การปลูกพริก :
เรื่องราวของพืชเศรษฐกิจที่ว่ากันว่าปลูกมากได้มากแต่ก็มีหลายครั้งที่ทำมากแต่ก็ได้น้อยด้วยข้อกำหนดของราคาที่บางครั้งเกษตรกรไม่สามารถกำหนดกฏเกณฑ์เองได้
พืชหลายอย่างเมื่อปริมาณการปลูกมีมากราคาในตลาดก็ลดลงตามหลักของอุปสงค์อุปทาน ตัวอย่างมีให้เห็นในปัจจุบันก็หลายอย่าง ข้าวโพด อ้อย หรือล่าสุดคือยางพารา ที่ทุกวันนี้ก็ยังเป็นปัญหาและดูท่าว่าจะแก้ยากเอามากๆด้วย
หากจะจับเอาแค่กลุ่มอาหารที่มองว่าจะผันตัวเองมาเป็นพืชเศรษฐกิจได้ เรื่องราวของ “ พริก ” จึงน่าสนใจ เพราะปัจจุบันตลาดต่างประเทศเองก็หันมาบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของพริกกันเป็นจำนวนมากเพราะตามหลักโภชนาการแล้วพริกมีสารอาหารที่สำคัญอยู่หลายอย่างการรับประทานพริกจึงไม่ได้ช่วยในเรื่องการเพิ่มรสชาติอาหารเท่านั้นแต่ร่างกายยังได้ประโยชน์อย่างเต็มที่เหมือนที่ในประเทศอังกฤษเองเคยมีข่าวรณรงค์ให้คนกินพริกเพื่อลดความอ้วนกันเลยทีเดียว
ในบ้านเราพริกก็เป็นพืชสมุนไพรตัวหนึ่งที่คุ้นเคยกันมานาน หลายคนก็มองเห็นช่องทางธุรกิจที่ดีจึงมีทั้งที่รวมตัวกันเพื่อแปรรูปพริกให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือถ้าเป็นการทำในเชิงพาณิชย์ การปลูกพริก ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสดใสอย่างมากในขณะนี้
เทคนิค การปลูกพริก ให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพตามที่โรงงานต้องการ
1.เริ่มตั้งแต่การเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่วิจัยและพัฒนาโดยบริษัทเพื่อนเกษตรกรจำกัดหลังจากได้เมล็ดมาก็มาแช่น้ำอุ่นประมาณ 3 ชม.จากนั้นเอามาห่อผ้าขาวบางให้สะเด็ดน้ำแล้วทิ้งไว้ 3-4 วันจึงจะเริ่มงอก
2.หลังจากเริ่มงอกก็มาวัสดุปลูกในที่นี้คือ “ดินมีเดีย” ซึ่งเป็นวัสดุเพาะต้นกล้าที่ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพราะมีสารอาหารพร้อม หมดปัญหาเรื่องวัชพืชขึ้นรบกวน ดินมีเดียตัวนี้สามารถเลี้ยงต้นกล้าอ่อนได้ประมาณ 35 วัน 1 ถาดสามารถเพาะเม็ดพันธุ์ต้นกล้าได้ 104 ต้น ประมาณ 35 วันก็พร้อมลงแปลงต่อไป
3.ระหว่างที่รอกล้าเติบโตก็จะเริ่มเตรียมดินไถแปลงหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จพอดีก็เป็นกิจกรรมของชาวบ้านที่เริ่มเปิดหน้าดิน ไถผาน 3 ผาน 7 แล้วแต่ความเหมาะสมของเกษตรกร ทำดินกลับไปกลับมาแล้วใช้รถปั่นทำให้ดินละเอียด และยกแปลงสำหรับปลูก ความกว้างประมาณ 1.50 เมตร มีพลาสติกคลุมแปลง จะเหลือบนสันแปลงที่จะปลูกประมาณ 1.20 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นคือ 55 เซนติเมตร เพื่อให้มีทิศทางในการระบายอากาศ ก่อนปลูกก็มีการหว่านปุ๋ยรองพื้นเป็นสูตร 15-15-15
4.หลังจากเอากล้ามาลงในแปลงแล้ววันรุ่งขึ้นก็เริ่มให้น้ำประมาณ 7 วัน พอประมาณ 10 วันก็เริ่มฉีดยากันพวกเพลี้ย เชื้อรา หนอน มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ใช้ตามระยะการเจริญเติบโต อย่างในระยะเล็ก จะใช้ยาป้องกันเพลี้ย เพราะเพลี้ยจะมาดูดน้ำเลี้ยงทำให้ยอดหงิก และก็จะมีหนอนรัง ตามที่ชาวบ้านเรียกพวกนี้จะอยู่เป็นกลุ่มจะคอยกินใบต้องคอยฉีดยาทุก 10 วันจากนั้นก็ให้น้ำไปเหมือนเดิม
