สวนยางผสมผสาน ทั้งพืชและสัตว์ 400,00 บาท / ปี (ตอนที่ 2) จะลงเว็บ พลังเกษตรวันที่ 3 พฤษภาคม 2560
ขอขอบคุณบทความ : นิตยสาร ยางเศรษฐกิจ
คุณลุง วิเวก บุญช่วย เกษตรกรชาว สวนยางผสมผสาน จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกยางพาราผสมผสาน ทั้งพืชและสัตว์
ในสวนยางเพื่อลดความเสี่ยงจากราคายางที่ผันผวน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช
จากการนำความรู้ที่ได้รับเมื่อตอนไปศึกษาดูงานที่ศูนย์พัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาลงมือทำที่สวนของตนเอง โดยเริ่มจากทดลองปลูกมังคุดแซมในร่องยางและปลูกพืชอื่นๆตามมา ปัจจุบันมีทั้งผักเหลียง หมาก หญ้าหวายข้อ
นอกจากนี้ ยังปลูกยางพร้อมกับ สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น วัวบ้าน ไก่ดำภูพาน ไก่บ้าน เป็ดบาบารี่ และปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ เอาไว้กิน ไว้ใช้ในครัวเรือนและขายสร้างรายได้หมุนเวียน 3 – 4 แสนบาทต่อปี ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม มีเงินส่งลูกหลานเรียนหนังสือและมีเงินเก็บเป็นทุนทรัพย์ต่อยอด สวนยางผสมผสาน พาราในอนาคต
ลุงวิเวก อายุ 69 ปี กับ ป้าปลื้ม อายุ 70 ปี อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านห้วยทิง ต.เกาะขันธ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
มีลูกด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นผู้ชาย 4 คน และลูกสาวอีก 2 คน ลูกคนที่อยู่ดูแลลุงวิเวกกับป้าปลื้มมี 2 คน ได้แก่ คุณชาญชัยและคุณเบญจวรรณ ซึ่งคุณชาญชัยจะอยู่ดูแลสวนช่วยลุงวิเวกคล้ายๆตัวตั้งตัวตีของลุงวิเวก
ส่วนคุณเบญจวรรณทำงานเป็นพนักงานบัญชีในเทศบาลอำเภอชะอวด ลูกๆคนที่เหลือก็แยกย้ายกันไปมีครอบครัวที่อื่น นอกจากนี้ยังมีหลานๆอีก 5 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา 3 คน และมัธยมศึกษาอีก 2 คนลุงวิเวกมีประสบการณ์การทำ สวนยางผสมผสาน มาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นพ่อแม่พาทำแล้ว
ลุงวิเวกมีพื้นที่ สวนยางผสมผสาน 64 ไร่ ปลูกยางพารา พันธุ์ RRIM600 ซื้อต้นกล้ามาจากอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีราคาต้นละ 3 บาท และลงปลูกเมื่อปี 2530
ระยะปลูก 8 x 3 เมตร ตอนนี้มีต้นยางพาราทั้งหมด 500 ต้น เริ่มปลูกมังคุดแซมเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จากนั้นจึงค่อยๆทยอยปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆตามกันมา
คุณชาญชัย ลูกชายลุงวิเวกที่มารับช่วงต่อจากลุงวิเวก หน้าที่ในแต่ละวันก็จะอยู่ในสวยยาง ตื่นมาตั้งแต่เช้า
