เร่งพัฒนา “ยาและอาหาร” โคนม ด้วยงานวิจัยดีเด่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เร่งพัฒนา ยาและอาหารโคนมด้วยงานวิจัยฯ

เร่งพัฒนา “ยาและอาหาร” โคนม

ด้วยงานวิจัยดีเด่น

งานสัมนนา

แม้ว่า พันธุกรรม โคนมจะดีเด่นเพียงใดแต่ปัจจัยด้านการจัดการโดยเฉพาะ “อาหาร” เป็นเรื่องที่ในวงการยอมรับว่าสำคัญมากเพราะอาหารที่มีคุณภาพนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการเจริญเติบโต ความแข็งแรง และการให้น้ำนมที่ดีแล้ว ยังมีสัมพันธ์โดยตรงกับ “ต้นทุน” การผลิตอาหารอีกด้วย

นักวิจัยและวิทยากรหลายท่านเปิดเผยผลงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนม

ดร.ธำรงค์ศักดิ์ พลบำรุง เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา
ดร.ธำรงค์ศักดิ์ พลบำรุง เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา

ดังนั้น งานโคนมแห่งชาติปี 2567 จึงมีกิจกรรมสัมมนาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมด้วยงานวิจัย โดยมี ดร.ธำรงค์ศักดิ์ พลบำรุง เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา และมีวิทยากรที่เป็นอาจารย์ และนักวิจัยหลายคนเปิดเผยผลงาน เช่น คุณธงชัย ปอศิริ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรบุรี มีทักษะด้านพืชอาหารสัตว์กว่า 40 ปี และมีงานวิจัยมากมายโดยเฉพาะหญ้าแพงโกล่า หญ้าเนเปียร์ และถั่ว เป็นต้น

คุณวุฒิพันธ์  เนตรวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา ผู้ร่วมวิจัยกับ อสค.

ดร.สุกัญญา คำพะแย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ศบอ.) ท่าพระจังหวัดขอนแก่นเน้นหนักอาหารโค และกระบือ และมีผลงานด้านอาหารหยาบ อาหารข้น มากมาย และนักวิจัยจาก อสค.หลายคน เป็นต้น

งานวิจัยชิ้นแรกที่นำเสนอได้แก่ การศึกษาผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคลัมปีสกิน แม่โครีดนมต่อสมรรภาพการผลิตของฟาร์มโคนมรายย่อยของคณะวิจัย 8 คน นำเสนอโดย คุณอิสรนันท์  โคระนำ นายสัตวแพทย์5 สำนักงาน อสค.ตะวันออกเฉียงเหนือหรือ หมอแม๊ก ที่คนในวงการโคนมรู้จักดี

อสค.และสหกรณ์โคนม และนักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากเกษตรกร โครงการ มข.โคบาลอาสารักษาลัมปีสกิน

คุณอิสรนันท์ โคระนำ (หมอแม๊ก)

หมอแม๊ก เปิดเผยว่า งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ มข. อาสารักษาลัมปีสกิน ภายใต้การสนับสนุนของ อาจารย์ทะนงศักดิ์  บุญบำรุง นักออกแบบงานวิจัยและเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยมี คุณกิตตว์ธรรศ์ จิตต์มนัส หัวหน้ากองปัจจัยการเลี้ยงโคนม คุณคณาวิทย์  ปะทะโน หัวหน้ากองส่งเสริมการเลี้ยงคุณภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือท่าพระ คุณชยพล  แต้มครบุรี หัวหน้าแผนกส่งเสริมการเลี้ยงคุณภาพตะวันออกเฉียงเขต 4 นายนเรศ​  สิรินาวากุลหัวหน้าแผนกส่งเสริมการเลี้ยงคุณภาพตะวันออกเฉียงเหนือเขต 1 คุณจุฬานีย์ น่วมจิตร์ หัวหน้าแผนกผลิตน้ำเชื้อ คุณสันทน์สิริ  เหรียญทอง นักวิชาการประจำกองงานฟาร์มงานวิจัยดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ มข.โคบาลอาสารักษาลัมปีสกิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
สรนันท์ โคระนำ (หมอแม๊ก)
สรนันท์ โคระนำ (หมอแม๊ก)

นอกจากงานวิจัยยังได้รับความร่วมมือจากพนักงาน อสค.และสหกรณ์โคนม และนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากเกษตรกรซึ่งก่อนการลงพื้นที่ได้ประชุมอบรมนักวิจัยการออกแบบคำถามในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2564 ภาคอีสานเจาะเข้าไปใน 7 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบได้แก่ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบน้ำหมื่น และศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบพังทุย อำเภอน้ำพอง ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบกระนวน และศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบส่วนกลาง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบศรีธาตุ ศูนย์รวบรวบน้ำนมดิบทุ่งฝนและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบหนองวัวซอ

โคที่ได้รับผลจากลลัมปีสกิน
โคที่ได้รับผลจากลลัมปีสกิน

ภาคใต้  1 ศูนย์ ได้แก่ สหกรณ์โคนมประจวบฯ และสหกรณ์โคนมเพชรบุรี ทั้งหมดจะต้องมีฟาร์มให้ข้อมูล

71 แห่ง จำนวนโค 4,060 ตัว แต่ปรากฏว่าโคตายเพราะโรคลัมปีสกิน 136 ตัวใน 16 ฟาร์ม ราคาน้ำนมดิบช่วงนั้น 18 บาท ปริมาณน้ำนมช่วงเช้าเฉลี่ย 184 ลิตร บ่าย 117 ลิตร/ฟาร์ม คุณภาพน้ำนมต่ำจึงถูกตัดราคา เรื่องโคตายจะต้องได้รับเงินชดเชยจากรัฐ ในฐานะนายสัตวแพทย์คุมฟาร์มหมอแม๊กพยายามทำเรื่องให้ได้รับเงินชดเชยปรากฎว่า 2 ตัวแรกได้รับแต่หลังจากนั้นจะต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ค่อยเจอไปหานายอำเภอได้รับคำตอบว่าไม่มีกองทุน เกษตรกรจึงเดือดร้อนเพราะเมื่อโคตายต้องขุดหลุมฝังอย่างเดียวค่าขุดก็แพงดังนั้นเมื่อโคเริ่มป่วยก็รีบขนย้ายออกจากฟาร์มทำให้จำนวนโคทะลุถคง 1,548 ตัว หรือ 90% ถามว่าทำไมแม่โครีดนมป่วยมากก็เพราะช่วงนั้นต้องรีดเยอะเพราะกำลังคลอดใหม่ๆ

เรื่องโรคระบบสืบพันธุ์ผิดปกติรังไข่เล็กของแม่โค

แม่โค
แม่โค

หลังจากโคฟื้นจากป่วย ส่วนการแท้งลูกมีตลอดทุกระยะส่วนสูตรรักษามีมากไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางคนสั่งซื้อยาชุดออนไลน์ อย่างไรก็ดีงานนี้มี อาจารย์ชัยวัฒน์ จรัสแสง ได้อบรมเกษตรกรที่ศูนย์ต่าง ๆ ในเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้อง การหมดเงินไปกับการรักษาโคจนต้องสูญเสียรายได้จากการขายนมเฉลี่ยฟาร์มละ 38,000 บาท วัวตายตีราคาตัวละ 50,000 บาท ค่ายาเฉลี่ยฟาร์มละ 18,000 บาท ซึ่งหลายๆ ประสบการณ์ตั้งแต่โคเป็นโรคก็เกิด “ความพร้อม” ในการรับมือกับโรคโดยเฉพาะ ยาสมุนไพร ของราชมงคลสกลนครที่ฉีดพ่นรักษาแผลได้ผลดี นอกจากนี้ยังพบสาเหตุของการไม่แยกคอกโคให้ชัดเจนระหว่างคอกแม่โค ลูกโค ทำให้การระบาดของโรคได้ไวและช่วงนั้นไม่มี “วัคซีน” แต่วันนี้ทางกรมปศุสัตว์จัดให้ปีละ 2 ครั้ง ส่วนพืชอาหารสัตว์ได้รับการสนับสนุนพันธุ์หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อน แต่หญ้าแห้งเป็นบางฟาร์มที่หาได้ ส่วนฟางข้าวช่วงนั้นขาดมากราคาก้อนละ 70-80 บาท ปีนี้จึงได้ทำ อาหาร TMR ใช้เองหรือซื้อมาใช้

รูปประกอบ

คุณวุฒิพันธ์ ได้ตั้งคำถามว่าช่วงนั้นมีการพักส่งนม 9 รายใน 100 รายใช่มั้ย หมอแม๊ก ตอบว่า โคที่ได้รับการรักษาหลักจากฉีดยาเข็มสุดท้ายไม่ได้ส่งนมกี่วันก็จะได้เงินตามจำนวนนมที่เคยส่งเช่น ลิตรละ 20 บาท จะถูกตัดเหลือลิตรละ 18-19 บาท เพราะโคที่เป็นโรคลัมปีสกินจะมี โซมาติกเซลล์ สูงทุกตัวหลังจากหายแล้ว แต่ถ้ายังไม่หายน้ำนมไม่ไหลก็ต้องคัดทิ้ง ยกเว้นแม่โคบางตัวหายแล้วกลับมาให้น้ำนมดี แต่มีน้อยส่วนใหญ่ไม่ดีทั้งระบบสืบพันธุ์และเต้านม