5.ประมาณ 30-40 วันพริกเริ่มติดดอกเริ่มมีการให้ปุ๋ยสูตรเร่งดอกให้พริกดกปุ๋ยนี้สูตรตัวกลางเยอะ ชาวบ้านเรียก “ปุ๋ยดก”ใส่ไร่ละ 1 ลูก ทิ้งระยะจากตรงนี้ไปประมาณ 30 วันจะเริ่มติดเม็ดพริก ตอนนี้พริกต้องการสารอาหารจากปุ๋ยที่มีตัวท้ายสูงเพื่อให้พริกน้ำหนักดี สีดี ใส่ปุ๋ยโรยในร่อง ฉีดยาและให้น้ำ ยาที่ใช้พวกนี้ก็คือกันแมลง เชื้อรา และพวกธาตุอาหารเสริม พอประมาณ 120 วันจะเริ่มแดง เริ่มเก็บมาเรื่อยๆ นับไปประมาณ 2 เดือนเวลาในการเก็บคือ 1อาทิตย์/ครั้ง ใน 1 แปลงจะเก็บอยู่ประมาณ 8 ครั้ง 2 เดือนถือว่าจบ 1 ครอปพอดี (ระยะเวลาเริ่มเพาะกล้าประมาณกลางเดือนตุลาคม จนถึงเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม) หลังจากนั้นก็จะเว้นวรรคไปสู่การทำนา หลังจากทำนาก็จะวนเวียนกลับมาทำพริกเป็นวัฏจักรอย่างนี้เรื่อยไป
ศึกษาเรื่องอุตสาหกรรม “ พริก ” ที่มีการเจริญเติบโตอย่างเงียบๆ
หลังจากที่หยุดเรื่องการปลูกแตงโม เป้าหมายในการส่งเสริมพืชตัวต่อไปต้องอยู่ในกลุ่มพืชอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นพืชตลาดเพราะถ้าเป็นพืชตลาดเวลาที่ผลผลิตมีมากราคาก็จะตกเกษตรกรก็อยู่ไม่ได้นอกจากนี้ก็ต้องมองถึงตลาดต่างประเทศว่าต้องเป็นพืชที่ผลิตในประเทศแล้วได้คุณภาพดีกว่าต่างประเทศราคาถูกกว่าเพื่อผู้ประกอบการจะได้สั่งซื้อวัตถุดิบเหล่านี้จากในประเทศมากขึ้น
สุดท้ายก็พบว่า “พริก” เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเติบโตและมีการส่งออกไปต่างประเทศในลักษณะการแปรรูปเรื่องของพริกเมื่อศึกษาอย่างจริงจังก็พบว่าจะเกี่ยวข้องทั้งโรงงานอุตสาหกรรมบริษัทเมล็ดพันธุ์ บริษัทปุ๋ยยา รวมถึงเกษตรกร ความต่างอีกอย่างของเรื่องนี้คือช่องว่างระหว่างเกษตรกรกับโรงงาน เพราะโรงงานต้องการพริกแต่ไม่รู้จะเอาจากที่ไหนในปริมาณที่มากและได้คุณภาพ ที่ผ่านมาอาจจะต้องเหมาซื้อจากตลาดไทแต่ก็ไม่ได้ในเชิงปริมาณและคุณภาพ ที่สำคัญคือไม่สามารถเติบโตในด้านการผลิตได้เพราะวัตถุดิบไม่แน่นอนแต่โรงงานเองก็ไม่มีความสามารถในการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกจึงเป็นช่องทางที่อยู่ระหว่างเกษตรกรและโรงงานขึ้นมาซึ่งแนวทางในการส่งเสริมก็เช่นเดิมคือ “การประกันราคา” เป็นการตกลงว่าทางโรงงานจะรับซื้อวัตถุดิบในปริมาณเท่าไหร่ในราคาเท่าไหร่ตามสัญญาที่ต้องระบุกันอย่างชัดเจน
ผลตอบแทนคุ้มค่าปลูกพริก 1ไร่เท่ากับทำนา 10 ไร่
ผลผลิตที่ได้จาก การปลูกพริก ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีมากพริก1 ไร่ให้ผลตอบแทนเทียบเท่ากับการทำนา 10 ไร่ ยกตัวอย่าง พริกประกันราคาที่ 15 บาท ถ้า 1ไร่ได้ผลผลิต 5 ตันเกษตรกรได้เงิน 75,000 บาท/ไร่ มีต้นทุน/ไร่คิดตั้งแต่ค่าเมล็ดพันธุ์ วัสดุปลูก ปุ๋ยยา ค่าแรงการเก็บพริก ประมาณ 35,000 บาท/ไร่ หักลบรายได้แล้วเกษตรกรยังมีกำไรอยู่มากประมาณ 40,000 บาท/ไร่ และถ้าปลูกพริก 5 ไร่ เกษตรกรจะมีกำไรได้ถึง 200,000 บาท