ให้อาหารปลา อาหารเป็ด อาหารไก่ ซึ่งจะให้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จากนั้นก็จะปล่อยวัวกินหญ้าในสวน ส่วนยางนั้น
จะกรีดตอน 2 ทุ่ม พี่ชาญชัยบอกว่าที่ต้องกรีดตอน 2 ทุ่มเพราะว่า ถ้าไม่กรีดตอนนั้นจะไม่มีเวลาพักเลย ร่างกายจะอ่อนเพลีย หน้าที่กรีดยางหลักๆเป็นพี่ชาญชัยกรีดคนเดียว
มีป้าปลื้มช่วยงานในสวนบ้างครั้งคราว เพราะป้าปลื้มต้องเลี้ยงหลานๆด้วย หลานๆยังช่วยงานไม่ได้เพราะยังเด็กกันอยู่ พอตกเย็นก็ให้อาหารสัตว์อีกครั้ง ต้อนวัวเข้าคอก
พอ 2 ทุ่มก็ไปกรีด ยางกรีดเสร็จก็เป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจในแต่ละวัน
พืชที่ปลูกร่วมกับยาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัด
สุราษฎร์ธานี โดยมีพื้นที่ปลูกยางปี 2556 ทั้งหมด 1,851,549 ไร่ อ้างอิงจากศูนย์สารสนเทศการเกษตรสำนักเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งพื้นที่ปลูกยางพาราคิดเป็น 66%ของพื้นที่
รองลงมาเป็นข้าว 16.8% ปาล์มน้ำมัน 10.4% มังคุด 3.1% ทุเรียน 1.4 % เงาะ 1.2 % และลองกอง 1.1% อ้างอิงจากสำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราชข้อมูลปี 2555-2556
ที่สวนของลุงวิเวกเริ่มปลูกพืชอันดับ 2 รองจากยางพาราเมื่อ 20 ปี ที่แล้ว เริ่มจากปลูกมังคุดก่อน แล้วตามด้วยพืชชนิดอื่นตามมา ปัจจุบันมีพืช 4 ชนิด ได้แก่ มังคุด ผักเหลียง หมาก และหญ้าหวายข้อ
ก่อนที่จะปลูกพืชเหล่านี้ลุงวิเวกบอกว่าไม่ได้มีการปรับพื้นที่ สวนยางผสมผสาน เลย เลือกปลูกพืชเหล่านี้เพราะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่
คนแถวนี้เขาก็ปลูกกัน และคิดว่าสามารถปลูกแซมในร่องยางเป็นรายได้เสริมได้ พี่ชาญชัยบอกว่า
“ อยากลองปลูกดู เห็นว่ามันปลูกร่วมกับยางพาราได้และอย่างมังคุดก็ขายได้ราคาดี ผักเหลียงก็เก็บขายได้ทุกวันตลอดทั้งปี หมากก็เก็บขายได้ช่วงปิดกรีดและหญ้าหวายข้อก็ปลูกเอาไว้เลี้ยงวัวได้ ”
มังคุด
จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมังคุดมากที่สุดในประเทศ รองจากจันทบุรีและชุมพร ที่สวนลุงวิเวกเริ่มปลูกมังคุดเมื่อ 20 ปีที่แล้ว หลังจากปลูกยางพาราได้ 10 ปี สมัยนั้นลุงวิเวก กับญาติพี่น้อง ช่วยกันขุดหลุมปลูกกันเอง ช่วงแรกๆที่ปลูกต้นกล้ามังคุดนั้นลุงวิเวกเพาะเมล็ดพันธุ์เอง ทดลองปลูก 9 ต้น ระยะปลูก 8 x 6 เมตร
ชาวบ้านคนแก่ๆแถวนั้นต่างก็พากันพูดว่า “ มันไม่ได้ผลผลิตหรอก ” แต่ลุงวิเวกก็ลองปลูกดู ผ่านไป 6-8 ปี ปรากฎว่าได้ผลผลิตออกลูกออกผล ลุงวิเวกเลยลงทุนซื้อต้นกล้ามาปลูกเพิ่มอีก 30,000 – 40,000 บาท
