รมช.ไชยา ช่วยชีวิต ชาวโคนมรายย่อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รับรู้กันตลอดว่า อาชีพเลี้ยงโคนม เป็นอาชีพพระราชทาน โดยพ่อหลวง รัชกาลที่ 9

หลักฐานชัดเจน และอมตะ คือ “นมสวนจิตร” ที่พระองค์ทรงทำให้เห็นเป็นตัวอย่างของการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมนม รวมทั้งสหกรณ์โคนมหนองโพ ที่พระองค์ทรงสนับสนุน

ดังนั้นผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยหลายจังหวัด จึงรวมตัวกันทำธุรกิจในรูป “สหกรณ์” ที่ชัดเจน แต่วันนี้ผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยหลายรายออกจากอาชีพอย่างถาวร เพราะสู้ ต้นทุน การผลิตน้ำนมดิบไม่ไหว และราคาก็ไม่เป็นธรรม ที่จะช่วยค้ำจุนให้อยู่รอด

1.โคนม01

การผลิตและแปรรูปน้ำนมดิบ

เมื่อเกิดรัฐบาลชุดนี้ ปรากฏว่า นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรฯ สส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ได้ใส่เรื่องโคนมมากๆ ได้บุก อสค. หรือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) เมื่อช่วงต้นตุลาคม 2566 เพื่อมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจ เพราะเวลานี้ต้นทุนการเลี้ยงโคนมสูงขึ้น โดยเฉพาะ “อาหาร” ขณะเดียวกันก็เจอโรค ลัมปีสกิน ระบาด โคนมเสียหาย จนปริมาณน้ำนมดิบทั้งประเทศลดลง และเพื่อให้สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมอยู่รอด จึงได้ปรับราคาน้ำนมดิบจาก กก.ละ 22.25 บาท เป็น 22.75 บาท

คุณไชยา ยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์นม อสค. (นมไทย-เดนมาร์ก) กล้าลงทุน เครื่องจักร เพื่อแปรรูปน้ำนมดิบ เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อันดับ 1 ในอาเซียน ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ รัฐบาลจึงสนับสนุนให้ ปี 67 อสค. เจาะตลาดระดับบน เพราะมีกำลังซื้อสูง และเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายน้ำนมดิบคุณภาพ ขณะเดียวกัน อสค. ก็ควรเป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่ม SME ที่ผลิตนมโรงเรียน เมื่อคุณไชยาเยี่ยมชมสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ก (มิตรภาพ) ปรากฏว่า เกษตรกรขอให้กระทรวงเกษตรฯ แก้ปัญหา อาหารสัตว์ ราคาแพง และการขายน้ำนมดิบ ราคาตลาด ซึ่งราคาที่ บอร์ดมิลล์ กำหนดเข้าสู่ ครม.แล้ว

2.โคนม02

การบริหารจัดการฟาร์มโคนม

เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างการเลี้ยงโคนมในรูปสหกรณ์แตกต่างจากการเลี้ยงโคนมของเอกชนอย่างไร รมช.ไชยา จึงได้เข้าเยี่ยมชม “ประทีปฟาร์ม” ของ คุณประทีป แก้วนันท์ ซึ่งเป็นฟาร์มอัจฉริยะ (SMART FARMER) ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (รายละเอียดใน นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 360 เมษายน 2566) ก็ได้เห็นรูปแบบการบริหารฟาร์ม ที่ทำให้เกิด “รายได้” หลายทาง เช่น แม่โคปลดระวาง มีไขมันแทรก ขายได้ราคา น้ำนมดิบ คุณภาพดี ขายให้ ซีพี เมจิ และ คันทรีเฟรซ แม่โคให้น้ำนมดิบเฉลี่ย 16 กก./วัน เกินกว่ามาตรฐาน 12 กก./วัน ของ อสค. ใช้อาหารหยาบจากต้นและฝักข้าวโพดเป็นไซเลส แต่ได้บริหารวัตถุดิบที่มีโปรตีนสูง เช่น กากถั่วเหลือง ตัวละ 1 กก./วัน และ มันสำปะหลัง จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งอาหารโปรตีนเป็นเรื่องใหญ่ เพราะโคนมจะให้น้ำนมที่ดี ต้องกินอาหารโปรตีน 40% ถ้า 2 ชนิด ราคาสูงมากๆ ก็ต้องหาวัตถุดิบอย่างอื่นมาทดแทน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.โคนม03