เทียบกับการทำนาที่เอาราคาประกันของรัฐบาล 15,000 บาท ทำนา 1 ไร่ได้ 80 ถัง เกวียนละ 12,000 ตกไร่ละ7,000-8,000 บาทแม้ต้นทุนของการทำนาจะน้อยกว่าประมาณ 3,500 บาท/ไร่แต่ปริมาณของพริกได้เยอะกว่าเมื่อหักลบปริมาณกันแล้ว การปลูกพริก จึงดีกว่าอย่างชัดเจนซึ่ง
หรือยาสูบ ที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปในสุโขทัย ผลผลิต/ไร่ประมาณ 400 กก. กิโลกรัมละ 70 บาทมีรายได้ประมาณ 28,000 บาท /ไร่ เท่ากับปลูกพริก 3 ไร่แต่ต้นทุนของยาสูบประมาณ 20,000 บาท กำไรของเกษตรกรจึงได้แค่ประมาณ 8,000 บาท/ไร่และยาสูบในปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมการปลูกน้อยลงเรื่อยๆ สวนทางกับพริกที่น่าจะขยายตัวได้มากขึ้นในอนาคต
ส่วนรายจ่ายในด้านอื่นๆ นั้นทางกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบให้เกษตรกรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นค่าแรงขนส่ง ค่าขนส่ง คำว่าปลูกพริกเงินล้านจึงใกล้เคียงความจริงมากเพราะเกษตรกรบางคนปลูกพริก 7 ไร่ในระยะเวลาแค่ 5-6 เดือนสามารถทำเงินได้นับล้านบาทเหมือนอย่างที่คุณยศวัฒน์บอกว่า “เกษตรกรก่อนที่จะมาเจอกับทางกลุ่มเคยเป็นหนี้ ธกส. กันมาก่อนทั้งนั้น ปัจจุบันแต่ละคนปลดหนี้มีรถกระบะขับกันทุกบ้าน และทุกคนถ้ามารู้จักกับเราคำว่าเงินล้านเราสามารถสร้างให้ได้ภายใน 3 ปีมีบ้าน มีรถ ความเป็นอยู่ดีขึ้นชัดเจนแน่นอน”แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณยศวัฒน์ก็ยังทิ้งท้ายอีกว่า การปลูกพริก แม้จะรายได้ดีแต่ก็เป็นงานที่ค่อนข้างหนักเพราะต้องอาศัยการดูแลที่ดี เกษตรกรต้องมีความชำนาญยิ่งทำนานยิ่งประสบการณ์เยอะโอกาสที่จะได้กำไรก็มีมากขอแค่ขยัน ใส่ใจ รายได้เป็นกอบเป็นกำทุกครัวเรือนแน่นอน
ตัวเลขการส่งออกสะท้อนความต้องการ “พริก” ที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ศักยภาพในการพัฒนาพริก สู่อุตสาหกรรมเน้นไปที่4 กลุ่มได้แก่
1.กลุ่มเครื่องปรุง ได้แก่ น้ำพริก น้ำจิ้ม พริกป่น เครื่องต้มยำ พริกแกง
2.กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป กลุ่มสารสกัด ต่างๆ
3.กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ย่าฆ่าแมลง ยา
4.กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ
ในปี 2556 ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสของเมืองไทยมีมูลค่าและปริมาณส่งออก 16,796 ล้านบาท และ 265,364 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีมูลค่า 15,662 ล้านบาท และปริมาณส่งออก 246,132 ตัน โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า สิ้นปี 2556 มีจำนวนโรงงานเครื่องปรุงกลิ่น รส หรือสีของอาหารในประเทศไทยประมาณ 376 โรงงานและจากการเปิดประเทศเป็น AEC อาจทำให้กำแพงภาษีต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้านหายไปส่งผลดีด้านหนึ่งในเรื่องการส่งออกซึ่งในแทบอาเซียนเองปัจจุบันก็มีกำลังการซื้อไม่ต่างจากยุโรปโดยเฉพาะเพื่อนบ้านหลายประเทศซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
อินโดนีเซีย…ตลาดส่งออกที่น่าสนใจที่สุดอาเซียน
และถ้าติดตามสถานการณ์ข่าวเศรษฐกิจจะพบว่ารายงานจาก
