การปลูกขมิ้น เป็นความคิดที่น่าสนใจ เนื่องจาก ขมิ้นชัน เป็นตลาดที่หลายคนมองข้าม การปลูกขมิ้น ขายไม่ยากอย่างที่คิดวิธีปลูกขมิ้น ขมิ้นชัน สุราษฏร์ฯ เป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จใน การปลูกขมิ้น ขายได้ กิโลกรัมล่ะ 32 บาท
ปัจจุบันนี้นับได้ว่าเป็นช่วง “ รุ่งโรจน์ ” ของผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และน้ำพริกกึ่งสำเร็จรูป พร้อมปรุง ส่งผลให้สินค้าพืชพื้นบ้านถูกผลักดันเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญ
หลายฉบับที่ผ่านมาทีมงานนิตยสารผักเศรษฐกิจ ได้นำเสนอเกี่ยวกับพืชพื้นบ้านที่ขึ้นตามรั้วบ้านของใครหลายคนสร้างเงินให้กับเกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เช่น ใบมะกรูด ชะอม ตะไคร้ และข่า เป็นต้น สวนกระแสผักราคาแพง ที่มีอยู่ 2 รูปแบบสามารถเห็นได้ชัดเจน คือ
- ผักเมืองหนาว กับราคาสูงตลอดทั้งปี
- ผักพื้นบ้าน มักดูแลโดยธรรมชาติเพื่อลดต้นทุน
ด้วยวิธีการปลูกและการดูแลที่ค่อนข้างจะพิถีพิถันแตกต่างกันในบางชนิดต้องอาศัยความรู้เฉพาะเป็นพิเศษบ้าง หรือบางชนิดอาจต้องอาศัยการดูแลจากพ่อพระพิรุณเสียส่วนใหญ่
สำหรับท่านที่กำลังลังเลใจในการมองหาพืชสร้างรายได้อยู่ก็คงต้องนักใจสักหน่อยแล้ว เมื่อทิศทางและเป้าหมายของผักแต่ละประเภทแตกต่างกัน
ผักเมืองหนาวที่มุ่งเน้นการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีด้านการดูแลอย่างพิถีพิถัน เพื่อผู้บริโภคภายในประเทศ ตามห้างร้านดังทั่วไป ด้วยราคาที่ค่อนข้างนิ่ง ผลตอบแทนสมเหตุสมผลทั้งปี เป็นเหตุให้ดึงนักลงทุนมาปลูกผักชนิดนี้สูงขึ้นในทุกๆปี
ส่วนผักพื้นบ้านคงชนิดต่างๆโดยเฉพาะเครื่องเทศที่ปลูกกันน้อยในแต่ละภูมิภาค ด้วยความ “ ต้องการน้อย แต่ทุกครัวเรือนต้องใช้ ” แม้ราคาซื้อขายไม่สูงมากนัก อีกทั้งยังแปรผันสูงตามช่วงฤดูกาลที่สูงปรี๊ด และลงฮวบอย่างใจหาย อย่างไรก็ตามผักกลุ่มนี้ก็เป็นจำนวนไม่น้อยที่ส่งออกต่างประเทศเช่นกัน
ฟังแบบนี้แล้วคงน่าลังเลใจเพิ่มขึ้นไปอีกไม่น้อย อย่างไรก็ตามรู้จักตลาดไม่ว่าจะตัวไหนก็ไปรอดทั้งนั้น…
ในบรรดาพืชสมุนไพรหลายชนิดในบ้านเรา อีกตัวหนึ่งที่ต้องขึ้น “ ชาร์ต ”อย่างแน่นอน คือ ขมิ้นชัน ที่อาจมีชื่อเรียกหลากหลายตามภูมิภาค เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก หรือขมิ้นหัว เป็นต้น
แม้ว่าขมิ้นชันจะมีแหล่งปลูกที่เป็นเศรษฐกิจจริงๆเพียงไม่กี่แหล่งในประเทศ แต่สรรพคุณการนำมาทำประโยชน์ที่หลากหลายจึงทำให้ตลาดหลายระดับมองมาที่พืชตัวนี้เป็นสำคัญ เช่น เป็นส่วนผสมหลักในอาหารปักษ์ใต้ โรงงานผลิตน้ำพริก นำสู่กระบวนการผลิตเป็นยาทั้งแผนโบราณ และแผนปัจจุบัน และส่วนผสมเครื่องสำอางอีกมากมาย
คุณวินัย ฤทธิกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ แหล่งปลูกขมิ้นชันขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งจากจังหวัดสุราษฏร์ธานี ก่อนหน้านี้ที่เขาจะเริ่มมาปลูกขมิ้นชัน อีกทั้งยังส่งเสริมเกษตรกรในละแวกอีกมากมายให้มีรายได้ควบคู่กับการปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ซึ่งตัวเขาเองก็เป็นเกษตรกรชาวสวนยางพารา และปาล์มน้ำมันอีกคนหนึ่งเช่นกัน