การเลี้ยงโคนม

เรื่องการเลี้ยงโคนม รมช.ไชยา บอกว่า เป็นอาชีพพระราชทานของพ่อหลวง ร.9 ดังนั้นถ้าผู้เลี้ยงโคนมอยู่รอด โดยมี “อสค.” เป็นองค์กรหลักทางธุรกิจ แบรนด์วัวแดง อันดับ 1 ของประเทศ จะฉุดให้ผู้เลี้ยงโคนมไม่เลิกอาชีพ คนที่เลิกก็อาจกลับมาอีกครั้ง

สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ก (ลำพญากลาง) จำกัด เป็นสหกรณ์การเกษตร เริ่มจากสมาชิกก่อตั้ง 174 ราย ตามโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตามพระราชดำริของพ่อหลวง ร.9 ตั้งอยู่ที่ 76 ม.1 ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

ข้อมูลวันที่ 31 มี.ค. 63 มีสมาชิก 536 ราย (สามัญ 486 ราย สมทบ 50 ราย คณะกรรมการดำเนินงาน 9 คน ทุนดำเนินงาน 199 ล้านบาทเศษ ทุนเรือนหุ้น 52 ล้านบาทเศษ ทุนสำรอง 17 ล้านบาทเศษ และกำไรสุทธิ 16 ล้านบาทเศษ ทำธุรกิจหลายประเภท ได้แก่ รับเงินฝาก ปล่อยสินเชื่อ รวบรวมน้ำนมดิบ แปรรูปผลิตภัณฑ์โคทดแทน และขายสินค้า

4.โคนม04

การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม

สำหรับ อสค. หรือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา 2514 เพื่อส่งเสริมกิจการโคนมของเกษตรกร และทำธุรกิจอุตสาหกรรมนม มีภารกิจ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอำนวยการและบริหาร 6 หน่วยงาน ด้านกิจการโคนม 3 หน่วยงาน และด้านอุตสาหกรรมนม 6 หน่วยงาน

เป็นธุรกิจที่เกิดจาก นายนิลส์ กุนนำล์ ชาวเดนมาร์กผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสุกรของ FAO ได้ปฏิบัติงานร่วมกับ กรมปศุสัตว์ ระหว่างปี 2498-2502 ก็พบว่าคนไทยไม่รู้จักโคนม และดื่มนมน้อยมาก จึงกลับเดนมาร์ก จัดทำโครงการฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมในไทย เสนอต่อ DENISH AGRICULTURAL MERGETING BOARD ต่อมาเดือนมกราคม 2504 คณะผู้เชี่ยวชาญเดนมาร์กได้มาศึกษา สำรวจพื้นที่ จัดตั้งฟาร์มโคนมสาธิต และศูนย์ฝึกอบรม ณ อำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี เพราะเป็นพื้นที่หุบเขาสวยงาม แหล่งน้ำสะอาด ใกล้กรุงเทพฯ และเดือนตุลาคม ได้ลงนามสัญญาการให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้านวิชาการเลี้ยงโคนม ระหว่างรัฐบาลเดนมาร์กกับรัฐบาลไทย โดย DENISH AGRICULTURAL MERGETING BOARD ได้จัดสรรเงิน 23.5 ล้านบาท ช่วยเหลือ 8 ปี และรัฐบาลเดนมาร์กได้ให้เงิน 2.87 ล้านบาท ในปี 2509

ความสำเร็จดังกล่าว เพราะพระบารมีพ่อหลวง ร.9 และพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ 2 พระองค์ ทรงสนพระทัยการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์ก เมื่อทรงประพาสยุโรปเดือนกันยายน 2503 นั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นวันที่ 16 มกราคม 2505 พ่อหลวง ร.9 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอร์คที่ 9 เดนมาร์ก ได้ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนม และศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ก ต่อมาปี 2514 รัฐบาลไทยได้รับโอนกิจการมาจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ ชื่อ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) และรัฐบาลไทยได้กำหนดวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็น “วันโคนมแห่งชาติ” ตลอดมา

52 ปี อสค. วันนี้ มีประวัติและผลงานการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และการเพิ่ม มูลค่า น้ำนมดิบ ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้นมวัวแดง และแบรนด์ต่างๆ ในเครือ โดยมีสาขาต่างๆ หลายจังหวัด เป็นภารกิจของรัฐบาล และผู้บริหาร อสค. ที่จะต้องผลักดันให้องค์กรอยู่รอด ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงทางธุรกิจโคนม

ดังนั้นถ้ารัฐบาลชุดนี้ นำโดย กระทรวงเกษตรฯ จะจริงใจ ตั้งใจ ที่จะทำทุกทาง เพื่อให้ผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยอยู่รอด จะเกิดประโยชน์หลายมิติ แม้แต่ ผู้บริโภค ก็ได้กินนมจากเต้า ไม่ใช่ นมผง ละลายน้ำ ที่นำเข้าจากประเทศ มหาอำนาจนม นั่นเอง

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 366