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงจาการ์ตา ระบุว่าจากเหตุการณ์เกิดการเปลี่ยนฤดูกาลในประเทศอินโดนีเซีย จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝนในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผลผลิตพริกในอินโดนีเซียมีปริมาณลดลงซึ่งส่งผลให้ราคาพริกในอินโดนีเซียมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก จากราคาปกติ 20,000 รูเปียห์–40,000 รูเปียห์ต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 56 บาทถึง 111 บาท ได้สูงขึ้นถึง 75,000 รูเปียห์–80,000 รูเปียห์ต่อกิโลกรัม หรือที่ราคาประมาณ 208-222 บาท ขณะเดียวกันบางพื้นที่ เช่น เกาะสุมาตรา ได้รับผล กระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาพริกขึ้นราคาถึง 100,000 รูเปียห์ หรือที่ 278 บาท ต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ชาวอินโดนีเซียจะใช้พริก หอมแดง และกระเทียมเป็นส่วนประกอบหลักของการปรุงอาหาร ดังนั้นการที่พริกมีราคาสูงขึ้นจึงมีผล กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน อินโดนีเซียระดับกลางและระดับล่าง ส่วนแหล่งผลิตหลักของอินโดนีเซีย จะอยู่ที่บริเวณ เกาะชวาตอนกลาง และเกาะสุมาตรา ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านพ้นฤดูเก็บเกี่ยวไปแล้วประกอบกับแหล่งผลิตบนเกาะสุมาตราได้รับผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ และได้ผ่านพ้นฤดูเก็บเกี่ยวไปแล้วเช่นกัน ราคาพริกที่สูงขึ้นจึงไม่ได้ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพริกของอินโดนีเซียมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตพริกเสียหายมากจากการเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งปีที่ผ่านมาค่อนข้างแล้ง และมีฝนตกหนัก ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวพริกได้เพียง 30 % ของปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับฤดูกาลปกติ ทำให้ปริมาณพริกในตลาดลดลง ส่งผลให้มีราคาสูงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ได้เพิ่มขึ้นจาก 6,500 รูเปียห์ต่อลิตร หรือ 18 บาท มาเป็น 8,500 รูเปียห์ หรือ 24 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในอินโดนีเซียหลายชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้น
จากข้อมูลดังกล่าวพอประเมินได้ว่า ทางการอินโดนีเซียเองคงจะอนุญาตให้มีการนำเข้าพริก และหอมแดงจากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนอินโดนีเซียได้บริโภคสินค้าที่มีราคาถูกลงซึ่งนั่นก็หมายถึงโอกาสของประเทศไทยในการส่งพริกและหอมแดงได้มากขึ้นในปี 2558 นี้
อย่างไรก็ตาม หากการบริหารเพื่อการตลาดและการผลิตที่ได้คุณภาพของพริก ตลอดถึงการลดต้นทุนในการผลิตพริกของไทยมีน้อยโอกาสที่จะเสียตลาดนี้ไปให้กับประเทศเวียดนาม อินเดีย และฟิลิปปินส์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะการนำเข้าพริกของอินโดนีเซียจากต่างประเทศจะมีเรื่องราคาในการนำเข้ามาเป็นเงื่อนไขหลักในการทำสัญญาซื้อขาย
