รถเกี่ยวปานเจริญ สร้างแบรนด์ติดตลาดเพราะฝีมือล้วนๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พลันที่ “อินเดีย” ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 หยุดการส่งออก ส่งผลให้ ข้าวไทย เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น แต่กระบวนการผลิตข้าวของไทย ต้นทุน สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย และ เวียดนาม และ ผลผลิต/ไร่ ของไทย ก็ต่ำกว่า

เรื่องนี้ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย ได้วิเคราะห์ไว้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของข้าวไทย ที่รัฐเข้าไปแทรกแซงราคา นำมาซึ่ง “ผลเสีย” ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่งบวิจัยและพัฒนาข้าวไทย ใช้เพียง 200 ล้าน/ปี แต่เวียดนามใช้ 3,000 ล้านบาท จีน อินเดีย และ ญี่ปุ่น ใช้งบไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์/ปี ดังนั้นข้าวไทย ถ้ารัฐบาลส่งเสริมให้ถูกต้อง ย่อมมีโอกาส เพราะอินเดียหยุดส่งออก

สำหรับเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมข้าว ส่วนใหญ่มี ฝีมือ ในการทำธุรกิจ เช่น รถเกี่ยวข้าว วันนี้แข่งขันกันพัฒนา เพราะมีผู้ผลิตหลายรายในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าตลาดเป็นของผู้ใช้ ชาวนาจึงได้เปรียบในเรื่องรถเกี่ยวข้าว

1.คุณจันทร์ ปานเจริญ (ช่างอุ๊น คนกลาง) ส่งมอบรถเกี่ยวให้ลูกค้า
1.คุณจันทร์ ปานเจริญ (ช่างอุ๊น คนกลาง) ส่งมอบรถเกี่ยวให้ลูกค้า

การผลิตรถเกี่ยวข้าว

ยกตัวอย่าง ช่างอุ๊น เจ้าของรถเกี่ยวชื่อดัง “ปานเจริญการช่าง” ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม พร้อมถ่ายทอดธุรกิจสู่บุตรชาย คุณสรายุทธ  ปานเจริญ  มาขยายธุรกิจรถเกี่ยวทั่วประเทศ

ทำไมรถเกี่ยวข้าวปานเจริญจึงได้รับความนิยมจากผู้ใช้ทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่ราคาคันละ 2 ล้านบาท???

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คำตอบมันอยู่ที่ระยะเวลาใช้งานได้นาน ระบบแมนนวล ใช้อะไหล่กับรถ ทุกรุ่น ทุกคัน ต้นทุนการทะนุบำรุงไม่สูงเหมือนรถเกี่ยวไฮเทค และบริการหลังการขายสุดยอด

รถเกี่ยวปานเจริญ จึงเป็นรถของคนเล่นรถหรือนักลงทุนซื้อไปรับจ้างเกี่ยวข้าว คุ้มทุน เป็นอาชีพที่ยั่งยืน รถทุกคัน ผลิตภายใต้ประสบการณ์ และมันสมอง ของ ช่างอุ๊น… คนเล่นรถรุ่นเดอะในวงการ จากวันนั้นถึงปี 66 ไม่ต่ำกว่า 35 ปี ทุกวันนี้ช่างอุ๊น เจ้าของโรงงานรถเกี่ยวปานเจริญการช่าง ก็ยังเล่นรถเกี่ยวข้าว และทำนา ด้วยตนเอง เขาเริ่มจากเล่นรถ 2 คัน จนมีความชำนาญด้านถอดและประกอบ และเพิ่มจำนวนรถมากขึ้น เพื่อรับจ้างเกี่ยวข้าว จากนั้นก็เริ่มผลิตเองเมื่อ 21 ปีที่แล้ว ยุคนั้นรถเกี่ยวเป็น “รถกระสอบ” หรือเกี่ยวเอาข้าวทั้งเมล็ดลงกระสอบแล้วเย็บ ซึ่งมีปัญหามากมาย จนเกิดรถเกี่ยวมี “ถังอุ้ม” แทนกระสอบ เพราะใช้คนเดียวทำงาน ประหยัดค่าแรงอีก 3 คน

