โนเนมมากๆ นาม รังษี สีหรั่ง เจ้าของฟาร์มไก่ไข่ บนบ่อปลา 5 ไร่ แห่งอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
แต่ “บทบาท” ในการทำอาชีพของเขา เป็นไอดอลของคนสู้ชีวิตได้ดีมากๆ
การเลี้ยงไก่ไข่
วันนี้เขาและครอบครัวเป็นเจ้าของ ล้งไข่ ชื่อดังของจังหวัด โดยเฉพาะ ไข่ไก่ ที่มองว่า ธรรมดาๆ แต่พอลงลึกในธุรกิจของเขาไม่ธรรมดาเลย เขาเริ่มจากซื้อมาขายไปไข่ไก่ จนเข้าใจตลาดไข่อย่างลึกซึ้ง คนธรรมดาค้าไข่ในสายตาของคนทั่วไป แต่จิตใต้สำนึกที่รักในเรื่องการเลี้ยงไก่และปลายังฝังแน่น
จนวันหนึ่งต้องตัดสินใจนำที่ดินของบรรพบุรุษ 5 ไร่ กู้ธนาคารไทยพาณิชย์ 1 ล้านบาท มาทำฟาร์มไก่ไข่ บนบ่อ ปลาสวาย และ ปลาเบญจพรรณ 5 ไร่ โดยมีเซียนไก่ไข่ในวงการถ่ายทอดวิทยายุทธให้ ขายฟาร์ม อุปกรณ์ และไก่ ให้เขา จึงกลายเป็นผู้เลี้ยงไก่ไข่สมใจนึก เมื่อปี 2554 โดยเริ่มจากเลี้ยง ไก่สาว 2,000 ตัว ซื้อ หัวอาหาร มาผสมกับวัตถุดิบต่างๆ จนได้สูตรที่ไก่กินแล้วให้ไข่ที่ดี แม้ไก่สาวจะเลี้ยงยากก็ต้องพยายามจนสำเร็จ
แม้แต่ โรคไก่ เขาก็ได้รับการถ่ายทอดให้เรียนรู้ เช่น เมื่อไก่ถ่ายท้อง หรือเมื่อไก่เป็นหวัด จะต้องหาสาเหตุให้เจอ ด้วยการปิดไฟ ให้ไก่นอน ถ้าตัวไหนป่วยมันจะแสดงอาการให้เห็น ไม่ลุกขึ้นมากินอาหาร ตัวที่เป็นหวัดจะต้องให้ยาจนแข็งแรง แล้วเอาขึ้นไปไว้ที่เดิม
การให้อาหารไก่ไข่
เรื่องอาหารที่ผสมใช้เอง ราคาย่อมสูงกว่าหัวอาหาร แต่คุณรังษีเห็นว่ามันจำเป็นและคุ้มค่ากว่า เพราะจัดซื้อแหล่งวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพด รำ แร่ธาตุ และ วิตามิน ด้วยตัวเอง อีกอย่างจากการสังเกตพบว่า การผสมอาหารใช้เอง ไก่แก่ที่ปลดระวาง พอเข้า โรงเชือด ปรากฏว่าปั่นแล้วปีกไม่หัก เพราะใส่ แคลเซียม เพียงพอ กระดูกปีกแข็ง “ผมคิดสูตรอาหารตามเขาเลี้ยง ใส่วัตถุดิบ/ตัน ช่วงอากาศร้อนอาจใส่หัวอาหารถึง 12 ลูก แต่พออากาศไม่ร้อนใส่ 11 ลูก และใส่วิตามินเอง” คุณรังษี ให้ความเห็นเรื่องผสมอาหารใช้เอง และให้เกษตรกรนำไปใช้ แล้วรับซื้อไข่เข้าล้ง นอกจากนี้การเลี้ยงด้วยอาหารล้วนๆ อาจต้องซื้อแคลเซียมมาโรยอีก เป็นการทำงาน 2 ต่อ ดังนั้นการผสมอาหารเองดีที่สุด