สำหรับประเทศไทยนั้นในแต่ละปีมีมูลค่าการค้าพริกโดยรวมประมาณ 3,324.67 ล้านบาท โดยส่งออกมากถึง 2,597.95 ล้านบาท โดยตลาดอยู่หลายประเทศหนึ่งในนั้นก็มีอินโดนีเซีย ที่เฉลี่ยนำเข้าพริกจากประเทศ ไทยไม่น้อยกว่า 54 ตันต่อสัปดาห์.
คุณจิตวัด อยู่สายบัว เกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กรีนลีฟส์ ทำให้ลดต้นทุน/ไร่ เพิ่มผลผลิตกำไรให้สูง
คุณ จิตวัด อยู่สายบัว หนึ่งในสมาชิกผู้ปลูกพริกของ หจก.สุโขทัยการเกษตรภัณฑ์ คุณจิตวัดให้ข้อมูลว่าเข้าร่วมกับกลุ่มมาตั้งแต่ 13 ปีก่อน ทำพริกรุ่นแรกราคารับซื้อแค่ 8 บาท/กก. มีรายได้ประมาณ 40,000 บาท/ไร่ แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าการทำยาสูบที่มีรายได้เพียงแค่ 10,000 บาท/ไร่ หลังจากที่มีประสบการณ์ใน การปลูกพริก มาพอสมควรประกอบกับตลาดพริกเองก็เริ่มเติบโตมากขึ้น องค์ความรู้เพื่อการลดต้นทุนเพิ่มผลกำไรมีมากขึ้นทำให้ในปี2556มีรายได้จาก การปลูกพริก ถึงไร่ละ 110,000 บาท ยอดรวมของการขายพริกในปีก่อนจบฤดูกาลมีรายได้กว่า 400,000 บาท กับการลงทุนเพียงแค่ 180,000 บาท ถือว่ามีกำไรที่สูงมากสำหรับการปลูกเป็นพืชระยะสั้นเพื่อรอการทำนารอบต่อไป
ด้วยเหตุนี้ในปี2558จากพื้นที่ การปลูกพริก 4 ไร่จึงขยายมาเป็น 6 ไร่ในปัจจุบัน การเก็บเกี่ยวในรอบนี้ยังไม่แล้วเสร็จแต่มีปริมาณพริกที่ส่งออกไปแล้วกว่า 30 ตัน เหลือการเก็บเกี่ยวอีกประมาณ 2-3 ครั้งก็จะจบฤดูกาลซึ่งคาดว่าน่าจะได้เพิ่มอีกหลายตันทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ำกว่า 5ตัน
สิ่งสำคัญที่ทำให้ผลผลิตพริกมีปริมาณต่อไร่สูงมากส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลิตภัณฑ์เพิ่มผลผลิตจากบริษัท กรีนลีฟส์ จำกัดที่ทางกลุ่มจัดเอามาให้เกษตรกรใช้ ในอายุพริกตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 100-150 วัน การใช้ผลิตภัณฑ์ของกรีนลีฟส์จะเริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มปลูกได้ประมาณ 1 อาทิตย์
1.หลังจากเอาต้นกล้าพริกลงแปลงแล้วประมาณ 1 อาทิตย์จะเริ่มมีการให้ปุ๋ยก่อนให้น้ำ ปุ๋ยที่ใช้ช่วงแรกของกรีนลีฟส์นี้เป็นสูตรเสมอ (15-15-15) ปริมาณการใส่ไร่ละ ½ ลูก ใส่ทุกวันเป็นระยะเวลานานประมาณ 30-35 วันเพื่อทำให้ต้นแข็งแรงสามารถยืนต้นได้ก่อนที่จะเข้าสู่ในช่วงที่ 2 ต่อไป
2.ในช่วงที่ 2 นี้จะเริ่มใช้ “ปุ๋ยดก” ที่เกษตกรเรียก ที่จริงอาจจะเรียกว่าเป็น “ธาตุอาหารเสริม และธาตุอาหารรอง” ก็ได้ เพราะพืชตระกูลพริก ธาตุอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่พริกจะขาดไม่ได้ถ้าต้องการในเรื่องคุณภาพและผลผลิต ธาตุอาหารเสริมที่สำคัญก็เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โบรอน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต การออกดอกติดผลเร็วขึ้น จำนวนมากขึ้น การสุกเร็วขึ้น โดยที่ผลผลิตอยู่ในรูปสมบูรณ์ ซึ่งธาตุแต่ละตัวทั้งหลักและรองก็มีคุณสมบัติต่างกันไปเช่น
สังกะสี
เป็นธาตุสำคัญในการสร้างและปรับการทำงานของสารเร่งการเจริญเติบโตในพืชและการใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ มีผลในการแก่การสุกของพืช
ทองแดง
