะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้หัวไม่สวย
และตาจะพัฒนาเป็น “ต้นอ่อน” เพื่อขยายพันธุ์ 1 หัว มี 15 อัน มันฝรั่ง 1 ลูก ให้หัว 6-10 หัว จะเจริญเติบโตได้ดี ต้องมีอุณหภูมิ 15-18 องศาฯ เป็นพืชที่ต้องการความยาวแสง 12-13 ชั่วโมง ต้องการดินร่วนปนทราย pH 5.5-6.5 จึงปลูกทั้งในและนอกฤดูได้
การผลิตและแปรรูปมันฝรั่ง
เนื่องจากเป็นพืชสากล จึงมีนักธุรกิจหลายประเทศเข้ามาเพิ่มมูลค่ามันฝรั่งด้วย “อาหาร” หลายชนิด เช่น มันบด และทอดกรอบ เป็นต้น
ในประเทศไทยมีบริษัทข้ามชาติ อย่าง เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมมันทอดกรอบ แบรนด์ “เลย์” ที่โด่งดังระดับชาติ แต่ละปีกวาดเงินเข้าบริษัทหลายล้านบาท ส่งผลให้หัวมันฝรั่งไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากหลายประเทศ ซึ่งมี “ปัญหา” ที่แตกต่างกัน
ด้วยเหตุนี้เป๊ปซี่โคมีธุรกิจมันฝรั่งทอดกรอบ หลายประเทศผูกพันกับเกษตรกรกว่า 250,000 ราย จะต้องขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความยั่งยืน เพราะเป็นบรรษัทภิบาล (Environmental,Social,and Govemance หรือ ESG) ปี 2564 เพื่อมุ่งความยั่งยืนและการพัฒนาประชากรโลก/ประชากรไทย
ด้านกลยุทธ์ของเป๊ปซี่โค
กลยุทธ์pep+ ถูกผนวกเข้ามาในทุกส่วนของธุรกิจ และได้จัดทำรายงานด้านสังคมสิ่งแวดล้อมและบรรษัทภิบาล ถึงความก้าวหน้าแสดงเปิดเผยตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงจากการเกษตรเชิงบวก (Positive Agriculture) ห่วงโซ่คุณค่าเชิงบวก (Positive Value Chain) และทางเลือกเชิงบวก (Positive Choices) ซึ่งเป็นกลยุทธ์แห่งความยั่งยืนทางธุรกิจ
1 ในกลยุทธ์ที่ปฏิบัติไปแล้ว ได้แก่ แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อผืนดินด้วยการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบนดิน ซึ่งเป็นเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท 7 ล้านเอเคอร์ทั่วโลก การจัดหาพืชผลและวัตถุดิบหลักอย่างยั่งยืน พร้อมกับปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร 250,000 คน ในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรของบริษัท
โดยนำระบบเกษตรแบบฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) และเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) มาใช้เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน และสภาวะทางชีวภาพของดิน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต โดยนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนศักยภาพเกษตรกร
นอกจากนี้เป๊ปซี่โคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การใช้โซล่าเซลล์ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินและตรวจหาเหตุแห่งการเกิดโรคพืช โดยการใช้โดรนตรวจมันฝรั่งของเกษตรกรที่ทำงานร่วมกับบริษัทจนผลผลิตจาก 1.5 ตัน เป็น 5 ตัน/ไร่ และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต และลดน้ำเหลือทิ้งที่สูญเปล่าได้ด้วยการใช้ระบบน้ำหยด (Drip lrrigation system)
สภาพพื้นที่ปลูกมันฝรั่ง
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 นายคอลิน แมทธิวส์ ผอ.อาวุโสฝ่ายซัพพลายเชนของ เป๊ปซี่โค พร้อมด้วย นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และรัฐกิจ นายอานนท์ สุนทรนนท์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายเกษตรประเทศไทย และ นายธนกฤต ศรีวิชัย ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาศักยภาพและเพิ่มผลผลิตการเกษตร
ได้เชิญสื่อมวลชนหลายสำนักไปรับฟังการบรรยาย และเยี่ยมไร่มันฝรั่งของเกษตรกร อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 พบว่าเป๊ปซี่โคได้ส่งเสริมการปลูกมันฝรั่งตั้งแต่ ปี 2538 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่าย ผลผลิตมันฝรั่ง
กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวนเกษตรกรที่ปลูกมันฝรั่งส่งบริษัทในไทย จำนวน 4,000 ราย ปลูกมันฝรั่งสายพันธุ์ “แอตแลนติก” เป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา อายุสั้น 90-120 วัน ลงหัวเร็ว มีลักษณะหัวกลม และเหมาะสำหรับส่งโรงงานแปรรูป ซึ่งการปลูกมันฝรั่งในไทยมีข้อจำกัด เพราะปลูกได้เพียงฤดูกาลเดียว คือ ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. ระยะเวลา 90-120 วัน ผลผลิต 1.5-2.5 ตัน/ไร่ ซึ่งผลผลิตไม่เพียงพอป้อนโรงงาน จำเป็นต้องขอโควตานำเข้าหัวมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน
การส่งเสริมการปลูกมันฝรั่ง
ทำให้ทางเป๊ปซี่โคต้องเร่งส่งเสริมและขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การแนะนำการใช้เทคโนโลยีต่างๆ แก่เกษตรกร ทำให้ผลผลิตเพิ่มเป็น 4-5 ตัน/ไร่ และได้ขยายพื้นที่ส่งเสริมปลูกมันฝรั่งไปยังภาคอีสานตอนบน เช่น สกลนคร นครพนม เป็นต้น การปลูกมันฝรั่งหลังนาโดยมีพื้นที่เกษตรกรในโครงการ 35,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 70,000-100,000 ตัน โดยเป๊ปซี่โครับซื้อผลผลิตผ่านโบรกเกอร์ทั้งหมดในราคาประกัน ก.ก.ละ10-14 บาท
การแปรรูปพลาสติก MLP
ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เป๊ปซี่โคประเทศไทย มุ่งจัดการขยะร่วมกับชุมชน เพื่อให้เรียนรู้ถึงการแยกขยะในส่วนของพลาสติก MLP (Multilayer plastic) ทางเป๊ปซี่โคได้นำกลับมาแปรรูปเป็นไม้เทียมผลิตเป็นเก้าอี้ โต๊ะ และส่งมอบให้กับนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเทศบาลตำบลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย ด้านสังคม ทางเป๊ปซี่โคให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพสตรีให้เท่าเทียมในที่ทำงานขององค์กร และภาคเกษตร
ปัจจุบันการทำเกษตรกำลังเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป๊ปซี่โคมีความมุ่งมั่นพัฒนาทั้งภายในองค์กร อาทิ การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย ลดการใช้พลังงานให้น้อยลง หันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น การเป็นพันธมิตร และพัฒนาไปพร้อมกับเกษตรกรไทย เพื่อให้อาชีพเกษตรกรมีความยั่งยืน สืบทอดสู่รุ่นลูกหลานต่อไป