ยอมรับว่า “ ทุเรียน” กลายเป็นกระแสฮิตในวงการไม้ผลที่มีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ กระโดดเข้ามาลงทุนปลูกทุเรียนกันจำนวนมาก หันไปทางไหนก็เจอสวนทุเรียน แม้แต่ในป่าคอนกรีต อย่าง กรุงเทพฯ ก็มีนายทุนนำต้นทุเรียนไปปลูกไว้เช่นกัน อย่างไรก็ตามกว่าทุเรียนจะให้ผลผลิตได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ลงทุนปลูกทุเรียนต้องดูแลเป็นอย่างดี หรือบางสวนก็ต้องจ้างทีมงานมืออาชีพดูแลให้ ตั้งแต่ทุเรียนเล็กไปจนถึงทุเรียนให้ผลผลิต
การโยงต้นทุเรียน
คุณนที พิบูลย์ หรือ คุณ (เบอร์) อาชีพรับจ้างโยงเชือกทุเรียนมืออาชีพ พร้อมดูแลสวนทุเรียนครบวงจร หรือรู้จักกันในนาม “ทีมงานเบอร์พ่นยา ซิ่ง” ในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากเด็กเรียนไม่จบคนหนึ่งในพื้นที่ ตระเวนรับจ้างในงานโรงงาน และหันมารับจ้างทั่วไป เช่น รับจ้างกรีดยาง ฉีดพ่นปุ๋ย ยา ตัดแต่งกิ่ง และรับจ้าง “โยงทุเรียน” เป็นต้น ด้วยความที่ทุเรียนมีราคาแพงในช่วงหลายปีมานี้ ทำให้พื้นที่อำเภอฉวางเริ่มโค่นต้นยางพารา มาลงทุนปลูกทุเรียนจำนวนมาก
ทำให้คุณเบอร์ยึดอาชีพรับจ้างโยงทุเรียนเป็นอาชีพหลัก ต้องใช้ทักษะ ความสามารถ และเสี่ยงตาย บนต้นทุเรียน โดยมีทีมงานโยงเชือกทุเรียนจำนวน 5 คน เพื่อรับงานโยงเชือกทุเรียนในพื้นที่ช่วงฤดูกาล 1 ปี มีครั้งเดียว ควบคู่ไปกับรับดูแลสวนทุเรียนไปด้วย ตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย ฉีดยา ฯลฯ เพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งปี
ปัญหาและอุปสรรคของการโยงทุเรียน
ณ วันที่ 12 มกราคม 2567 คุณเบอร์บอกว่า ทุเรียนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หมอนทอง และกำลังทยอยอออกดอกประปราย ประมาณ 50% และบางสวนก็เริ่มฉีดสะสมอาหารเพื่อเร่งตาดอก บางต้นก็เริ่มออกตาดอกแล้ว อายุทุเรียนที่ให้ผลผลิตตั้งแต่ 3 ปีครึ่ง ไปจนถึง 25 ปี ซึ่งอีกไม่นานก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูกาลโยงเชือกทุเรียน ฉะนั้นการเลือก “เชือกโยงทุเรียน” นั้นทีมรับจ้างจะรู้ดีที่สุดเพราะเป็นผู้ที่ใช้งานโดยตรง
