งานสัตว์น้ำไทยตะวันออก 67
เน้นนวัตกรรมการผลิตพิชิตโลกเดือด
สภาวะโลกเดือด (Global Boiling) กระทบต่อการดำรงของ “ โลกชีวภาพ ” ที่อยู่ในน้ำ ในอากาศ และ
ในดิน จนหลายสายพันธุ์กับล่มสลายตาม กฎอิทัปปัจจยตา (เกิดดับตามเหตุปัจจัย) เป็นไปตามกลศาสตร์ควอนตัม
ธันวาคม 2564 หรือเมื่อ 23 ปีที่แล้ว พายัพ ยังปักษี บรรณาธิการอำนวยการ นิตยสารสัตว์น้ำ ได้จัด
สัมมนาเชิงยุทธศาสตร์ “ อุตสาหกรรมกุ้งชีวภาพ ” ด้วยการเชิญผู้ผลิต ไบโอเทค หลายผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยง “ กุ้งดำ ” 22 บริษัท นำโดย ซีพีเอฟ มาสนับสนุนการจัดงานได้เชิญเกษตรกรหลายจังหวัดมาร่วมงาน พร้อมอภินันท์หนังสือมาตรฐานปกแข็ง ชื่อ “ กุ้งชีวภาพ ” กว่า
800 คน ณ ห้องประชุมตึก 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ปรากฏว่าหลังงานมีการพลวัตรเข้าสู่การเลี้ยงกุ้งชีวภาพหลายจังหวัด
ปรากฏว่าวันนี้ “ กุ้งดำ ” ค่อย ๆ กลับมาขายตัวละ 100 บาท ลุยตลาดในประเทศ และ ส่งออกบ้าง แต่ “ กุ้งขาว ” และ ก้ามกราม อยู่ในฐานะประคองตัว
ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎอิทัปปัจจยตา แต่การที่จะรักษาสถานะให้นานที่สุด เป็นไปตาม กฎธรรมฐิติ (การดำรงอยู่ทางธรรมชาติ) ต้องอยู่บนฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มี “ ธรรมชาติ ” หรือ “ ธรรมนิยม ” รองรับ การปฏิเสธวิทยาศาสตร์ ก็คือการใช้ มิจฉาทิฐิ มาปฏิบัติด้วยการคาดเดา หรือ โชคชะตามากำหนดมักจะผิดพลาดเสมอ การเกิดและการโตของลูกกุ้งแต่ละแบรนด์ล้วนมี ที่มา ซึ่งต้องสัมพันธ์กับ ที่ไป หมายถึง สภาพบ่อดิน หรือ กระชัง ในน้ำจะต้องสัมพันธ์กันทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรื่องนี้ ดร.ยอดยิ่ง เทพธรานนท์ ได้เขียนเป็นคัมภีร์ไว้ยุคนั้น “ อาจารย์ ต้อย ” นำไปปฏิบัติอย่างได้ผล ที่สามร้อยยอด
ต้องยอมรับว่า“ ชาวกุ้ง ” หลายจังหวัดขยันในการจัดสัมมนา และจัดตั้ง องค์กร เช่น ชมรม สมาคม สมาพันธ์ และ สหกรณ์ เข้าไปมีบทบาทในภาครัฐ (บอร์ดกุ้ง) แต่ละรัฐบาล แต่ผลลัพธ์ทางวิทยาศาสตร์ผลผลิต กุ้งขาว ทรุดส่งออกน้อยลง ติดต่อกันหลายปี
โมเมนตัม นี้ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่า “สอบตก” ใช่หรือไม่ ??