คุณวินัยบอกว่า “ ระหว่างที่ต้นยางยังไม่สามารถกรีดได้ หรือหลังจากโค่นต้นไปแล้วก็จะทำให้เกษตรกรเสียรายได้ในระหว่างนี้ไปด้วย การปลูกขมิ้นชัน ในสวนยางเสริมจะทำให้มีรายได้จากตรงนี้อีกทางหนึ่ง ”
เขาเริ่มปลูกขมิ้นชันขาย และตั้งกลุ่มมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ยังกระท่อนกระแท่นอยู่พักใหญ่ ซึ่งกว่าจะเป็นรูป เป็นร่างมาได้อย่างมั่นคงก็นับเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี กลุ่มเริ่มเติบโตขึ้นและชัดเจนขึ้นกระทั่งในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่าการพัฒนาในอนาคตอันใกล้นี้จะยังคงเพิ่ม และต่อยอดต่อไปให้สูงขึ้นอีกอย่างแน่นอน
ขมิ้นชันเมืองสุราษฏร์ฯ
คงอาจเป็นเพราะพืชตัวนี้ไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจอย่างจริงจังมากนัก จึงเป็นช่วงโอกาสทองของเกษตรกรกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ ต.เขาวง อ. บ้านตาขุน จ.สุราษฏร์ธานี
คุณวินัยเล่าว่า พันธุ์ที่นำมาปลูกอยู่ทุกวันนี้ เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่เก็บสะสมจากรุ่นบรรพบุรุษ ซึ่งมักเป็นการปลูกไว้ใกล้บ้านสำหรับนำมาทำยารักษา และปรุงอาหาร เพราะอาหารปักษ์ใต้นั้นส่วนมาก ล้วนมีส่วนประกอบจากขมิ้นชันในน้ำพริกแกงต่างๆ
ซึ่งทางกลุ่มยังได้กวาดรางวัลมาการันตีคุณภาพอีกหลายชิ้น เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ดีเด่น ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา ระดับ 4 ดาว รางวัลดีเด่นกลุ่มเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ จากกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหนังสือแสดงการจากทะเบียนวิสาหกิจชุมชน จากสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นต้น
อาศัยฝนปลูกขมิ้นชัน
สภาพอากาศและฤดูกาลของจังหวัดสุราษฏร์ธานีที่อยู่ติดกับทะเลอ่าวไทย และค่อนข้างจะแตกต่างจากจากภูมิภาคต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า “ ฝน 8 แดด 4 ” ส่งผลให้มีช่วงหน้าฝนที่ยาวนาน การปลูกพืชพันธุ์การเกษตรของภาคใต้อาศัยน้ำฝนเสียมากกว่า
ขมิ้นชันเป็นอีกตัวหนึ่งที่กลุ่มเกษตรกรที่นี่เลือกปลูกกันในช่วงหน้าฝน และเว้นไว้ในหน้าร้อนที่เป็นช่วงเตรียมดิน ก่อนที่ฝนแรกจะตกและเริ่มลงมือปลูกกัน อีกทั้งเป็นพืชที่มีความต้านทานเรื่องโรค แมลงต่างๆได้ค่อนข้างดี คุณวินัยจึงไม่ต้องรดน้ำในแปลงปลูกขมิ้นด้วยตนเอง เพียงแต่ปลูกแล้วรอเก็บเกี่ยวผลผลิตเท่านั้น ประมาณ 9 – 1 0 เดือน หรือเกือบปีหลังจากปลูกไปแล้ว ก็สามารถนำมาแปรรูปหรือจำหน่ายออกได้
รายได้เสริมจากสวนยางพารา
