ปัจจุบันผู้ผลิต ไก่เนื้อ กำลังตื่นตาตื่นใจกับผลผลิต การเลี้ยงไก่เนื้อ ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ให้กล้ามเนื้ออกใหญ่ ผลกำไรงดงาม ท่ามกลางกระแสใหม่ของประเทศคู่ค้ารายสำคัญคือ สหภาพยุโรป กระแสความตื่นตัวด้านสวัสดิภาพสัตว์ต่อต้าน “ไก่พลอฟกิพ (Plofkip chicken)” หมายถึง ไก่ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในที่สุด ผู้ผลิตหลายรายในอียูจึงปรับตัวเกิดเป็นมาตรฐานการผลิต ไก่เนื้อ ใหม่สายพันธุ์โตช้า ลาเบล รุช (Label Rouge) ขณะนี้กำลังยึดฝั่งฝรั่งเศสและฟาร์มที่ได้รับการรับรองด้านสวัสดุภาพสัตว์ในสหราชอาณาจักรกำลังเพิ่มสัดส่วนการตลาด แต่ไก่สายพันธุ์โตช้าในเนเธอร์แลนด์ได้ครองตลาดค้าปลีกเนื้อไก่สดเรียบร้อยแล้ว และจะมีการเปลี่ยนจาก ไก่เนื้อ ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ที่นิยมเลี้ยงกันไปเป็น ไก่เนื้อโตช้า ภายในไม่เกิน ๓ ปีนี้
ลาเบล รุช เป็นมาตรฐานใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับลาเบล รุช เป็นสินค้าประเภทอาหาร รวมถึงอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ไม่มีการแปรรูปและไม่ใช่อาหาร เช่น ดอกไม้ อ้างตามกระทรวงเกษตรฝรั่งเศส กำหนดให้ “การใช้เครื่องหมายสีแดงไว้เพื่อรับรองว่า ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดตามระดับสูงกว่าผลิตภัณฑ์คล้ายกันที่มีการจำหน่ายในปัจจุบัน”
บทนำ
ตลาดไก่เนื้อ สำหรับเนื้อไก่จากฟาร์มที่เลี้ยงสายพันธุ์โตช้า จะครองคลาดค้าปลีกเนื้อไก่สด ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ในเนเธอร์แลนด์ภายในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นี้ และจะมีการเปลี่ยนจาก ไก่เนื้อ ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ที่นิยมเลี้ยงกันไปเป็น ไก่เนื้อโตช้า ภายในไม่เกิน ๓ ปีนี้
นายคลอด ทูดิค ผู้จัดการด้านเทคนิคของฮับบาร์ด ฝรั่งเศส กล่าวไว้ในการประชุมสภาไก่ระดับชาติปีนี้เองว่า เนื้อไก่ทั้งหมดที่วางจำหน่ายในร้านขายปลีกในเนเธอร์แลนด์จะมาจากการผลิต ไก่เนื้อ สายพันธุ์โตช้า
ปัจจุบันนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ การผลิต ไก่เนื้อ ทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์ พบว่า ๒๕ ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์เป็นไก่สายพันธุ์โตช้า ส่วนแบ่งทั้งหมดถูกชดเชยบางระดับ เนื่องจากสัดส่วนของการผลิต ไก่เนื้อในประเทศถูกส่งออก ประเทศเนเธอร์แลน์เป็นประเทศที่สามารถผลิต ไก่เนื้อ พึ่งพาตัวเองได้เกือบ ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์
ตลาดสำหรับ ไก่เนื้อโตช้า
ตามที่ตลาดเนื้อไก่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ปรับเปลี่ยนจาก การเลี้ยงไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ วางจำหน่ายเนื้อไก่สดของไก่ทั้งตัวและชิ้นส่วนไก่ โดยไม่มีใครสนใจแนวความคิดการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระ (Free range) อีกต่อไป ปัจจุบันตลาดเนื้อไก่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แตกออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่
- ไก่ของอนาคต (Chicken of Tomorrow, COT) และไก่มาตรฐานใหม่ (New Standard Chicken, New STD) มีสัดส่วนในตลาดค้าปลีกประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เริ่มนำเข้าสู่ตลาดค้าปลีกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึง ๒๕๕๗โดยผู้ค้าปลีกและอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ เพื่อตอบรับแรงกดดันของสาธารณะเกี่ยวกับ การเลี้ยงไก่เนื้อ เชิงอุตสาหกรรมสายพันธุ์โตเร็ว (Fast-growing conventional broilers) ขอบเขตของอัตราการเจริญเติบโต (Average daily weight gains, ADG) เป็น ๕๐ กรัม สำหรับไก่ COT และ ๔๕ กรัม
สำหรับ New STD และมาตรฐานอื่นๆที่เข้มงวดน้อยลงสำหรับโปรแกรมการผลิตไก่โตช้าทางเลือกใหม่
- ไก่ชีวิตที่ดีกว่าเดิม ๑ ดาว (Better Life 1-Star) นำเข้าสู่ตลาดในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีสัดส่วนในตลาดค้าปีกประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาเลี้ยงในโรงเรือนเป็นเวลา ๕๖ วัน โดยมีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด ๔๒ กรัม/วันให้แสงสว่างตามธรรมชาติ และมี “ประตูขนาดเล็ก (Pop holes)” ให้ไก่เข้าไปได้สู่พื้นที่เพิ่มเติมสัดส่วน ๒๐ ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ในสวนฤดูหนาวหรือระเบียง
- ไก่อินทรีย์ (Organic chickens) เป็นไปตามข้อกำหนดของ EU และ SKAL (เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตแบบอินทรีย์) รวมถึง การเข้าถึงอากาศบริสุทธิ์และพื้นที่นอกโรงเรือน อย่างน้อย ๔ ตาราเมตรเป็นพื้นที่วิ่งเล่นได้ และอาหารสัตว์อินทรีย์ ประกอบด้วยวัตถุดิบในสัดส่วน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่ปลูกในฟาร์ม หรือในภูมิภาคที่ปราศจากเมล็ดพันธุ์ GMO
