เครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ
นวัตกรรมลดต้นทุนแรงงาน ฝีมือ ซี.บี ฟู้ดเทค และ สนช.
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนองตอบกับความต้องการของ อุตสาหกรรมด้านการเกษตรนั้น ยังคงได้รับการพัฒนาและถูกคิดค้นขึ้น เพื่อรองรับต่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ในแต่ละกิจกรรม แน่นอนว่าการใช้แรงงานมนุษย์ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการแทบทุกกิจการ แต่ในอุตสาหกรรมบางประเภท การใช้เครื่องจักรได้เข้ามาแทนที่ของมนุษย์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น มีมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งอาจต้องกับต้นทีสูงขึ้นบ้าง แต่สามารถตอบโจทย์และได้รับทุนคืนได้ในเวลาไม่นาน
[wpdevart_like_box profile_id=”SadnamTH” connections=”show” width=”300″ height=”160″ header=”small” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]
วันนี้เองที่ บริษัท ซี–บีฟู้ดเทค จำกัด ได้พัฒนาและผลิต เครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ ออกมาเพื่อสนองความต้องการของ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล อย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด ( มหาชน) ที่ถือเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมแปรรูปหารทะเลของไทย ซึ่งเครื่องดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นได้จากความคิดของ คุณ ทวีศักดิ์ วรรณาทิพย์นาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ซี–บีฟู้ดเทค จำกัดโดยได้รับเงินสนับสนุน ในการพัฒนาเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัตินี้ จากทางสนช. หรือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) : [ NIA ]ในรูปแบบโครงการ แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน
โดย ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำ ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์และร่วมพูดคุยกับคุณทวีศักดิ์เจ้าของไอเดียผู้ริเริ่มนวัตกรรมดังกล่าวเพื่อเก็บข้อมูลนำมาฝากผู้อ่านทุกท่านให้ได้ติดตามกัน
จากที่เราได้กล่าวมาในข้างต้นถึงเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติทีมงานจึงได้ขออนุญาตสอบถามคุณทวีศักดิ์เพิ่มเติมถึงที่มาของเครื่องจักรตัวนี้ซึ่งคุณทวีศักดิ์ได้กล่าวย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของตนเองว่าหลังจบจากคณะวิศวกรมศาสตร์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ทางด้านอุตสาหกรรมจึงได้ไปทำงานกับบริษัทด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สหรัฐอเมริกาและเยอรมันซึ่งจากที่ได้ไปทำงานในหลายๆที่มาแล้วตนจึงได้มีโอกาสติดต่อกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นเพื่อจะนำเครื่องจักรอุตสาหกรรมทางด้านการแปรรูปอาหารเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยจะเป็นเครื่องแปรรูปอาหารประเภทต่างๆซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ
“ เครื่องจักรดังกล่าวที่รับเข้ามานั้น เกิดปัญหาในการทำงานค่อนข้างมาก และประสิทธิภาพของเครื่องยังไม่ดีพอสำหรับผู้บริโภค ถึงแม้จะได้รับการปรับปรุงจากบริษัทที่ญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาแก้ไขเครื่องให้หลายต่อหลายครั้งแล้วก็ตาม ”คุณ ทวีศักดิ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเริ่มต้นที่จะผลิตนวัตกรรมเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ
ที่มาและจุดเด่นของนวัตกรรมเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ ฝีมือคนไทย