เป็นส่วนที่สำคัญของเอนไซม์ของขบวนการสังเคราะห์แสงสำคัญมากในช่วงที่พืชอยู่ในระยะผลิดอก ออกผล
แคลเซียม
พบมากในผนังเซลล์ใช้ในการแบ่งเซลล์ การออกดอก คุณภาพของผลผลิตในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอก และกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วงรวมถึงมีส่วนช่วยในด้านความแข็งแรงของเซลล์ต้นพริก ทำให้ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคต่างๆได้ เช่น โรคยอดเน่าและดอกเน่าในพริก โรคกุ้งแห้งพริกหรือแอนแทรกโนส
แมกนีเซียม
แม้จะต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลักแต่ถ้าขาดหรือไม่พอเพียงต่อความต้องการก็ทำให้ผลผลิตพริกลดลงทั้งสิ้น ปริมาณแมกนีเซียมที่พริกต้องการในระยะเริ่มให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 1.0 – 2.0 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ในธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารองของกรีนลีฟส์ยังมีสัดส่วนของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพริกอีกจำนวนมากผสมอยู่ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตพริกที่ดีมีปริมาณที่มากเท่ากับเป็นการลดต้นทุนด้วยการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในระยะเวลากว่า 13 ปีถือว่ากรีนลีฟส์มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกษตรกรยืนหยัดต่อเนื่องได้อย่างแข็งแรง
ปริมาณการใช้จะหว่านไร่ละ 1 ลูก อาทิตย์เว้นอาทิตย์ ใส่อยู่ประมาณ 2 ครั้ง อายุพริกก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วงต่อไป
3. อายุพริกได้ประมาณ 50 วัน จะเป็นการฉีดฮอร์โมน โดยผสมหลายตัวรวมกันไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเร่งดอก ขั้วเหนียว ฆ่าเชื้อรา เพลี้ยไฟ ไรแดง สัดส่วน 200 cc/น้ำ 300 ลิตร พื้นที่ 6 ไร่ใช้ประมาณ 3 ถัง (ถังละ 600 ลิตร) ฉีดพ่นทุก 7 วัน ไปจนถึงต้นพริกอายุได้ 80-90 วัน ก็จะเริ่มลดปริมาณการใช้เพื่อป้องกันสารตกค้างในระยะที่ใกล้เก็บเกี่ยว
4.ช่วงใกล้เก็บเกี่ยวยังใช้ฮอร์โมนดังกล่าวอยู่แต่ลดปริมาณลงเหลือ 150 cc/น้ำ 300 ลิตร เพื่อป้องกันความเสี่ยงเรื่องสารตกค้าง ต่อเนื่องไปจนถึงพริกอายุได้ 100วันก็เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมเกษตรกรของกรีนลีฟส์จึงส่งผลให้มีผู้สนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ การปลูกพริก มากขึ้นเพราะมองเห็นในเรื่องของรายได้ที่ดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเกษตรกรเองก็ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่ค่อนข้างละเอียด ผลผลิตที่ได้จะมากน้อยแค่ไหน ผลิตภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งที่เสริมให้ดีขึ้นแต่ประสบการณ์และความรู้ของเกษตรกรเองเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ว่าช่วงไหน ควรทำอะไร เพื่อให้เป้าหมายเดินไปในทางเดียวกันคือ ต้นทุน/ไร่ต่ำในขณะที่ผลผลิตและกำไรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ซุปเปอร์แม่ปิง 8000” ผลผลิต/ไร่สูงสุดถึง 8,000 กก.