2.เก็บเกี่ยวข้าวได้ทุกสภาพพื้นที่ ทั้งข้าวนาปรัง นาปี
2.เก็บเกี่ยวข้าวได้ทุกสภาพพื้นที่ ทั้งข้าวนาปรัง นาปี

สภาพพื้นที่ปลูกข้าว

ช่างอุ๊นก็ผลิตรถเกี่ยวแบบถังอุ้มเช่นกัน หลังจากได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งถึงกระบวนการผลิต “ผมเป็นชาวนา และ เป็นนักเกี่ยวข้าวไปเกี่ยวข้าวทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย จึงเห็นว่าแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ทั้งข้าวนาปรัง ข้าวนาปี แต่ละพื้นที่ เจอปัญหาอะไรบ้าง พอมาผลิตรถเกี่ยวขาย เราจึงต้องทำให้รถเกี่ยวแข็งแรง และทนทาน ไม่ว่าจะเป็นระบบนวด หัวเกี่ยว และการเสริมคานให้แข็งแรงเพื่อรองรับถังอุ้ม ที่สำคัญต้องผลิตอะไหล่ให้ใช้ได้กับรถทุกรุ่น ช่างอุ๊น เปิดเผย และยืนยันว่า รถเกี่ยวยังใช้ ระบบนวด ระบบหัวเกี่ยว เป็นหลัก เพียงแต่ใส่ ถังอุ้ม เข้าไปเท่านั้น พร้อมกับเพิ่มความแข็งแรงของคานรองรับถังอุ้ม แต่ “ลูกนวด” ขนาดกว้าง 14-19 นิ้ว สำหรับเกี่ยวข้าวนาปรัง ก็ต้องเพิ่มเป็น 21 นิ้ว สำหรับข้าวนาปี

ดังนั้นรถเกี่ยวปานเจริญจึงมีประสิทธิภาพสูง เกี่ยวข้าวสูญเสียไม่เกิน 3% การันตีโดย “มหาวิทยาลัยขอนแก่น” เป็นที่รู้กันในวงการผู้ใช้ แต่ช่างอุ๊นก็แนะนำว่าผู้ใช้ควรหมั่นตรวจตรา ตู้นวด ซี่ล้อ ถ้าสึกหรอต้องทำให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่งั้นจะเกิดความเสียหาย ทำให้ประสิทธิภาพลดลง

3.รถเกี่ยว รุ่น 2023 ตู้แอร์
3.รถเกี่ยว รุ่น 2023 ตู้แอร์

ข้อดีของอะไหล่รถ

เรื่อง “อะไหล่” เป็นเรื่องที่ช่างอุ๊นให้ความสำคัญเป็นพิเศษ “ผมผลิตรถเน้นให้อะไหล่รถคันใหม่ใช้กับรถคันเก่าได้ หรืออะไหล่รถคันเก่าใช้กับรถคันใหม่ได้ ผมจึงต้องเสถียรความเป็นแบรนด์ไว้ให้อยู่ในแนวเดียวกัน ไม่ว่า สายพาน วินเพลาต่างๆ ที่เป็นปัจจัยหลัก” ช่างอุ๊น ระบุ และยืนยันว่า รถปี 2552 ก็ใช้อะไหล่รองรับตัวเดียวกับรถปัจจุบัน