มีคำถามจากอาจารย์ของ มหาวิทยลัยราชภัฏมสารคามว่าการที่หมอเข้าไปช่วยตอนนี้เกษตรกรพร้อมจะต่อสู้กับ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลัมปีสกินมั้ย มีความรู้มั้ย และมีแผนการรักษาอย่างไร คุณหมอแม๊ก ตอบว่า เกษตรกรมีความรู้เรื่องลัมปีสกิน

มากขึ้นเพราะเขาได้สัมผัสด้วยตัวเองตั้งแต่แรกและได้รับการอบรมจากอาจารย์ชัยวัฒน์ทุกฟาร์ม แม้แต่วัคซีนก็ฉีดเองได้ยกเว้นเด็กหรือคนสูงอายุอยู่ในฟาร์มก็มีเจ้าหน้าที่ฉีดให้และการรักษาก็ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น พอเห็นป่วยปั๊บก็รีบให้ยาลดไข้ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ดร.ธำรงศักดิ์ ถามว่า น้ำนมดิบที่เข้าศูนย์ อสค. ทั้งประเทศลดลง 25% เพราะลัมปีสกินหรือย่างอื่นร่วมด้วย

คุณหมอแม๊ก ให้ความเห็นว่าไม่ใช่ น่าจะมาจาก “อาหารโค” ราคาสูงขึ้นเพราะการเลี้ยงโคนมต้องใช้อาหารข้นเป็นหลักต่างจากเมืองนอกที่มีอาหารหยาบต้นทุนการเลี้ยงโคนมจึงต่ำ

การเฝ้าระวังและควบคุมระดับโซมาติกเซลล์ในถังของฟาร์มที่ผลิตน้ำนมดิบ

รูปประกอบ

คุณรัชมินทร์ แก้วสิงห์คำ นักส่งเสริม 5 กองส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตอนล่าง อสค. ได้นำเสนอหัวข้อการเฝ้าระวังและควบคุมระดับโซมาติกเซลล์ในถังของฟาร์มที่ผลิตน้ำนมดิบพรีเมียมโดยได้ขอบคุณ อสค. คณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CPF และ ดร.ธำรงศักดิ์ พลบำรุง ที่ร่วมทำวิจัยเรื่องนี้เพราะ โซมาติกเซลล์ เป็นเรื่องสำคัญทำยังไงให้ลดลงเพื่อให้ได้น้ำนมดิบมาตรฐานพรีเมียมจึงเป็นงานท้าทายในยุค FTA ซึ่งการตั้งเป้า 300,000 เซลล์ ต้องใช้ฝีมือเพราะจะต้องป้องกันมิให้เกิดโรคเต้านมอักเสบในแม่โครีดนม “ จะต้องมีขบวนการเฝ้าระวัง และควบคุมโซมาติกในถังรวมตลอดจนการควบคุมวางแผนจัดการฟาร์มสุขภาพเต้านมให้มาตรฐาน” คุณรัชมินทร์เปิดประเด็น โดยจะต้องวิเคราะห์หาระดับเซลล์โซมาติกที่เกิดจากเต้านมอักเสบ ค้นหาเชื้อที่มีผลต่อการดื้อยาปฏิชีวนะต้องให้เกษตรกรควบคุมไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสัตวแพทย์เจ้าหน้าที่ส่งเสริมในพื้นที่ โดยเลือกกลุ่มฟาร์มเป้าหมายหัวไวใจสู้เข้าร่วมวิจัยได้จำนวน 13 ฟาร์ม ในเขตของ สหกรณ์โคนมแม่วาง เชียงใหม่ ระยะเวลา 1 ปี เริ่มตุลาคม 2564 – มกราคม 2565 เก็บตัวอย่างน้ำนมดิบในฟาร์มเดือนละครั้ง จากนั้นก็นำมาทดสอบด้วยน้ำยา CMT แล้วให้แลปของคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิเคราะห์ ยาปฏิชีวนะ 10 ชนิดถูกนำมาทดสอบว่ามาจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สอดเต้านมเพื่อหาชนิดของเชื้อ แบคทีเรีย ของโรคเต้านมอักเสบและผลของความชุกของเชื้อความไวและการดื้อยาปฏิชีวนะโดยมีแม่โครีดนม 99 ตัว 132 ตัวอย่าง ผลการดื้อยา 71 ตัวอย่าง และระดับความไวต่อยาแบ่งเป็น 1. ไวต่อยา 2. ไวกว่ายา 3. ดื้อยา