เมื่อถามถึงอายุของไก่ปลด คุณรังษีบอกว่า ถ้ามันยังให้ไข่ที่ดี ก็ไม่ต้องปลดถึง 24 เดือน ก็มี ไม่เหมือนเล้าใหญ่ที่มีระยะเวลาการปลดชัดเจน “อยู่ที่ไก่และไข่ว่าแต่ละชุดจะไข่แค่ไหน และระหว่างเลี้ยงจะประสบปัญหาอะไรบ้าง รอบนี้ผมเลี้ยงของเบทาโกรลากยาว 2 ปี ก็ยังไข่อยู่” คุณรังษี เปิดเผยถึงคุณภาพไก่ของเบทาโกร
จุดเด่นของเครื่องคัดไข่ มาค เวลล์
ในการทำ ล้งไข่ หัวใจ คือ เครื่องคัด รังษีฟาร์ม ใช้เครื่องคัดไข่รุ่นเก่า ไม่ทันแตกและเสียหาย ปรากฎว่า คุณไกรสร สีหรั่ง บุตรชาย คนรุ่นใหม่ เสาะหาเครื่องคัดไข่ดิจิตอล ที่มีความไว และมีประสิทธิภาพสูง ได้เจอเครื่องคัดไข่ระบบดิจิตอล ยี่ห้อ มาค เวลล์ บริษัท มาค เวลล์ โพรดักส์ จำกัด เมื่อเจ้าของแนะนำรายละเอียดการทำงานของเครื่อง และบริการหลังการขาย และรับเทิร์นเครื่องเก่า คุณรังษีตัดสินใจซื้อ ซึ่งตนเองก็เคยเทิร์นเครื่องคัดให้คนซื้อไข่ของตนไปใช้เหมือนกัน
ล่าสุด บริษัท มาค เวลล์ โพรดักส์ จำกัด ได้ผลิตเครื่องคัดไข่ดิจิตอลเต็มระบบ หรือ ออโตโหลด (หรือระบบดูดไข่จากแผงเข้าเครื่อง และผลักแผงเปล่าออกโดยอัตโนมัติ ใช้ได้กับแผงไข่ทุกขนาด” และ ระบบออโตแพคกิ้ง หรือระบบเก็บไข่ลงแผงอัตโนมัติ กลับไข่ด้านแหลมลงทุกฟอง เก็บไข่ได้รวดเร็ว ลดขั้นตอนและลดค่าแรงได้
คุณรังษีก็สนใจ “ผมลงทุนอีกนิดเดียวก็ครบสูตร ต้องดูว่ากำลังดูดเป็นแบบไหน และการที่ไข่ไม่ติดแผงเลยเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าของแมคดูดพอดี เหมือนคนหยิบไข่ หยิบแรงไม่ติด ผมหยิบจับ 4 ลูกๆ ไหนติด ผมจะปล่อยนิ้วมือ ก็เหมือนเครื่องจักร ถ้าดูดพอดีปุ๊บ และตัวนี้มันเตะออกซื้อได้” คุณรังษี ให้ความเห็น ดังนั้น 25,000 ฟอง/ชั่วโมง ที่ใช้คัดไข่ และถ้านำระบบออโตโหลดมาใช้จะทำให้รังษีฟาร์มเป็นล้งไข่ไฮเทคนั่นเอง
สนใจเยี่ยมชมล้งไข่ ติดต่อได้ที่ คุณรังษี โทร.092-692-2363
การเลี้ยงเป็ด รับซื้อไข่เป็ด
เรื่องเครื่องคัดไข่ดิจิตอล Makwell เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากๆ ในธุรกิจไก่ไข่ ในทัศนะของคนเลี้ยงเป็ดไข่ และรับซื้อไข่เป็ด กระจายไปสู่ตลาดทั่วประเทศ อย่าง คุณณัฏฐพัฒน์ ชทิสาจารย์ หรือ “กอล์ฟ” อ.เมือง จ.