วิธีปลูกมันสําปะหลัง น้ำฝน ไม่ต้องลงทุนระบบน้ำ ผลผลิตเฉลี่ย 6 ตัน/ไร่/ปี
เป็นที่ทราบกันดีว่าการปลูก “มันสำปะหลัง” ในทุกวันนี้หากมีระบบการจัดการที่ดี มี ระบบน้ำ รองรับ ย่อมได้ผลผลิตที่ดีหรือการปลูกมัน ระบบน้ำ หยดจะให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ 8-20 ตัน/ไร่แน่นอน
แต่ทว่าการทำไร่มันสำปะหลังแบบต้องพึ่งพาน้ำฝนและไม่มี ระบบน้ำ รองรับ แล้วให้ผลผลิตที่ดีนั้นยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากสำหรับเกษตรกรไทยและเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก
แต่ทุกอย่างย่อมเป็นไปได้หากมีความพยายามและทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้เสมอหากเกษตรกรคนนั้นเป็น “เกษตรมืออาชีพ” เป็นชาวไร่มันสำปะหลังมืออาชีพที่รักและเอาใจใส่ในอาชีพของตนเองอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับชาวไร่มันสำปะหลังครอบครัวนี้ที่ยึดการทำไร่มันสำปะหลังตลอดชีวิตที่ผ่านมาภายใต้การพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง
ที่นำมาซึ่งการบริหารจัดการที่ดี ควบคู่ไปกับการเสาะแสวงหาวิธีการจัดการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับไร่มันสำปะหลังของตนเองจนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยการปลูกมันในระบบเทวดาที่ไม่มี ระบบน้ำ แต่กลับได้ผลผลิตที่ดี ผลผลิตมีคุณภาพ ได้เปอร์เซ็นต์แป้งที่ดี 28-30% มีราคาขายตั้งแต่ 1.97-2.50 บาท/กก. ที่สำคัญให้ผลผลิตเฉลี่ย 6 ตัน/ไร่/ปี นำมาซึ่งรายได้ที่ดีตลอดเวลาที่ผ่าน
ปรึกษาฟรี! และสนใจเข้าเยี่ยมชมไร่พี่ตุ่ม หากบอกว่ามาจากพลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร พืชพลังงาน
โทร.092-656-5800
โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
- การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง
- การไถยกร่องมันสำปะหลัง
- การใส่ปุ๋ยและขี้ไก่เพื่อบำรุงดิน
- พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก มันสำปะหลังสายพันธุ์ระยอง 9
- การขุดหัวมันสำปะหลัง
- ต้นทุนและกำไร
คุณวิไลลักษณ์ คีหกูล หรือ พี่ตุ่ม คือบุคคลที่กล่าวถึงในขั้นต้นนี้เพราะเธอคือชาวไร่มันสำปะหลังมืออาชีพที่ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่มุ่งมั่นทำไร่มันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพที่ต้องอาศัยทั้งเวลา ประสบการณ์ พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก
ตลอดจนการลองผิดลองถูกกว่าจะได้มาซึ่งสูตรสำเร็จในการทำไร่มันสำปะหลังให้ประสบความสำเร็จ จัดการง่าย ทำงานได้เร็ว โรคและแมลงน้อย ที่สำคัญยังให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าในหลายๆพื้นที่ที่ไม่มี ระบบน้ำ รองรับเช่นเดียวกันนี้ พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก
พี่ตุ่มเล่าว่าหลังจากเรียนจบชั้นป.6 แล้วก็ออกมาช่วยครอบครัวทำไร่มันสำปะหลังบนเนื้อที่ 150 ไร่ตลอดมาซึ่งการทำไร่มันสำปะหลังแต่ก่อนนั้นจะเห็นว่ามีต้นทุนการผลิตที่ถูกกกว่านี้ แต่ราคาขายผลผลิตก็ถูกด้วย แต่ในวันนี้แม้ราคาผลผลิตจะสูงขึ้น แต่ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเหมือนกัน พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก
ดังนั้นการทำไร่มันสำปะหลัง หากจะลดต้นทุนการผลิตแล้วให้ได้ผลผลิตที่ดีคงเป็นไปได้ยากเพราะไม่มี ระบบน้ำ รองรับ ผลผลิตต้องน้อยลงไปกว่าเดิม ชาวไร่มันก็คงจะอยู่ไม่ได้ แต่ทางในกลับกันหากชาวไร่มันเพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นมาหน่อย แต่ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นก็น่าจะดีกว่าไหม!! พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก
วิธีปลูกมันสําปะหลัง 150 ไร่ ที่ไม่มี ระบบน้ำ อาศัยน้ำฝนแทน
นี่คือแนวคิดที่เกิดขึ้นกับพี่ตุ่มที่จำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาไร่มันสำปะหลังของตนเองให้ดีและมีประสิทธิภาพขึ้นมาในทุกๆ ด้านเน้นการจัดการให้เป็นระบบมากขึ้น อีกทั้งมันสำปะหลังยังเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีและมีขั้นตอนการดูแลรักษาที่ง่ายกว่าพืชอื่นๆเป็นทุนอยู่แล้วด้วย
พี่ตุ่มจึงได้เริ่มพัฒนาการทำไร่มันสำปะหลังทั้ง 150 ไร่ที่แบ่งออกเป็น 3 แปลงที่ไม่มี ระบบน้ำ ที่ต้องอาศัยน้ำฝนเพื่อการเจริญเติบโตอย่างเดียวเท่านั้นให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นภายใต้สภาพดินที่เป็นดินร่วนปนเหนียว ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เป็นที่ราบทั้งหมดที่จำเป็นต้องเลือกสาย พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อนำมาซึ่งผลผลิตที่ดี
พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก
เดิมที่พี่ตุ่มเคยปลูกมัน พันธุ์เกษตรศาสตร์ แล้วจะเห็นว่าเกิดปัญหาหัวมันเน่าอย่างรุนแรงติดต่อกันนานถึง 2 ปีจนแทบจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้เลยจึงต้องแสวงหาพันธุ์ใหม่มาปลูกในพื้นที่จนกระทั่งตัดสินใจเลือกปลูกมันสายพันธุ์ “ระยอง 9” ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่นี่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ 8-9 เดือนขึ้นไป ให้แป้งดี 28-30% แตกกอดี หัวดก หัวใหญ่ หัวยาว บางต้นในบางปีหากดูแลดี ฟ้าฝนดีให้น้ำหนักถึง 20-30 กก./ต้น หัวดกมากถึง 28 หัว/ต้นเลยทีเดียว
แม้มันสำปะหลังสายพันธุ์นี้จะมีจุดเด่นคือให้ผลผลิตดีและให้แป้งดี แต่ก็ยังมีข้อเสียคือปลูกยากกว่าสายพันธุ์อื่นๆเพราะผิวบาง ปลูกแล้วตายง่าย ชาวไร่มันส่วนใหญ่จึงไม่นิยมปลูกกัน แต่ด้วยคุณภาพของผลผลิตที่ดีจึงเลือกที่จะปลูกสายพันธุ์นี้มานานกว่า 3 ปีแล้วที่จำเป็นต้องดูจังหวะการปลูกในแต่ละปีให้เหมาะสม ให้มีอัตราการรอดสูงที่สุด
การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง
โดย วิธีปลูกมันสําปะหลัง ที่นี่จะเริ่มต้นจากขั้นตอน “การเตรียมดิน” คือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จก็จะต้องรอจนกระทั่งฝนเริ่มตก ดินเริ่มมีความชื้นก็จะเริ่มต้นเตรียมดินด้วยการใช้ผาน 7ไถดะและไถแปรประมาณ 2 ครั้งก่อนโดยไม่ใช้ผาน 3 ไถดะเหมือนกับไร่อื่นเพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการใช้ผาน 3 ไถพลิกหน้าดินจะทำให้เปิดหน้าดินลึกมากจนเกินไป ทำให้มันไม่งามเพราะเอาหน้าลงไปไว้ลึกมากจนเกินไปนั่นเอง
หลังจากไถเตรียมดินเสร็จแล้วปกติพี่ตุ่มจะต้องใช้ขี้ไก่หว่านรองพื้นก่อน แต่ด้วยปัจจุบันนี้ที่ขี้ไก่เริ่มหายากขึ้นพี่ตุ่มจะใช้ปุ๋ยเคมีหว่านรองพื้นไปก่อนทำการ “ไถยกร่อง” วิธีปลูกมันสําปะหลัง ที่เน้นการยกร่องขนาดใหญ่ ให้มีความความกว้าง 1.5-2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการทั้งระบบ
การ “ตัดท่อนพันธุ์” เพื่อง่ายต่อการจัดการ
ก่อนจะนำท่อนพันธุ์ระยอง 9 ที่เตรียมไว้ในแปลงอยู่แล้วมาตัดให้มีความยาวประมาณคืบนิดๆ ก่อนจะจ้างแรงงานปลูกในระยะ 80 ซม.ขึ้นไปโดยไม่มีการชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีใดๆทั้งสิ้นเพราะเคยทำมาทุกวิธีแล้วแต่ผลผลิตก็ที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างจากแปลงที่ไม่ได้ชุบท่อนพันธุ์เลย
อีกทั้งการ “ตัดท่อนพันธุ์” ไม่ให้สั้นหรือยาวมากจนเกินไปนั้นจะทำให้การฉีดพ่นยาและเก็บหญ้ารุ่นทำได้ดีกว่า การทำงานได้ง่ายกว่า โดยแต่ละปีพี่ตุ่มจะมีการบริหารจัดการไร่มันในแต่ละช่วงอย่างเป็นระบบคือแปลงไหนที่ปลูกก่อนก็ต้องทยอยขุดเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปก่อนแล้วก็ทยอยปลูกไปทีละแปลงครั้งละประมาณ 20 ไร่
เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นฝนในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายนเป็นต้นไปขึ้นอยู่กับน้ำฝนจะมาช่วงไหนก็เริ่มปลูกช่วงนั้น จนกระทั่งครบทั้งหมด 150 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แรงงานประมาณ 11-12 คน/วันและการปลูกมันแต่ละแปลงให้แล้วเสร็จต้องใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน/พื้นที่ 20 ไร่
“แต่ก่อนเราเคยมีคนงาน 9-10 คน เป็นคนเขมร ให้ทำงานทุกอย่างภายในไร่ แต่ปัญหาเรื่องคนงานเยอะมาก ทำบัตรยาก ไม่มีบัตรตำรวจก็จับ เสียเวลาและต้องวิ่งเต้นทำบัตร กว่าจะนัดวันหลายหน่วยงานมาก เราเลยไม่ไหว บางคนก็กลับบ้านแล้วก็ไม่กลับมา เราจึงตัดสินใจไม่มีคนงานดี กว่า จ้างเอาดีกว่า สบายใจกว่าด้วย ” คุณวิไลลักษณ์ชี้แจงเรื่องปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้น
การไถ ยกร่องมันสำปะหลัง