ซึ่งคุณเบอร์เละทีมงานเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ใช้เชือกฟางมาหลากหลายยี่ห้อ บางครั้งเจ้าของสวนจัดซื้อเชือกฟางมาเอง ซึ่งบางครั้งเป็นอุปสรรคในการทำงานเหมือนกัน เพราะเชือกฟางบางยี่ห้อมีน้ำหนัก/ม้วนน้อย เชือกสั้น ทำให้เสียเวลาลงมาหยิบเชือกฟางเพื่อขึ้นไปโยงทุเรียนใหม่ และหากวันไหนสภาพอากาศไม่เป็นใจก็จะทำให้โยงทุเรียนได้จำนวนไม่กี่ต้น/วัน ทำให้รายได้ลดลงไปด้วย ราคาเหมาโยงทุเรียนอยู่ที่ความสูงของต้นทุเรียน ตั้งแต่ 2-15 เมตร ราคา 250-350 บาท/ต้น แต่บางทีมคิดค่าโยงเชือกแบบเหมาเป็นลูกๆ ละ 250-300 บาท น้ำหนักของเชือกฟางอยู่ที่ครึ่งกิโลกรัม/ม้วน
เทคนิคการโยงเชือกทุเรียน
“การผูกเชือกฟางเนี่ยเราไม่ได้ปลูกแบบรัดแขน รัดเนื้อ ของทุเรียนเลย เพราะว่าถ้าเราทำรัดเนื้อของทุเรียนเลยมันจะทำให้ต้นทุเรียนที่กว่าจะข้ามปีมันกิ่วได้ จะต้องมีเทคนิคผูก เราต้องผูกแบบให้มันมีช่องหายใจ ถ้าเราผูกแบบเงื่อนตาย ผูกแบบรัดเนื้อไปเลย มันจะทำให้กิ่ว ให้เนื้อทุเรียนกิ่วไปเลย
จากที่ใช้เชือกฟางมาหลายยี่ห้อ ผมมั่นใจเชือกฟางโยงทุเรียน ตรา ตะวันแดง ผมใช้มาตั้งแต่ปี 2565 เริ่มกระจายไปหลายสวน และหลายทีมมาก และได้แนะนำเชือกฟางของตะวันแดงไปกระจายหลายทีม หลายสวนมาก ซึ่งผลตอบรับกลับมาก็คือ มีข้อเปรียบเทียบระหว่างเหมือนปีที่แล้ว ปีก่อนเค้าใช้อยู่แบรนด์นึง แล้วปีที่แล้วใช้เชือกฟาง ตรา ตะวันแดง ไปให้เค้าใช้ ได้ปริมาณกว่า และก็มันมีความหนาแน่นกว่า ได้ปริมาณมากกว่า ความหนาแน่นของเชือกฟางมากกว่า การโยงทุเรียน เชือกมีความสำคัญ เพราะว่าความแข็งแรงของเชือกเราออกไปอยู่ทั้งตัวเชือก โดยที่มีแค่เชือกฟาง 1 เส้น ผูกไว้ เราต้องมั่นใจในคุณภาพของเชือกด้วย
สำหรับเชือกของตะวันแดงนะ คือ กิ่งใหญ่ๆ เราต้องผูก 2 ครั้ง จึงจะออกไปถึงข้างนอกได้ เช่น ต้นทุเรียนอายุ 10 ปี 20 ปี กิ่งมันจะยาวมาก เราต้องปลูก 2 ช่วง เราต้องปลูกตรงข้อศอก เพื่อออกไปข้างนอก จะปลูกข้อมืออีกทีหนึ่ง โดยประมาณนั้นเปรียบเทียบ เพราะฉะนั้นโอกาสที่เราจะพลาดได้ ถ้าเชือกไม่เหนียวพอ ถ้ากิ่งขนาดประมาณขวดโค้ก 1.25 ลิตร ใช้เชือกของตะวันแดงสบายๆ เลยครับ ปีต่อปี ผมให้ 2 ปีเลย ไม่โดนแดด เฉพาะเชือกของตะวันแดงนะ เมื่อตอน 3 วันที่แล้ว ผมเพิ่งไปเอาลง เพราะว่าผมแต่งแขนงแล้วเพื่อเอาดอกไว้ และถ้าของตะวันแดงที่ว่าผมโยงไปเนี่ยยังคงสภาพเดิมเลย รอบที่ผ่านมาเกือบ 1 ปี ไม่มีขุย ไม่มีอะไรเลย ยังเป็นเส้นแบบเปี๊ยะ ยังเอาไปใช้งานอื่นได้อีก ” คุณเบอร์เปิดเผยเทคนิคการโยงเชือกทุเรียน พร้อมกับอธิบายถึงคุณภาพของเชือกฟางที่มีความแตกต่าง