ล่าสุด ผมมี “ โอกาส ” ไปฟังการแถลงข่าวของ สมาคมกุ้งตะวันออก ที่มี คุณสมประสงค์ เนตรทิพย์ เป็นนายก เพื่อจะจัดงาน THAIAQUA EXPO 2024 ในวันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ลากูนโฮเทล แอนด์กอล์ฟ ฉะเชิงเทรา
คณะกรรมการจัดงานประกอบด้วย สมาพันธ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย โดยมี คุณบรรจง นิสภวาณิชย์ เป็นประธาน นายกสมาคมกุ้งตะวันออก คุณสมประสงค์ เนตรทิพย์ นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย คุณสุทธิ มะหะเลา ได้เชิญ นายคนึง คมขำ ประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา มาร่วมแถลงข่าว ปรากฏว่า “ วัตถุประสงค์ ” ในการจัดงานบรรลุเป้า
วัตถุประสงค์ที่ร่วมกันจัดงาน THAIAQUA EXPO 2024 ระหว่างวันที่ 2-4 ธ.ค 67
เนื้อหาเรื่องแรกพุ่งเป้าไปที่ “ ภัยคุกคาม ” ระบบการผลิตและการตลาดให้พังทลาย คุณคนึง ยืนยันว่า สภาวะโลกร้อน สภาพอกาศแปรปรวน ฝนตกน้ำท่วม Rain Bomb มีผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งโดยตรง ดังนั้น กรมประมง จึงต้องให้ความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการขึ้นทะเบียนฟาร์ม และ การรับรองมาตรฐานฟาร์ม เป็นต้น สอดคล้องกับข้อคิดเห็นของ คุณสมประสงค์ เนตรทิพย์ นายกสมาคม ที่ยืนยันว่า โรค TPD อันตรายมาก ๆ แม้ไม่พบการระบาดในไทยก็ต้องให้ความรู้ เพื่อหาแนวทางป้องกัน เพราะมันรุนแรงกว่า EMS หลายเท่าตัว
เรื่องที่ 2 การแสวงหาพันธุ์สัตว์น้ำใหม่ ๆ เช่น กรมประมงได้ผลิต กุ้งก้ามกราม และ ปลานิล ออกมานำเสนอในงาน ก็เป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาสให้อุตสาหกรรมเดินหน้านั่นเอง
เรื่องที่ 3 จับมือกับ 6 องค์กร ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมประมง มหาวิทยาลัยราชมงคลบางพระ สมาคมผู้ค้าปัจจัยการผลิต และ สมาคมกุ้งตะวันออก ยกร่าง หลักสูตร การเลี้ยงกุ้ง เพื่ออบรมผู้เลี้ยงเชิงปฏิบัติการแล้วออกใบประกาศให้ผู้สอบผ่านหลักสูตร เป็นการสร้าง
“ บุคลากร ” ในการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืน
เรื่องที่ 4 ร่วมมือกับสมาคมแช่เยือกแข็งไทย เพื่อให้ออกปฏิทินการซื้อ ไซซ์กุ้ง และ ราคากุ้ง แต่ละ
ห้องเย็น ที่เป็นสมาชิกของสมาคมเพื่อให้เกษตรกรผลิตกุ้งไซซ์ที่ห้องเย็นต้องการ
ทั้ง 4 เรื่องที่ คณะกรรมการจัดงาน เปิดแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ลากูน
โฮเทล แอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ล้วนมีสารัตถะ และความเป็นไปได้
เป้าหมายการผลิต กุ้งดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม และปลากระพงขาว ปลานิล และ ปูทะเล ในภาคตะวันออก อยู่ที่การส่งออกเป็นหลัก โดยมอบ “ ภารกิจ ” ให้สมาคมแช่เยือกแข็ง เป็นผู้ขับเคลื่อนเรื่องกุ้ง แต่ ปลานิล และ ปลากะพง ยังกระจุกอยู่ในประเทศเป็นหลัก เพราะทั้ง 2 ชนิดยังไม่เป็นปลาเศรษฐกิจเพื่อส่งออกเต็มรูปแบบ
คำถามคือหลังจัดงาน จะบูรณาการบริษัทผู้ค้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย มาเป็น มิตรร่วมรบ
ในอุตสาหกรรมต้นน้ำอย่างไร ภายใต้การสนับสนุนจาก รัฐบาลไทย ที่ยังไม่ลึกซึ้ง เรื่อง คุณค่า และมูลค่า สัตว์น้ำโปรตีนสะอาดที่มนุษย์ต้องบริโภค ??
ในนามเลขาธิการ สมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ (สพส.) และที่ปรึกษา นิตยสารสัตว์น้ำ เว็ปไซต์
พลังเกษตร.com ขอเป็นผู้สังเกตการพลวัตรของ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย ในบริบทโลก ที่เคลื่อนไหวด้วยกลศาสตร์ควอนตัม
สนับสนุนโดย : บรรจงฟาร์ม โทร. 081-636-6362
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับ 422/67 (ต.ค 67)