สิ่งสำคัญในการปลูกคือผลผลิต/ไร่สูง และมีความต้านทานโรคสูง รวมถึงต้องเป็นที่ต้องการของโรงงานซึ่งบางครั้งโรงงานเองก็มีสายพันธุ์ที่คิดไว้บ้างแล้วเพียงแต่บางทีก็สเปคสูงและไม่เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย อย่างเช่น สายพันธุ์เกาหลีที่โรงงานต้องการแม้จะรสชาติดีแต่เมื่อเอามาปลูกในประเทศไทยที่ภูมิอากาศแตกต่างไป ผลผลิต/ไร่ก็จะต่ำคุณภาพก็ไม่ดีเท่าที่ปลูกในประเทศเกาหลีเพราะฉะนั้นในเมืองไทยก็ต้องใช้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับเมืองไทยโรงงานกับผู้ปลูกก็พบกันครึ่งทางด้วยสายพันธุ์ที่ทำมาเฉพาะในเมืองไทยที่ให้ผลผลิต/ไร่สูง ต้านทานโรคดีกลายมาเป็นพันธุ์ในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือ “ซุปเปอร์แม่ปิง 8000” ซึ่งเป็นพันธุ์เฉพาะที่บริษัทเพื่อนเกษตรกรทำมาจำหน่ายในกลุ่มของคุณยศวัฒน์โดยเฉพาะ จุดเด่นของสายพันธุ์นี้คือความเผ็ดไม่มาก เป็นพันธุ์พริกชี้ฟ้าลูกผสมรุ่น F1 มีข้อดีคือผลผลิตสูง ต้านทานโรคสูง แดงสด ร้อนไม่กลัวแต่ก็มีข้อจำกัดคือ “เก็บพันธุ์ไว้ไม่ได้” ต้องซื้อใหม่ทุกครั้งถ้าจะทำการปลูก คำว่า “8000” หมายถึงผลผลิตสูงสุด/ไร่ที่สามารถทำได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ปัจจัยที่เกษตรกรจะต้องดูแลดีๆ มีวิธีบริหารจัดการอย่างเอาใจใส่ แต่ถ้าไม่ได้ผลผลิตสูงสุดโดยทั่วไปก็จะได้ผลผลิต/ไร่ไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 กก.