การบริหารจัดการต้นทุเรียน
นอกจากการใช้เชือกฟางโยงทุเรียนแล้ว ยังโยงเชือกลงสมอป้องกันการโค่นล้มของต้นทุเรียนด้วย ซึ่งวิธีนี้ไม่นิยมทำทุกสวน ขึ้นอยู่กับอายุและความสูงของต้นทุเรียน และทิศทางลม ถ้าเป็นอย่างนั้นจะใช้เชือกโพลีในการผูกโยงสำหรับกิ่งใหญ่ๆ จริงๆ เพราะว่าสามารถรับน้ำหนักเยอะได้ ต้องใช้เชือกโพลีในการดึง และก็ในการดูทิศทางของเชือกดึงกันลม สมมติมีต้นทุเรียนอยู่เดี่ยวๆ ต้นสูงๆ 1 ต้น อยู่กลางสวนต้นเดี่ยวๆ จำเป็นต้องใช้เชือกโพลีเพื่อมาดึงไปผูกกับสมอเพื่อป้องกันหักโค่นของต้นและกิ่ง
โดยคุณเบอร์และทีมงานยังรับตัดแต่งกิ่ง ดูแลสวนทุเรียนเพื่อให้ได้ทุเรียนคุณภาพ ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งในพื้นที่นิยมปลูกทุเรียนระยะ7×8 เมตร และ 9×8 เมตร ประมาณ 25-28 ต้น/ไร่ หากทุเรียนแปลงไหนได้รับการดูแลเอาใจใส่ ปุ๋ย น้ำ เป็นอย่างดี เมื่อทุเรียนอายุได้ 3 ปี ครึ่ง ก็สามารถติดดอกและไว้ผลได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคการดูแล การตัดแต่งกิ่ง การแต่งทรงต้นด้วย โดยเฉพาะการทำทรงพุ่มแบบต้นเตี้ย อวบ กิ่งใหญ่ สามารถให้ผลผลิตได้เร็ว
“การตัดแต่งกิ่งทุเรียนมันไม่ตายตัวสำหรับเกษตรกร มันอยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละคนด้วย คือ สำหรับผม ผมจะชอบแบบเราเลี้ยงเด็ก ก็คือ เราจะหัดยังไงให้ไปในทิศทางไหน ก็คล้ายๆ กับทุเรียน เราจะตัดแต่งกิ่ง เราจะดูทรงว่ากิ่งไหนที่มันควรจะใหญ่นะ เราต้องดูเต้าตาใต้กิ่งมันว่าเต้าตานี้มันจะใหญ่มั๊ย มันจะเป็นยังไงบ้าง จะดูออกว่าคนที่อยู่ติดสวน จะรู้เลยว่าขนาดนี้นะ มันโอเคนะสำหรับเอาไว้นะ และก็จะแต่งกิ่งไม่ให้มันซ้อนกัน แต่งกิ่งยังไงให้โปร่งแสง และก็ไม่ควรจะไว้กิ่งเยอะเกินไป และก็ไม่ตัดออกจนถึงปลายกิ่งเป็นหางช้างก็ไม่โอเค คือทุเรียนต้นประมาณ 4 ปี 5 ปี 25 กิ่งๆ ละไม่เกิน 3 ลูก ถือว่าเยอะมากแล้ว ฉะนั้นผมถือว่าการแต่งกิ่งสำคัญเหมือนกัน เพราะว่าการที่กิ่งมันจะอวบ ไม่อวบ มันขึ้นอยู่กับว่าเราตัดแต่งกิ่งที่ไม่สำคัญออกไปหรือเปล่า