นครปฐม ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 67 ว่า การรับซื้อไข่เป็ดประมาณ 5 ไซส์ แล้วคัดไข่ไปสู่ผู้ซื้อขาประจำเป็นเวลา 8 เดือน ธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด ด้วย “ฝูงเป็ด” ที่ให้ไข่หลายหมื่นตัว ต้องคัดไข่ทุกวัน โดยใช้เครื่องคัดไข่ดิจิตอลของ บริษัท มาค เวลล์ โพรดักส์ จำกัด ที่มี คุณศิวัช เลิศทยากุล เป็นกรรมการผู้จัดการ
จึงรู้ว่า “ล้งไข่” เป็นธุรกิจที่ต้องแข่งกับ “เวลา” และ “ปริมาณ” แต่กำไรน้อย นั่นหมายความว่า เป็ดไข่ทุกวัน เป็น “ไข่สด” พอเวลาผ่านไป 4 วัน กลายเป็นไข่ไม่สด เกิดปัญหามากมาย กระทบต่อธุรกิจ
คุณสมบัติ เครื่องคัดไข่ Makwell
เมื่อต้องแข่งกับเวลา ดังนั้น กลไก ทุกตัวทางธุรกิจต้องตอบโจทย์ชัดเจน เช่น เครื่องคัดไข่ ก็ต้องแข่งกับเวลา “ผมใช้เครื่องคัดไข่ที่เป็นตุ้มถ่วงน้ำหนัก ใช้หลากหลาย จนล่าสุดกำลังคัดไข่ไม่พอ ก็เลยเป็นดิจิตอล ตอนแรกจะกระโดดไปที่ 24,000 ฟอง/ชั่วโมง ราคาเครื่องประมาณ 7 แสน แต่จะดึงสภาพคล่อง ของเราจะโตยาก ก็เลยเริ่มต้น 15,000 ฟอง เพื่อทดลองว่าประสิทธิภาพเป็นอย่างไร เปรียบเทียบว่าของเราสามารถทำงานกับเครื่องดิจิตอลได้หรือเปล่า” คุณกอล์ฟ เปิดเผย ปรากฏว่าพอใช้แล้วประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น กำลังเร็วกว่าเดิม ความแม่นยำของไข่มากขึ้น “เราพบว่าลูกค้าตอบสนองกลับมาดี มีตำหนิเรื่องขนาดของไข่น้อยลง และเครื่องระบบเก่าสูญเสียพอสมควร จากไข่บด ไข่แตก สมมติ คัดไข่ 500 แผง ไข่แตก 1 แผง การทำธุรกิจไข่ มาร์จิ้นน้อย”
เหตุที่เครื่องคัดไข่ Makwell แล้วสูญเสียน้อย เพราะมี “เซนเซอร์” ตรวจจับ ไม่ให้ไข่ตกราง ทำให้การแตกน้อยมากๆ หรือถ้าแตกก็ไม่เกิน 1-2 ฟอง อีกอย่างถ้ามองเครื่องคัดไข่เป็นกลไกหลักของการลงทุน ก็จะเข้าใจในบริบทธุรกิจมากขึ้น ซึ่งคุณกอล์ฟมองไปที่ “ประสิทธิภาพการคัดไข่ที่มากกว่าใช้คนคัด ทำยังไงให้คนมีประสิทธิภาพสูงสุด หากจ้างคนมาก การบริหารยาก ลูกน้องมีปัญหา หรืออะไรก็แล้วแต่ การใช้เครื่องคัดราคาสูงเท่ากับรถคันหนึ่ง ก็ต้องทำ เพราะไม่งั้นปัญหามันจะเป็นคอขวด” คุณกอล์ฟ ยืนยันถึงความจำเป็นของการลงทุนเครื่องคัดไข่
การผลิตและการตลาดไข่เป็ด