ผลปรากฏว่ากลุ่มฟาร์มแม่วางอยู่ในกลุ่มเชื้อที่มาจากสิ่งแวดล้อม 52.9% เชื้อฉวยโอกาส 24.1% และเชื้อติดต่อระหว่างโค 12.6% เชื้อรา 8% และยีสต์ 2.3% การทดสอบความไวของยาพบว่ายาที่ความไวสูงสุด 5 ตัวหลักไวมากกว่า 80% จึงสรุปได้ว่าโรคเต้านมอักเสบในฟาร์มรายย่อยของสหกรรณ์โคนมแม่วาง เชียงใหม่  มาจากเชื้อสิ่งแวดล้อม เชื้อก่อโรคแบบฉวยโอกาสและเชื้อติดต่อระหว่างโคที่สำคัญต้องเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมและความสะอาดเน้นสุขศาสตร์ การรีดนมเพิ่มขั้นตอนในการทำความสะอาดเต้านมและจุ่มเต้านมก่อนรีด เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเก็บน้ำนมดิบไปเข้าห้องแลปด้วยวิธีการอะไร

เก็บตัวอย่างนม

คุณอิสรนันท์  ถามถึงการเก็บน้ำนมไปเข้าห้องแลปด้วยวิธีการอะไร ก็ได้คำตอบว่า “การเก็บตัวอย่างเดือนละครั้งโดยการแบ่งทีมโดยพันธมิตรเป็น 2 ทีม ลงวันเดียวกันพอเราได้ตัวอย่างก็แช่น้ำแข็งส่งห้องปฏิบัติการวันนั้นเลย”

ดร.สุกัญญา ถามว่าโครงการโฟกัสไปที่นมพรีเมี่ยมที่มี SCG น้อยกว่า 3 แสน ผลการทดลองก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างไร คุณรัชมินทร์ ให้ความเห็นว่านมพรีเมียมคุณภาพ SCG ต่ำกว่า 3 แสน บางฟาร์มสำเร็จบางฟาร์มก็ล้มเหลวแต่เป็นการสร้าง “แนวทาง” ให้เกษตรกรทั้งการติดตามของสัตวแพทย์และการรีไวท์ตัวโครงการอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเฝ้าระวังนั่นเอง

คุณธงชัย ถามว่ามีวิธีการเลือกเกษตรกรหัวไวใจสู้อย่างไร?

กิจกรรมเก็บตัวอย่างนม
กิจกรรมเก็บตัวอย่างนม

คุณรัชมินทร์ กล่าวว่าการคัดกลุ่มเป้าหมายด้วยการประชุมกับคณะกรรมการสหกรณ์เพื่อให้เข้าใจว่าการเข้าร่วมโครงการจะได้อะไรแล้วเปิดรับสมัครจนเขาได้ความรู้ว่าเชื้ออะไรที่เกิดแล้วใช้ยาอะไรที่ถูกต้อง

งานวิจัยอายุการตัดและคุณค่าทางโภชนาการของตันทานตะวัน มีผลต่อปริมาณน้ำนมโคอย่างไร

คุณชนิกานต์ สุรนีย์(07)
คุณชนิกานต์ สุรนีย์

คุณชนิกานต์ สุรณีย์  และคณะนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมาได้นำเสนองานวิจัยเรื่อง ผลของอายุการตัดที่มีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของทานตะวันทั้งต้นและผลผลิตปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของการผลิตน้ำนมซึ่งการใช้ อาหารหยาบ คุณภาพดีมีผลต่อคุณภาพและปริมาณน้ำนมช่วยเพิ่มองค์ประกอบไขมันและโปรตีนให้มาตรฐานและต้นทุนต่ำ โดเฉพาะ ทานตะวัน ทั้งต้น

ทานตะวัน1

ต้นทานตะวัน
ต้นทานตะวัน

60-90 วันให้ได้โปรตีน 7-16 % ไขมันสูงกว่าต้นข้าวโพดได้ทดลองปลูก เดือนธันวาคม 2564 – มีนาคม  2565 จำนวน 16 แปลงย่อย ปลูกด้วยการหยอดเมล็ดพันธุ์ อะควอร่า6 ความงอก 80% ก่อนปลูกแช่น้ำ 12 ชั่วโมง