ในขณะที่ต้นมันยังไม่พร้อมที่จะให้ผลผลิต เราก็ควรตัดแต่งและก็ปูทางให้มันตั้งแต่แรก ยิ่งเราตัดไวมันจะอวบเร็วเท่านั้น ทรงต้นต่ำ กิ่งกับต้นทุเรียนจะอวบกว่าทำทุเรียนทรงต้นสูง พูดง่ายๆ ว่าถ้าทำทุเรียนให้ต้นเตี้ยล่ำ กิ่งจะอวบมากกว่า ดูแลบริหารจัดการง่าย โคนต้นจะใหญ่มาก ผมสังเกตดูนะแปลงไหนที่ไว้อายุทุเรียนประมาณ 2 ปีครึ่ง 3 ปี จะแต่งกิ่งกันไว้ กิ่งน้อยๆ ทำทุเรียนทรงต่ำ แต่ละกิ่งอวบๆ และต้นก็อวบ เป็นการบริหารทรงพุ่มเพื่อให้ต้นเตี้ย ต้นอวบ ต้นใหญ่ รากได้หากินได้เก่ง
พอความสูงมันลดลง ปรากฏว่าธาตุอาหารในดินก็จะถูกไปหล่อเลี้ยงทุกเซลล์ เพราะกิ่งมันอวบโดยออโต้ ต้นก็แข็งแรง ที่สำคัญต้นทุนในการบริหารจัดการง่ายและต่ำกว่าต้นทุเรียนสูงๆ เป็นครึ่งต่อครึ่งเลย การฉีดพ่นปุ๋ย ยา ก็ลดลงไปด้วย ตอนนี้บางสวนผมก็แนะนำให้ตัดยอดทำทรงต้นเตี้ย และก็ไว้กิ่งไม่ต้องเยอะ พอกิ่งมันอวบ ตาดอกสมบูรณ์ จึงเป็นที่มาของ 3 ปีครึ่ง เอาลูกได้” คุณเบอร์เผยเทคนิคการบริหารทรงพุ่มของทุเรียน
ขณะที่การแต่งกิ่งสำหรับทุเรียนอายุ 4-5 ปี เพื่อไว้ลูก คุณเบอร์บอกว่า ไม่ควรเกิน 19-25 กิ่งๆ ละ 3 ลูก ถือว่าเยอะแล้ว หมายความว่านับเฉพาะกิ่งที่ไว้ลูกได้เท่านั้น ไม่รวมยอดฉัตร อีกประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งชาวสวนจำเป็นต้องคำนวณด้วยว่าต้นขนาดเท่าไหร่ ไว้ผลเยอะก็เป็นอันตรายกับต้นอีก เพราะว่าเกษตรกรที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ได้คำนวณผลผลิตที่ออกไป และการเติมกลับเข้ามา คือ การตัดลูกทุเรียนออกไป/ต้นเท่าไหร่ กี่ กก.ออกไป และก็ในการเติมธาตุอาหารต่างๆ กลับเข้ามา/ต้น จะไม่ได้คำนวณว่าต้องเติมกลับมาเท่านี้ เพื่อจะให้ต้นทุเรียนเกิดความสมบูรณ์ และไม่โทรม ลดการเกิดโรคได้ด้วย
การบำรุงดูแลต้นทุเรียน
ส่วนการดูแลฟื้นฟูต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มตั้งแต่ตัดลูกเสร็จก็เริ่มพักต้นไว้ระยะนึง แล้วค่อยมาตัดแต่งกิ่ง พอตัดแต่งกิ่งเสร็จจึงเริ่มฉีดสะสมอาหารและทำใบ เพราะว่าตอนตัดลูกเสร็จ ยอดแรกจะมาแล้ว พอมาปีนี้หลังจากนั้นก็ตัดแต่งกิ่งเสร็จก็ฉีดสะสมอาหารไปเรื่อยๆ จนได้ยอดที่ 2 แต่ละยอดจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน ต่อ 1 ยอดใบ พอพ้นจากยอด 2 ไป ก็มาเข้าช่วงนี้ที่จะเป็นยอด 3 ช่วงนี้จะเป็นใบเพสลาดแล้ว จะฉีดสะสมอาหาร เป็นพวกแคลเซียมโบรอน และซิงค์ เยอะหน่อย ควบคู่กับ ปุ๋ยเกล็ด 0-52-34 เพื่อหยุดยอด และสะสมอาหารให้เต็มที่เพื่อให้พร้อมสำหรับการออกดอก และเมื่อดอกเริ่มออกมาอีกแล้ว คุณเบอร์จึงจะเริ่มตัดแต่งกิ่งแขนง ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมือนสวนอื่น เพราะว่าคุณเบอร์จะไม่ตัดแขนงออก