คุณวินัยบอกว่า “ การปลูกขมิ้น ชันมักมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอยู่เสมอทุกปี เนื่องจากว่าเกษตรกรส่วนมากจะปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันด้วย การปลูกขมิ้น จึงมักเป็นช่วงจังหวะที่ต้นยางพารายังมีขนาดเล็ก จึงสามารถปลูกแซมได้ เพื่อหารายได้เสริมระหว่างที่ยังไม่ได้กรีดยาง หรือต้นปาล์มยังไม่โตพอให้ผลผลิตแก่เกษตรกรได้ ” รายใหม่จะเข้ามาแทนรายเก่าอยู่เสมอ ดังนั้นผลผลิตที่ได้จึงไม่มีเยอะจนล้น และน้อยเกินไปจนขาดส่งตลาด
ด้วยความที่ขึ้นง่าย เติบโตได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นในระหว่างการปลูกและการดูแลรักษาจึงไม่ต้องยุ่งยากมากนัก ก่อนลงมือปลูกอาจใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน จากนั้นจึงจะไถพรวนดินอีกครั้งก็สามารถลงปลูกขมิ้นชันได้
เริ่มจากการเว้นระยะห่างในการปลูกประมาณ 3 0 – 8 0 ซม. พยายามขุดหลุมให้กว้าง ซึ่งใน 1 กอจะใส่เหง้าพันธุ์ประมาณ 6 เหง้าก่อนกลบดินทับ โดยไม่จำเป็นใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่อย่างใด อาจเป็นการลดต้นทุนไปอีกทางหนึ่งเช่นกัน หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 อาทิตย์ เหง้าจะแทงยอดออกมาให้เห็น ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อีกรอบก่อนที่จะปล่อยต้น
ตลาดขมิ้นชันบ้านตาขุน
เมื่อความนิยมยังคงมีอย่างต่อเนื่องในทุกๆด้าน แต่กลุ่มผู้ผลิตน้อยลง ดึงราคาให้สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งราคาจะแตกต่างไปตามปริมาณของผลผลิต เช่น
ช่วงที่เริ่มมีผลผลิต กับระยะที่ผลผลิตเริ่มทยอยหมดจากสวน จะราคาอยู่ที่ 32 บาท/กก. และกลางฤดูกาลประมาณเดือน ธ.ค. เป็นต้นไปผลผลิตมักจะมีมากกว่าช่วงอื่นๆ ราคาอยู่ที่ประมาณ 20 บาท/กก.
หรืออาจพูดได้ว่าราคาของขมิ้นชันไม่ต่ำกว่า 20 บาท / กก.นั่นเอง
ทั้งนี้ใช่ว่าใน 1 กอจะให้ผลผลิตเพียงไม่กี่กิโลกรัมเท่านั้น แต่สามารถให้ผลผลิตกว่า 5 กก./กอทีเดียว หรืออาจมากกว่านี้
หากต้นมีความสมบูรณ์ก็ได้ ประมาณ 2 , 5 0 0 กก. / ไร่
หรือรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 0 , 0 0 0 – 8 0 , 0 0 0 บาท/ไร่
นอกจากจะขายในรูปของหัวสดแล้วทางกลุ่มยังได้รับความร่วมมือจากทางจังหวัดในการนำขมิ้นชันมาแปรรูปไม่ว่าจะเป็นแบบแห้ง แบบผง และแบบแคปซูล โดยส่วนมากมักจะขายส่งสำหรับนำไปผลิตเป็นยา ซึ่งราคาขายของแต่ละตัวจะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน หากเป็นแบบขมิ้นชันอบแห้งราคาประมาณ 300 บาท/กก. และแบบบดแห้งเป็นผงแล้วประมาณ 500 บาท / กก.
ที่สำคัญคือจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี ณ ตอนนี้อาจมีจำนวนมากเกือบ 100 คนที่เข้ากับโครงการปลูกขมิ้นปลอดสารพิษ แต่สินค้าก็ยังคงได้ระบายอออกจากโกดังอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงอยู่ในปัจจุบัน
ขอขอบคุณ
คุณวินัย ฤทธิกุล และคุณลัดดา ฤทธิกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ 62 ม. 2 ต.เขาวง อ.บ้านตาขุน จ. สุราษฏร์ธานี 8 4 2 3 0 โทร. 089-971-6318
การปลูกขมิ้น
การปลูกขมิ้น, วิธีปลูกขมิ้น, ขมิ้นชัน, การปลูกขมิ้นแกง, วิธีการปลูกขมิ้น, การปลูกขมิ้นเหลือง, การเพาะปลูกขมิ้น, ปลูกขมิ้นขาย, ขมิ้นชัน