การหยอดเมล็ด
การหยอดเมล็ด

3 เมล็ด/หลุม ระยะปลูก 0.25 – 0.5 เมตร ใช้ปุ๋ยโคนมหมัก 2,000 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 50 กก. ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์ทุกวันๆละ 30 นาที อายุ 45 วัน ดอกบาน 60 วัน ติดเมล็ด 75 วัน เมล็ดแก่ และ 90 วัน เก็บเกี่ยว ในการเก็บข้อมูลทางกายภาพต้องวัดความสูงชั่งน้ำหนักวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นและดอก ส่วนผลผลิตต้องเก็บทั้งน้ำหนักสดและแห้งต้องสับต้นเป็นชิ้น ๆ  2-3 ซม. ผึ่งในร่ม 6 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้นจากนั้นก็นำ 1 กก. บรรจุถุงหมัก เอาอากาศออกให้หมดเก็บไว้ในร่ม 21 วัน แล้วสุ่มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อวิเคราะห์หาค่าได้แก่ วัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ ไขมัน เยื่อใยและอื่น ๆ อีก ตัวอย่างหมัก 30 กรัม เพื่อวิเคราะห์หาค่าไขมันที่ระเหยได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต่อไปดูเรื่องข้อมูลทางกายภาพของผลผลิตทานตะวันที่มีอายุตัด แตกต่างกัน ทั้ง 45 วัน ทั้ง 60 วัน หรือ

75 วัน หรือ 90 วันปรากฏว่า 60 วัน 75 วัน 90 วัน ให้ผลผลิต น้ำหนักแห้ง มากกว่า 45 วัน อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ผลวิเคราะห์ทางเคมีทั้งต้นก่อนหมักถ้าวัตถุแห้งมีแนวโน้มเพิ่มตามอายุ แต่ค่าโปรตีนลดลงเมื่อทานตะวันมีอายุการตัดเพิ่มมากขึ้น 45 วัน มีค่า โปรตีนหยาบ 15.40% สูงสุดแต่ค่า ไขมัน 75 วัน สูงสุดเท่ากับ 11.24%

แต่เยื่อใย 37.81 – 44.59 แต่ค่า PH ทุกระยะการตัด 5.49-6.89 หมักไม่ค่อยดี

ทานตะวันหมัก
ทานตะวันหมัก

สรุปได้ว่า การผลิตทั้งต้น เพื่อใช้เป็นอาหารหยาบควรตัดที่ 60-90 วัน จะได้น้ำหนักแห้ง 1,512.6-1,833.2 กก./ไร่ ปริมาณโปรตีนลดลงเมื่ออายุการตัดเพิ่มขึ้นปริมาณไขมันตัดที่อายุ 75 วัน มีค่าสูงสุด เยื่อใยชนิด ADF มีค่า 37.81-44.59% วัตถุแห้งจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทุกอายุของการตัดค่าวัตถุดิบแห้งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการทำพืชหมักตามมาตรฐานกองอาหารสัตว์ ปี  2567 ซึ่งจะต้องมีค่าแห้ง 25-35%  ข้อเสนอแนะก็คือควรวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีเป็นส่วนๆ สำหรับลำต้นดอกและใบ การผลิตทานตะวันหมักอาจต้องควบคุมความชื้นให้เหมาะสมโดยหมักรวมกับพืชตัวอื่นเพื่อเพิ่มกากน้ำตาลหรือจุลินทรีย์ หรือกลุ่มกรดแลคติกเข้าไป คุณธงชัย ให้ความเห็นเรื่อง ทานตะวันหมักว่าอาหารสัตว์สำหรับโคนมเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศที่เรียกว่า

ตัวอย่างวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี
ตัวอย่างวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี

“ อาหารขยะ” มีมากขึ้น และคุณวุฒิพันธ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่าพืชทดแทนทั้งหยาบ และทั้งโปรตีนไขมันสูง ใช้ทานตะวันทดสอบร่วมกับ อสค. ก็ต้องดูเรื่องความแม่นยำในการปลูกให้ได้คุณภาพและปริมาณ และเรื่องการย่อยก็ควรจะทำต่อไป แต่งานวิจัยเรื่องอายุการตัด ก็มีผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตภายใต้การสนับสนุนของ อสค.

ขอขอบคุณ : เนื้อหาและรูปภาพประกอบ จากงานโคนมแห่งชาติ ปี 2567

อ้างอิง :  นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 367 (เดือน สิงหาคม 2567)