ในระหว่างที่รอผลผลิตมังคุดนั้นต้องใช้เวลาถึง 6 – 8 ปีระหว่างนั้นลุงวิเวกก็กรีดยางพาราทำเป็นยางก้อนถ้วยขายไปก่อน ปัจจุบันมีต้นมังคุดในร่อง สวนยางพารา ทั้งหมด 400 ต้น เก็บผลผลิตขายในช่วงเดือนกุภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ให้ผลผลิตวันละ 1 ตัน
สร้างรายได้เฉลี่ยในเดือนที่ให้ผลผลิตถึงเดือนละ 280,000 บาท ที่เลือกปลูกมังคุดเพราะว่า เป็นผลไม้ที่คนนิยมบริโภค ขายได้ราคาดี สมัยนั้นในละแวกพื้นที่ยังไม่ค่อยมีคนปลูก อีกทั้งเวลาเก็บผลผลิตขายในแต่ละครั้งจะให้น้ำหนักมากกว่ายางพาราจึงขายได้ราคาดีกว่ายางพารา มีช่วงหนึ่งปี 2554-2555
ราคามังคุดตกต่ำมากๆเนื่องจากมังคุดติดผลและให้ให้ผลผลิตเยอะ ทางสวนจึงเปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าสวนมาชิมและซื้อมังคุดจากต้น โดยไม่ต้องจ่ายค่าเข้าสวนเลย ข้อเสียของมังคุดคือใช้เวลานานถึง 3 เดือนหลังติดผลจึงจะทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และเก็บผลผลิตได้เพียงไม่กี่เดือน ไม่เหมือนยางพาราที่ให้ผลิตผลิตนานหลายเดือนมากกว่ามังคุด
ผักเหลียง
หรือผักเขรียง ที่คนทางภาคใต้เขาเรียกกัน ปลูกเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว จำนวน 500 ต้น ปลูกแซมระหว่างต้นมังคุดเพื่อเก็บยอดขาย ผักชนิดนี้คนใต้เขานิยมบริโภค โดยนำมาแกงใส่กะทิ ให้ผลผลิตในปริมาณที่สามารถเก็บขายได้ทุกวันเกือบตลอดทั้งปี
ยกเว้นช่วงหน้าร้อนตั้งปลายเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคมที่จะไม่ให้ผลผลิต ผลผลิตที่ได้จะเก็บขายในหมู่บ้านและขายส่งตลาดวันละประมาณ 100 กำ แล้วแต่ออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่ง ราคากำละ 10 บาท สร้างรายได้ต่อเดือนถึง 30,000 บาท
หมาก
เริ่มปลูกเมื่อ 3 – 4 เดือนก่อนหน้านี้ คุณลุงวิเวกและพี่ชาญชัยช่วยกันเพาะเมล็ดเองกับมือและลงปลูกไปแล้ว 800 ต้น ปลูกแซมระหว่างต้นยางและต้นมังคุด มีระยะปลูกห่างกันต้นละ 1 เมตร และคาดว่าอีก 8 ปีข้างหน้าจึงจะให้ผลผลิตได้
หญ้าหวายข้อ
ปลูกเมื่อ 3 ปี ที่แล้ว หลักๆปลูกเอาไว้เลี้ยงวัว พื้นที่ปลูก 1 / 2 ไร่ จำนวน 3 แปลง วิธีการดูแลหญ้าก็ไม่ได้ดูแลอะไรมากปล่อยตามธรรมชาติ ประโยชน์ของหญ้าข้อคือใช้เป็นอาหารของวัวที่เลี้ยงไว้ได้
เวลาให้หญ้าวัวพี่ชาญชัยก็จะไปเกี่ยวหญ้าใส่ซาเล้งขนมาให้วัวกินวันละ 2 เที่ยว วันไหนพี่ชาญชัยไม่ว่างก็จะเป็นลุงวิเวกไปเกี่ยวหญ้าแทน ซึ่งหญ้าทั้ง 3 แปลงใช้เลี้ยงวัวหมุนเวียนเพียงพอตลอดทั้งปี ถ้าหน้าแล้งหญ้าในสวนไม่พอก็จะไปเกี่ยวแปลงที่อยู่ของข้างนอกมาเสริมซึ่งเป็นแปลงของลุงวิเวกเอง
การจัดการสวนยางในภาพรวม