จากเรื่องราวที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณทวีศักดิ์มีความคิดที่จะผลิตเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติที่สามารถนำมาใช้ได้จริง และมีประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนของผู้ประกอบการแปรรูปอาหาร ไม่เหมือนกับเครื่องที่รับเข้ามาจากญี่ปุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งโครงการ การผลิตเครื่องดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ในปี 2 5 5 4โดย คุณทวีศักดิ์ได้นำแนวคิดนี้ไปปรึกษากับทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยมีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทในด้านการออกแบบและปรับปรุงชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักรโดยใช้ต้นแบบจากเครื่องที่รับมาจากญี่ปุ่นนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น
โดยจุดเด่นของเครื่องดังกล่าวประกอบด้วยมีดตัดคมที่หมุนจากด้านล่างของแม่พิมพ์ลำเลียงกุ้งเพื่อการบั้งข้อต่อกุ้ง อีกทั้งยังได้มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ ( photoeletric sensor ) ในการวัดขนาดตัวกุ้ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปยังระบบ PLC เพื่อประมวลผลระยะห่างระหว่างโรลเลอร์กดกับแม่พิมพ์วางกุ้งจึงทำให้สามารถปรับให้แรงในการกดยืดกุ้งได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้กุ้งที่ได้จะมีขนาดเท่ากันทุกตัวโดยเนื้อกุ้งไม่ขาดออกจากกัน
นอกจากนี้ยังได้มีการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์นับจำนวน ( counter sensor ) ตลอดจนชุดคีบหางกุ้งเพื่อส่งต่อไปยังชุดสายพานของกระบวนการอื่นต่อไปอีกด้วย ซึ่งเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัตินี้ยังประสบความสำเร็จโดยได้รับรางวัล นวัตกรรมยอดเยี่ยม ในสาขาการเกษตรและเกษตรแปรรูปจากสมาคมเครื่องจักรไทยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ อีกทั้งยังได้รับเลือกให้นำเครื่องไปจัดแสดง ในงาน Paimex Thailand 2016 อีกด้วย
นวัตกรรมสำเร็จได้ ด้วยไอเดียและเงินทุน
ในระหว่างที่กำลังพัฒนาเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติคุณทวีศักดิ์ได้มีโอกาสไปร่วมงานของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งภายในงาน มีการออกบูธจากบริษัทแปรรูปอาหารหลากหลายบริษัท ซึ่งหนึ่งในบูธที่ได้มาจัดแสดงในงานดังกล่าวคือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณทวีศักดิ์ได้มีโอกาสพูดคุยถึง นวัตกรรมเครื่องบั้งและยืดกุ้ง อัตโนมัติ โดยได้นำเสนอเพื่อขอทุนสำหรับนำมาพัฒนาเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทาง สนช.ก็ได้ให้ความสนใจจึงได้ให้การสนับสนุนกับทางบริษัท ซี–บีฟู้ดเทค จำกัดในโครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน
โดยทาง สนช. ให้การช่วยเหลือเงินทุน เป็นจำนวน 5 0 % จากปริมาณเงินทุนทั้งหมดและมีเงื่อนไขว่าต้องพัฒนาเครื่องต้นแบบให้สำเร็จและใช้งานได้ภายในระเวลา 1 ปีครึ่งซึ่งจะมีการติดตามผลจากทาง สนช.ทุก 4 เดือน ซึ่งทางสนช.จะมีการให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับทาง บริษัทอยู่เสมอ
คุณทวีศักดิ์ได้กล่าวถึงความประทับใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน ของสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติว่า “ การพัฒนานวัตกรรม ให้สามารถเกิดขึ้นได้จริงนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ต้องมีสุดยอดไอเดียอยู่กับตัว แต่ต้องมีเงินทุนที่จะสามารถนำมาสร้างนวัตกรรมให้สำเร็จเป็นชิ้นออกมาได้ ซึ่งตรงนี้ ทาง สนช. ได้เข้ามาตอบโจทย์ทั้งในด้านของเงินทุน และการให้คำปรึกษาต่าง ๆ จนทำให้ เครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ ฝีมือคนไทย สามารถเกิดได้จริง ๆ ”