สายพันธุ์ที่เคยใช้ก่อนหน้านี้อย่างเช่น “สีหนาท” อาจจะเคยดีในระยะหนึ่งแต่เมื่ออากาศเปลี่ยนสภาวะเปลี่ยน ปัญหาที่พบคือ ผลพริกแม้จะยาว สวย ใหญ่ แต่สีไม่แดง (เป็นสีตะขบ) โรงงานไม่สามารถเอาไปแปรรูปได้ สำหรับพันธุ์ “ซุปเปอร์แม่ปิง 8000” จึงเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในขณะนี้แต่ในอนาคตเองเรื่องเมล็ดพันธุ์ก็ต้องมีการพัฒนาเตรียมไว้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี
ส่วนเรื่องของการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตดีๆทางกลุ่มก็มีการส่งทีมงานไปกำกับเกษตรกรเพื่อให้ทำตามทั้งวิธีการปลูก ระยะห่าง การให้ปุ๋ยยา รวมถึงการให้ตารางการปลูกว่าช่วงไหนควรทำอะไรอย่างไร ระยะเวลาการทำงาน 150 วันตั้งแต่เพาะกล้า ตั้งแต่เตรียมดิน คลุมพลาสติก จนถึงระยะการเก็บเกี่ยว
เรื่องของปริมาณและคุณภาพตามที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องการ
การปลูกพริก เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมโรงงานแรกที่เริ่มติดต่อและเริ่มสร้างชื่อเสียงให้ทางกลุ่มว่าเป็นพริกที่มีคุณภาพ สวย สีดี แดงสด ตรงยาวโรงงานแรกที่พูดถึงนี้คือ “บริษัท เอ็กโซติคฟู้ด”จำกัดผลิตสินค้าแปรรูปส่งออกต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะในยุโรปทำให้ทางกลุ่มต้องคอยให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการใช้สารเคมีนำมาสู่มาตรการในการจัดปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรโดยตรงเพื่อป้องกันสารตกค้างต้องห้ามเหล่านั้นเพราะองค์ความรู้ของเกษตรกรบางคนเข้าใจแค่ชื่อยาต้องห้ามแบบสามัญที่กรมวิชาการเกษตรห้ามแต่ร้านจำหน่ายขายสินค้าที่เป็นชื่อทางการค้าทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้
สำหรับช่องทางของโรงงานที่ติดต่อซื้อขายกันในปัจจุบันมีกว่า 10 รายซึ่งแต่ละที่ก็มีความต้องการวัตถุดิบคือพริกที่ไม่เท่ากันตามขนาดการผลิตของตัวเอง บางแห่งมีออร์เดอร์ 30,000 – 50,000 กก./ ปี หรือถ้าเป็นการผลิตขนาดใหญ่ก็อาจต้องการวัตถุดิบที่มากขึ้นหลัก 100,000 – 500,000 กก./ ปีขึ้นไป สำหรับกำลังการผลิตของทางกลุ่มนั้นปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 300 รายเนื้อที่ผลิตประมาณ 1,000 ไร่ สามารถผลิตพริกได้ถึงปีละ 4,000,000 – 5,000,000 ตัน มีการขนส่งพริกเข้าสู่โรงงานสัปดาห์ละ 6 ครั้ง ( ยกเว้นวันเสาร์ ) เฉลี่ยวันละประมาณ 100,000 กก. รวมถึงมีโรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียหรืออินโดนีเซียเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงที่ เพราะในมาเลเซียก็มีโรงงานแปรรูปจำนวนมากและการเอาวัตถุดิบจากประเทศไทยไปแปรรูปก็เพราะได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าและมีคุณภาพผลผลิตที่ดีสามารถแปรรูปเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการในประเทศได้ ส่วนประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันมีคนกว่า300-400ล้าน มีกำลังความต้องการพริกสูงมากเพราะปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ภายในเองที่ทำให้มีการนำเข้าพริกจากประเทศไทยมากขึ้นตามการคาดการณ์ของกรมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์
การขนส่งวัตถุดิบจากสุโขทัยไปถึงประเทศเพื่อนบ้านจะมีรถคอนเทรนเนอร์(ควบคุมอุณหภูมิภายในประมาณ3องศาเซลเซียส) จากปลายทางมารับผลผลิตถึงที่ประมาณ 2วัน/ครั้ง ใช้เวลาเดินทางไปถึงปลายทางประมาณ 36 ชม.
ข้อขอบคุณข้อมูล คุณยศวัฒน์ ศิริอธิพันธ์ และ คุณจิตวัด อยู่สายบัว เกษตรกรผู้ปลูกพริก
การปลูกพริก, วิธีปลูกพริก, วิธีการปลูกพริก, พริก, ปลูกพริก, ต้นพริก, การปลูกพริก, วิธีปลูกพริก, วิธีการปลูกพริก, การปลูกพริก, วิธีปลูกพริก, วิธีการปลูกพริก, พริก, ปลูกพริก, ต้นพริก, การปลูกพริก, วิธีปลูกพริก, วิธีการปลูกพริก