ผู้ไม่บริโภคไม่เกี่ยงราคา
เมื่อเปรียบเทียบเนื้ออกไก่จากไก่ทั่วไปแล้ว เนื้ออกไก่ชนิด COT มีราคาแพงกว่าประมาณ ๑๕๑ บาท/กิโลกรัม และไก่ชนิด Better Life 1-Star ก็มีราคาแพงกว่า COT ประมาณ ๑๕๑ บาท/กิโลกรัม
สำหรับไก่ของอนาคต และไก่ชีวิตที่ดีกว่าเดิม ๑ ดาวเป็นคู่แข่งกับเนื้อสุกร ไก่อนินทรีย์มีราคาแพงกว่าไก่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ทั่วไปมากกว่าสามเท่า
เทรนด์ศัพท์ใหม่ ไก่พลอฟกิพ (Plofkip)
ปัจจัยใดที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศเนเธอร์แลนด์มีการปรับตัวอย่างรวดเร็วมา เลี้ยงไก่เนื้อ โตช้า ขณะที่ผู้บริโภคและนักเคลื่อนไหวในประเทศเนเธอร์แลนด์มีจุดยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์
มาเป็นเวลานาน สาเหตุเกิดจาก “ไก่พลอฟกิพ (Plofkip chicken)” หมายถึง ไก่ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วผิดปกติเพื่อเร่งการผลิตเนื้อ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญไก่พลอฟกิพมาจากภาษาดัทช์หมายถึง ไก่ระเบิด (Exploding chicken) อันเป็นการรณรงค์ตามสื่อโฆษณาโดยนักเคลื่อนไหวด้านสวัสดิภาพสัตว์ชื่อว่า Wakker Dier ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
ภาพโฆษณารณรงค์มีบทบาทต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ให้เห็นภาพของไก่เนื้อที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเหมือนระเบิด เมื่อเปรียบเทียบกับไก่อินทรีย์ที่มีน้ำหนักเพียง ๙๓๐ กรัม กับไก่เนื้อที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ ๒,๓๕๐ กรัม
นักเคลื่อนไหวโจมตีการเลี้ยงไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ว่า ไก่เนื้อในฟาร์มไม่สามารถเดินได้ตามปกติ และเรียกร้องให้ผู้บริโภคหยุดซื้อไก่พลอฟกิพ แล้วหันมาซื้อ ไก่เนื้อโตช้า ทดแทน แผนการรณรงค์เคลื่อนไหวดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม
วิธีการสื่อสารกับผู้บริโภคได้มุ่งเน้นให้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างการกินของคน โดยคำนึงถึงการใช้ชีวิตของไก่ คำว่า ไก่พลอฟกิพ หรือไก่ระเบิดกลายเป็นคำที่ได้รับการจดจำในประเทศเนเธอร์แลนด์เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และถูกเลือกให้เป็นคำใหม่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาษาเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นั่นเอง
ผลดีของการเลี้ยง ไก่เนื้อโตช้า
ผลดีของการเลี้ยง ไก่เนื้อโตช้า คือ สวัสดิภาพสัตว์ และคุณภาพซาก การรณรงค์ต่อต้านไก่พลอฟกิพ พยายามแสดงให้เห็นถึงผลการศึกษาของเนเธอร์แลนด์ที่มีการประเมินความสามารถในการเดิน และแสดงเห็นว่า ไก่เนื้อโตช้า จะมีปัญหาการเดินน้อยกว่าไก่ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ตามปกติ
คุณค่าทางอาหารของ ไก่เนื้อโตช้า นอกเหนือจากนั้นลูกไก่จากไก่พันธุ์ ลาเบล รุช ที่โตช้าจะมีกล้ามเนื้ออกที่มีน้ำหนักแห้ง และมีปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ และสายพันธุ์ผสมข้ามที่ใช้สำหรับ RSPCA สายพันธุ์ BLK1-Star breeds มีน้ำหนักแห้ง
โปรตีนมากกว่า ปริมาณไขมันน้อยกว่า และอีกหนึ่งประโยชน์ของไก่เนื้อโตช้าที่เลี้ยงคือ สามารถลดรอยโรคพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อลายเป็นเส้นสีขาว และกล้ามเนื้อแข็งเป็นไม้
เนื้อนุ่มมากขึ้น รสชาติดีขึ้น เนื่องจากอายุของไก่เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความนุ่ม ความชุ่ม และรสชาติของเนื้อไก่ ผู้บริโภคกำลังมองหาสินค้าเนื้อไก่ราคาถูก สะดวก ปลอดภัย และรสชาติที่ดี แต่ก็มีผู้บริโภคที่มีจำนวนพอๆกันได้สร้างเงื่อนไงทั้งด้านราคา
และสวัสดิภาพสัตว์ ผู้บริโภคปัจจุบันได้ขาดความสัมพันธ์กับการเกษตรไปแล้ว แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารตามเครือข่ายสังคมไร้สาย และได้รับอิทธิพลอย่างมากจากองค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ กลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้กำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เอกสารอ้างอิง
Thornton G. 2016. The expanding market for slow-growing broilers. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Sep 13]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/28132-the-expanding-market-for-slow-growing-broilers?v=preview
ขอขอบคุณ
อ.น.สพ.ดร.วิษณุ วรรณแสวง
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
140 ถ.เชื่อมสัมพันธ์ เขตหนองจอก กรุงเทพ 10530