แม้ว่าการค้าไข่เป็ดจะวางแผนการผลิตและการตลาดระยะยาว ไม่ได้เหมือนธุรกิจชนิดอื่น แต่บางช่วง ราคาไข่ ก็จูงใจเกษตรกรให้ลงทุนเพิ่ม ดังนั้นคุณกอล์ฟเตรียมซื้อเครื่องคัดไข่ดิจิตอลขนาด 25,000 ฟอง/ชั่วโมง เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
เนื่องจากคุณกอล์ฟเป็นเกษตรรุ่นใหม่ที่ติดตามข่าวสารด้วยสื่อดิจิตอลหลายแพลตฟอร์ม จึงมีข้อมูลเชิงลึกที่จะนำมาพิจารณา ปรับกระบวนทัศน์การทำงานกับสิ่งมีชีวิต อย่าง “เป็ดไข่” ที่ให้ไข่ทุกวัน กินอาหารทุกวัน ท่ามกลางอากาศแปรปรวน ที่ทำให้เป็ดอ่อนแอได้ แต่ในเชิงธุรกิจ การหา “ตลาด” คู่ขนานกับการผลิตไข่ ก็ต้องทำควบคู่กันตลอด
“วิธีการทำตลาด ของผมมันต่างจากคนอื่นอย่างสิ้นเชิง ผมทำแบบกล้าได้กล้าเสีย มองภาพใหญ่มากกว่ามองต้นทุน มองว่าตัวเลขภาพใหญ่เป็นยังไง ถ้ามองขาด ถ้าขายขาดทุนก็ขายได้ เพราะภาพรวมยังกำไร พอเราทำตลาด ลักษณะนี้เราโตแบบก้าวกระโดด ขาที่เราต้องเลี้ยง ต้องขยาย ก็ทำขาที่เราซื้อเข้า ก็ทำไป เดิน 2 ขา มาเรื่อยๆ” คุณกอล์ฟ เปิดเผยถึงการมองภาพใหญ่ ด้วยการเดิน 2 ขา ทางธุรกิจไข่เป็ด
การบริหารจัดการฟาร์มเป็ด
อย่างไรก็ดี “ปัญหา” ของผู้เลี้ยงเป็ด ได้แก่ ต้นทุน การบริหารจัดการฟาร์ม เช่น อาหาร เป็นต้น และคนขายไข่ได้ราคา มีกำไร “ทำอย่างไรให้ราคาไข่สูงสุด ทำอย่างไรให้อาหารเป็ดถูกที่สุด บางคนบอกว่าเราขายฝัน ไม่สนใจเสียงวิจารณ์ ให้เนื้องานและผลงานพิสูจน์” คุณกอล์ฟ เปิดเผย และในที่สุดก็ค้นพบเหตุแห่งไข่ราคาตก และหาทางแก้ไข
เหตุที่ 1 ราคาอาหารเป็ดสูง คุณกอล์ฟรวมกลุ่มผู้เลี้ยง แรกๆ เริ่มจาก 3 ราย ต่อรองราคาจากผู้ขายอาหารเป็ด โดยซื้อครั้งละมากๆ ปรากฏว่าโอเค ราคาต่ำกว่าเกษตรกรซื้อเอง
เหตุที่ 2 ราคาไข่ตกต่ำ ผู้เลี้ยงอยู่ไม่ได้ ก็พบสาเหตุว่า โรงเชือด และ ห้องเย็น เก็บ เนื้อเป็ดปลด ไว้เต็ม ซื้อเข้าเชือดเพิ่มไม่ได้ แต่ราคาเป็ดปลดตกต่ำ ก็ยังมีผู้เลี้ยงเป็ดปลดไว้ให้เป็นต้นทุน ดังนั้นจึงต้องผลักดันให้มีผู้ซื้อเป็ดปลดจากฟาร์ม ในจังหวะที่คนอื่นไม่ซื้อ เมื่อเป็ดปลดหายไปจากฟาร์ม ไข่เป็ดก็หายไปด้วย ราคาไข่เป็ดก็ขึ้นเข้าสู่สมดุล ดีมานด์ ซัพพลาย
ผู้บริโภคเนื้อเป็ดปลดระวาง ส่วนใหญ่อยู่ใน เวียดนาม เป็นหลัก โดยส่งผ่านทางกัมพูชา แต่ถ้าไทยส่งโดยตรง ตลาดเป็ดเนื้ออาจโตกว่านี้ก็ได้