แม้แต่ “สายพาน” ก็มีไม่กี่เบอร์ สายพานปั๊มก็ใช้เบอร์เดียว ใช้กับรถทุกคัน ทั้งหมดก็เพื่อไม่ให้ลูกค้าประสบปัญหาในเรื่องอะไหล่ ยามใช้งาน ซึ่งช่างอุ๊นยืนยันจุดแข็งของตัวเองว่า “ผมได้เปรียบตรงที่ผมเป็นนักเล่นรถ การที่ผมจะต่อรถขาย และสมัยที่ต่อรถใช้เอง ก็คือ คันหนึ่งก็ต่ออย่างหนึ่ง แต่ปัจจุบันผมผลิตรถ 10 คัน ใช้อะไหล่อย่างเดียว”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยเหตุนี้ ช่างอุ๊นจึงไม่ผลิต รถเกี่ยวไฮเทค ทั้งๆ ที่โรงงานมีความพร้อม 100% เพราะรถไฮเทคเมื่ออยู่หน้างาน เมื่อเกิดปัญหา การแก้ไข การซ่อมบำรุง ทำได้ยาก เพราะตนคือนักเล่นรถตัวจริง “ดังนั้นคนที่เล่นรถ 5-10 คัน สามารถใช้อะไหล่ชิ้นเดียวกันได้ ไม่ต้องเตรียมอะไหล่มากมาย” ช่างอุ๊น ยืนยัน

แม้ต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ จะขึ้นราคา แต่ช่างอุ๊นก็ไม่ลดสเปค ยังใช้ของมาตรฐานทุกอย่าง เช่น เพลา โซ่แทรค ลูกปืน หรือ สแตนเลส ก็ใช้ 304 แม้แต่เครื่องยนต์ก็มาตรฐาน เพราะลูกค้าบางคนทำงานในเกาหลี ส่งเงินมาให้ครอบครัวซื้อรถเกี่ยว 2 ล้านกว่าบาท 2 ปี พังแต่ไม่ใช่กับรถเกี่ยวปานเจริญ

ช่างอุ๊นยืนยันว่า รถเกี่ยวที่ผลิตจากอู่ปานเจริญใช้ไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง แม้แต่รถเกี่ยวรุ่นเก่าก็สามารถมาซ่อมบำรุง จนหน้าตาเหมือนรถคันใหม่ ใช้งานได้ดี “ระบบของเราเน้นแมนนวล ระบบสายพาน ดูไม่ทันสมัย แต่มันพังยาก อย่างสายพานชุดคอหน้า 165 เส้นหนึ่งใส่ได้ทุกคัน” ช่างอุ๊น เปิดเผย

ขณะเดียวกันก็ผลิต “รถตีดิน”  เน้นความแข็งแรง ทนทาน ทรงพลัง พร้อมลุยงานหนัก  เพื่อให้นักเล่นรถนำไปต่อ ยอดสร้างรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี

4.รถตีดินปานเจริญ ทรงพลัง ลุยงานหนักได้สบาย
4.รถตีดินปานเจริญ ทรงพลัง ลุยงานหนักได้สบาย

การบริหารบุคลากร

เมื่อการผลิตรถเกี่ยวยังมุ่งใช้แรงงานฝีมือเป็นหลัก ช่างอุ๊นจึงต้องอนุรักษ์ ช่างฝีมือ แต่ละแผนกไว้ เพราะถือว่าเป็นกองกำลังสำคัญ ขณะเดียวกันก็รับนักศึกษา ปวช.จากวิทยาลัยเทคนิคนนท์ มาฝึกงาน 5-6 คน/ปี บางคนจบ ปวช. แล้วก็บรรจุเป็นพนักงานประจำ พอเป็นช่างฝีมือ ก็รับค่าแรงวันละ 500-600 บาท

แม้ว่ารถเกี่ยวปานเจริญจะได้รับความนิยมมาก แต่โรงงานก็ผลิตตามกำลัง ปี 66 รับผลิตเพียง 60 กว่าคันเท่านั้น เพราะยึดหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ในการทำธุรกิจ จะไม่ทำเกินกำลังเป็นอันขาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นผู้ต้องการรถเกี่ยวปานเจริญ ต้องรีบจอง เพราะต้นปี 67 จะเริ่มผลิตตามออเดอร์

ติดต่อได้ที่ ช่างอุ๊น โทร.081-817-9015 , 081-995-0991 22/2 หมู่ 1 ต.ราษฎร์นิยม อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี 11150

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 35