ยางที่ปลูกในสวยยางพาราเป็นสายพันธุ์ RRIM 600 ยางสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากตนต่อโรคและให้ผลผลิตน้ำยางดี ประกอบกับดินในพื้นดีและปริมาณฝนที่ตกชุก ทำให้ต้นยางของลุงวิเวกเจริญเติบโตดี
การจัดการก็จะมีการตัดแต่งกิ่งยางให้โปร่ง เพื่อให้แสงเล็ดลอดลงมาทั่วถึงพืชชั้น 2 ที่ปลูกในร่อยยาง โดยเฉพาะมังคุดในช่วงออกดอกติดผล ถ้าได้รับแสงแดงน้อยจะไม่ติดผล เพราะฉะนั้นต้องดูแลเป็นพิเศษในช่วงนี้ การให้ปุ๋ยจะให้ 2 ครั้ง/ปี ให้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอกใส่เดือนละ 200-300 กระสอบ
ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นใส่ในพืชทุกชนิดเดือนละ 2 กระสอบ เป็นปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 การให้น้ำเป็น น้ำฝนตามธรรมชาติ การใช้ฮอร์โมนที่สวนจะไม่ใช้ฮอร์โมนหรือสารเร่งน้ำยางเลย น้ำกรดใช้ยี่ห้อวัวแดงเป็นกรดฟอร์มิกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้ 2 ขวดต่อเดือน
ผลผลิตที่ได้ขายเป็นยางก้อนถ้วย ถ้าขายเป็นน้ำยางสดลุงวอเวกบอกว่าขาดทุนแน่ เนื่องจากราคาต่ำกว่ายางก้อนถ้วย อีกทั้งในพื้นที่มีฝนตกชุก การทำน้ำยางสดจึงยุ่งยากกว่ายางก้อนถ้วย พอทำยางก้อนถ้วยและสะสมไว้มากพอแล้วก็จะมีนายหน้าหรือเจ้าของลานรับซื้อยางมารับซื้อถึงสวน ผลผลิตยางก้อนถ้วยต่อเดือนอยู่ที่ 8-12 ตัน
เก็บขายทุกๆ 7 วันได้ผลผลิตครั้งละ 2-3 ตัน ช่วงเปิดกรีด-ปิดกรีด เปิดหน้ายางตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.พ.ในปีถัดไป และเว้นช่วงปิดหน้ายางในช่วงหน้าร้อน ซึ่งเป้นช่วงที่ยางผลัดใบ น้ำในดินน้อย น้ำยางก็ออกน้อยเช่นกัน จึงปิดกรีดในช่วงนี้ ตั้งแต่เดือน มี.ค.- พ.ค. และเปิดกรีดอีกครั้งเดือน ก.ค.
ถ้าช่วง พ.ย. – ก.พ. เป็นช่วงหน้าฝน ฝนจะตกชุก กรีดยางยากเพราะยางจะโดนน้ำฝนและหน้ายางเสี่ยงต่อการถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ การจ้างแรงงานไม่ได้มีการจ้างแรงงาน หลักๆเป็นแรงงานในครอบครัวช่วยเหลือกันเอง หลัก ๆ เป็นคุณชาญชัยและคุณเบญจวรรณที่ช่วยงานลุงวิเวกใน สวนยางผสมผสาน เครื่องจักรกลทางการเกษตรก็ไม่ได้มี
ถ้าจะใช้รถไถในกรปรับพื้นที่ ก็ไปจ้างข้างนอกเอาเป็นครั้งคราว เนื่องจากต้องการลดต้นทุนและมีความคิดเห็นว่าคนในครอบครัวสามารถทำงานได้ โดยไม่ต้องจ้างแรงงานและลงทุนซื้อรถไถใหญ่ ราคายางก้อนถ้วยที่เขารับซื้อตอนนี้อยู่ที่ 32 บาทต่อกิโลกรัม
หากเกษตรกรท่านใดสนใจการปลูกยางพาราผสมผสานกับการเลี้ยงพืชและสัตว์ สามารถลงพื้นที่ไปดู ขอคำปรึกษาจากลุงวิเวกได้ ติดต่อลุงวิเวกโทร 099-671-3204