เปลี่ยนผ่านยุคแรงงานคนสู่การแปรรูปด้วยเครื่องจักร
นอกจากจะเป็นนวัตกรรมที่ได้เข้ามาตอบโจทย์การนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศแล้ว เครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติยังสามารถเข้ามาแก้ปัญหาด้านแรงงานผิดกฎหมาย ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งจะสามารถลดปริมาณการใช้แรงงานมนุษย์ลงไปได้เป็นอย่างงมาก ซึ่งเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ นี้จะสามารถบั้งและยืดกุ้งได้ถึง 6 , 0 0 0 ตัว / ชม. และเมื่อเทียบกับการใช้แรงงานมนุษย์แล้ว ถือว่าเครื่องนี้สามารถทุ่นแรงงานคนลงไปได้ถึง 1 0 – 1 5 คน โดยในโรงงานแปรรูปอาหารจะใช้กุ้งถึงวันละ 5 – 1 0 ตัน / วัน และเครื่องจักร 1 ตัว จะสามารถ แปรรูปได้ วันละ 1 ตัน ถ้าคิดเป็นเวลาทำงานสามารถทุ่นแรงได้ถึง 2 กะ
แผนการตลาด และ การวางจำหน่ายเครื่อง
คุณทวีศักดิ์ กล่าวต่อไปว่าปัจจุบันทาง บริษัทได้เริ่มจำหน่ายเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัตินี้ ออกไปแล้วกว่า 10 เครื่องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศและยังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการจากอีกหลากหลายประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารแปรรูปประเภทกุ้งไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่นจีนและเวียดนามซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะสามารถนำเครื่องดังกล่าวไปวางจำหน่ายในกลุ่มประเทศเอเชียเป็นหลัก
ปัจจุบัน ได้รับการติดต่อจากประเทศจีน เพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรของทางบริษัท ซึ่งราคาจำหน่ายเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัตินี้ สงวนราคาอยู่ที่ 2 – 3 ล้านบาท / เครื่อง ถือว่าไม่ได้แพงจนเกินไป แต่มีคุณภาพทั้งในด้านของตัววัสดุที่กว่า 90% จะใช้วัสดุจากบริษัทในไทยเองโดยใช้ของที่มีคุณภาพ อีกทั้งการพัฒนาระบบควบคุมและกลไก ให้สามารถเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดว่า จะสามารถจำหน่ายได้มากขึ้นอีกเมื่อเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โดยวางเป้าหมายไว้ว่า จะสามารถจำหน่ายได้ถึง 2 0 – 3 0 เครื่อง / ปี โดยมีตลาดต่างประเทศเป็นหลัก
ในประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 3 0 % นอกจากเครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติแล้ว ทางบริษัท ยังมีการจัดจำหน่ายเครื่องชุบแป้ง และเครื่องทอดกุ้งเทมปุระ สำหรับอุตสาหกรรม แบบครบวงจรซึ่งสามารถนำมาประกอบเข้ากับเครื่องบั้งและยืดกุ้งได้ ทำให้ประหยัดเวลาในการผลิตลงไปได้อีก ปัจจุบัน คุณทวีศักดิ์ยังได้พัฒนาเครื่องถอดหัวกุ้ง เพื่อแก้ปัญหาการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย และตอบโจทย์ให้กับอุตสาหกรรมล้งกุ้ง ที่ตอนนี้ถือว่าเป็นปัญหาหลักในอุตสาหกรรมการส่งออกกุ้งของไทย ที่กำลังขาดแคลนแรงงานในการผลิต
โดยโครงการนี้คุณทวีศักดิ์คาดว่าจะของบสนับสนุนจาก ทาง สนช. ในโครงการ นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย อีกเช่นเคย โดยในเบื้องต้นได้เข้าไปปรึกษากับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อพัฒนาเครื่องตัวนี้และคาดว่าจะสำเร็จในเวลาไม่นานนี้อีกเช่นกัน
หากผู้ประกอบการท่านใด สนใจสามถามข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ เครื่องบั้งและยืดกุ้งอัตโนมัติ หรือเครื่องแปรรูปอาหารประเภทอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ซี–บีฟู้ดเทค จำกัด เบอร์โทรศัพท์ 0 – 2 9 1 9 – 4 3 6 1 – 3 หรือที่เว็บไซต์ www.cbfood-tech.com