คุณกอล์ฟมั่นใจว่า ถ้าเป็ดปลดหายไป ในจังหวะที่เหมาะสม ระบบจะดีขึ้น “รับซื้อเป็ดปลดในจังหวะเวลาที่คนอื่นไม่รับ แสดงว่าเป็ดจะหายจากระบบเยอะ แม้ดีมานด์ยังอยู่ แต่ซัพพลายหายไป ไข่ก็หายด้วย ระบบจะแก้ปัญหานี้หมดไป”
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไข่เป็ด
สำหรับตลาดไข่ในประเทศ โดยเฉพาะ ภาคใต้ คุณกอล์ฟเปิดเผยว่า แข่งกันดุเดือด ระหว่างผู้ขายหลายราย และมีความเสี่ยงในเรื่องผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินสูงมาก
ธุรกิจล้งไข่ คุณกอล์ฟต้องการเป็นนักวางแผนการตลาดให้ผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็เป็นนักวางแผนการใช้ “เงินสด” ให้รัดกุมมากที่สุด โดยแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน “ธุรกิจของผมใช้วงเงินสูงมาก คือ เราซัพพอร์ตส่งอาหารให้เกษตรกร เราจ่ายเงินสดซื้อไข่ แต่เราขายไข่ บางกรณีเราเจอเครดิต จึงต้องสำรองเงิน 3 ส่วน” สมมติมีผู้เลี้ยง 10 กลุ่ม ต้องสำรองค่าอาหารเป็ด 2 ล้าน และยังต้องใช้เงินสดซื้อไข่ทุกวัน
ดังนั้นธุรกิจล้งไข่เป็ดจะต้องทำให้ภาค การผลิต การตลาด และ การเงิน สมดุลตลอดเวลา แก้ปัญหาเร่งด่วนให้สะเด็ดน้ำ ซึ่งต้องใช้ศิลปะการบริหาร แม้แต่เรื่องต้นทุนการเลี้ยงเป็ด จะต้องหาทางลด เช่น อาหาร อาจต้องผลิตในแบรนด์ของกลุ่มแบบ OEM ต้นทุนจะได้ลดลง ขณะนี้จัดซื้อทั้งหมด 3 แบรนด์ คุณกอล์ฟจะไม่ลงทุนในสนามรบที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตลาดไข่เป็ดแปรรูป ที่มีผู้ครองตลาดหลายแบรนด์ และต้องใช้เงินสต๊อกไข่มาก พร้อมทั้งทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากกว่าเจ้าตลาด ดังนั้นจึงมุ่ง ตลาดไข่สด อย่างเดียว
แต่ อาหารเป็ด คุณกอล์ฟเห็นว่า เมื่อผู้ผลิตขึ้นราคา ผู้ใช้ก็ต้องยอม ทั้งๆ ที่จัดซื้อในนามกลุ่ม ต้องก้มหน้ารับกรรม เพราะเป็ดกินอาหารวันละ 120 กรัม/ตัว ถ้าเป็ด 1,000 ตัว กินประมาณ 5 กระสอบ อาหารจึงเป็นต้นทุนสำคัญ และยังมีต้นทุนอื่นๆ แต่ไข่ที่ได้/วันมีหลายไซซ์ ดังนั้นไข่ 800 ฟอง/1,000 ตัว มีทั้ง ไข่เล็ก ไข่กลาง และ ไข่ใหญ่ หักต้นทุนแล้ว กำไรไม่มาก ดังนั้นถ้าลดอาหารได้ก็ต้องลด เพราะมันจำเป็นจริงๆ