“ผมจะแต่งรอบเดียวตอนเก็บเกี่ยวลูกเสร็จ ซึ่งจะไม่แต่งอะไรเลย และปล่อยให้แขนงขึ้นเต็มต้นไปเลย ฉีดสะสมอาหารไปกับแขนงที่อยู่ตามกิ่ง คือ โรงอาหารดีๆ นี่แหละ เพราะว่าคือการที่เราฉีด เราแต่งแขนงออกหมด และก็ไปฉีดอาหารจะอยู่ที่ปลายใบ ปลายใบมันได้กินก็จริง แต่เวลามันออกดอกมันออกดอกที่ท้องกิ่ง มันจะอยู่ถึงท้องกิ่ง แล้วเวลาเอาออกเนี่ยมันเสียไปโดยใช่เหตุ เสียผลประโยชน์ไปโดยใช่เหตุ จึงปล่อยแขนงไว้เพื่อมาเป็นตัวเก็บสะสมอาหาร
ผมก็ได้ข้อเปรียบเทียบระหว่างแปลงที่ใส่ปุ๋ยเม็ดสูตร 8-24-24 ทางดิน กับแปลงที่ผมดูแลโดยไม่ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ทางดิน แต่ผมจะใช้ 8-24-24 ที่เป็นปุ๋ยน้ำฉีดทางใบเลย และไม่ตัดแขนงออก ปรากฏว่าสวนที่ผมดูแลออกดอกมาเสมอกว่า” คุณเบอร์ให้ความเห็นของการตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยลดปัญหาตกค้างในดินหรือพืชนำไปใช้ไม่หมด ผมก็ไม่รู้ว่าตัวอื่นจะเป็นยังไง แต่ 8-24-24 เนี่ย ฟอสฟอรัสกับโปรแทสเซียม ยังไงพืชก็กินไม่หมด แล้วยิ่งดินเป็นกรด รากขนอ่อนก็ดูดซับลำบาก เผลอๆ รากเน่าขึ้นมาอีก ต้นเหตุของไฟทอปทอราตามมาอีก ในขณะที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย
การป้องกันและกำจัดโรค
“โดยเฉพาะปีนี้ผมก็เจอแบบสาหัสเหมือนกัน โรคไฟทอปทอรา ถ้าความชื้นบวกความร้อนสลับเวลากันวันต่อวัน เชื้อไฟทอปทอราจะรุนแรงที่สุด อากาศร้อนสลับฝน เชื้อระบาดรุนแรงมาก ตัวนี้เข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหารเลย เข้าไปที่เซลล์ต้นทุเรียนเลยครับ มันจะเข้าไปเลย ยิ่งต้นทุเรียนอ่อนแอเท่าไหร่ มันจะทำลายเร็วมากเท่านั้น ไม่ใช่ทุเรียนเพิ่งจะให้ผลผลิต อายุ 5-8 ปี ก็ต้องมาตัดต้นทิ้งแล้ว ผมจึงพยายามแนะนำเจ้าของสวนทุเรียน เพราะไม่อยากให้ชาวสวนต้องตัดต้นทิ้งแล้วมาปลูกใหม่ เสียเวลา เสียเงิน” คุณเบอร์ ให้ความเห็น และยินดีแลกเปลี่ยนความรู้กับทุกคนในวงการชาวสวนทุเรียน โทร.065-393-1974