ซึ่งข้อดีของการ “ยกร่องขนาดใหญ่” และเน้นการ “ปลูกมันให้ห่าง” นั้นจะทำให้หัวมันไม่เน่าเสียง่าย เมื่อฝนตกลงมาดินมีความชื้นมาก การทำร่องใหญ่ช่วยให้น้ำไหลตกดี สามารถระบายนำออกจากร่องได้ดีกว่า ใส่ปุ๋ยง่ายกว่า ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าง่ายกว่า เข้าไปจัดการไร่มันได้ง่ายกว่า อากาศถ่ายเทดี ไม่ค่อยมีโรคแมลงและเพลี้ยเข้าทำลายต้นมันมานานหลายปีแล้ว หัวมันโตดีกว่าเพราะรากไปได้ไกลกว่า มีพื้นที่หากินมากกว่านั่นเอง
ประกอบกับมันสำปะหลังสายพันธุ์นี้มีความอ่อนแอ ปลูกแล้วตายง่ายแต่ให้ผลผลิตที่ดี ทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแม้จะเกิดภาวะภัยแล้งอย่างหนักแต่ มันพันธุ์ “ระยอง 9” ก็ยังให้ผลผลผลิตที่ดี แม้จะปลูกแล้วมีอัตราการรอดที่ 80% และตายไปกว่า 20% ที่ต้องปลูกซ่อมใหม่ด้วยการจ้างแรงงานวันละ 300 บาท
หรือมีต้นทุนในการปลูกซ่อมในปีที่ผ่านมาที่ 3,000 บาทเท่านั้น จากหลังประมาณ 1.5 เดือนต้นมันก็จะเริ่มแตกใบอ่อนและใบสมบูรณ์ทั้งหมดแล้วก็จะดูว่าหากมีหญ้าวัชพืชขึ้นมาจะต้องฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าแบบเผาไหม้เพื่อให้พื้นที่โล่งเตียน เมื่อต้นมันสำปะหลังเริ่มโตขึ้นมามีขนาดเท่าเอวหากมีหญ้าวัชพืชขึ้นมาก็จะฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้ง
มุ่งเน้นการใส่ “ ปุ๋ยมันสําปะหลัง คุณภาพดี” แทน
เกษตรกรรายนี้ให้ความสำคัญกับการจัดการไร่มันให้เป็นระบบ มุ่งเน้นการ “ใส่ ปุ๋ยมันสําปะหลัง คุณภาพดี” ได้ มาตรฐาน จากร้านเคมีเกษตรที่มีคุณธรรมประจำใจที่ยึดหลักการให้ข้อมูลที่แท้จริงเพื่อนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรเป็นหลักสำคัญ
ดังนั้นการปลูกมันที่ให้ผลผลิตมากเท่าไหร่ ก็ต้องใส่ ปุ๋ยมันสําปะหลัง กลับคืนลงไปในดินให้เหมาะสมและเพียงพอกับการปลูกพืชในรอบต่อไปเท่านั้นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอทุกปี
เมื่อต้นมันสำปะหลังมีอายุได้ประมาณ 3-4 เดือนก็จะใส่ ปุ๋ยมันสําปะหลัง เคมีสูตร 13-13-21 ตรายารา ในอัตรา 50 กก./ไร่ หรือประมาณ 150 ลูก/ปีไม่รวมกับปุ๋ยรองพื้นที่ได้ซื้อมาจาก “ร้าน ภ.เกษตรภัณฑ์” โดยมี คุณภินันท์ วรรณีเวชศิลป์ เป็นเจ้าของที่คอยให้คำแนะนำกับเกษตรกรถึงขั้นตอนการใช้ ปุ๋ยมันสําปะหลัง ยาและสารเคมีให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วยดีตลอดมา
โดยทางพี่ตุ่มยืนยันว่าได้เป็นลูกค้าของคุณภินันท์หรือที่ชอบเรียกติดปากว่า “ลุงนันท์” มานานหลายสิบปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังเปิดร้านค้าเล็กๆอยู่ในตลาด ก่อนจะขยายกิจการออกมาสร้างตึกในพื้นที่ปัจจุบันที่ตั้งอยู่ใกล้กับสี่แยกพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เพราะเชื่อมั่นในสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ใช้แล้วเห็นผลจริงตามคำแนะนำ
ช่วยให้การทำไร่มันมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่การจัดการที่ถูกต้องและการใส่ ปุ๋ยมันสําปะหลัง ที่ถูกต้อง ใช้ปุ๋ยที่ดี ปุ๋ยมีคุณภาพเท่านั้นเอง “ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไร่มันเราเป็นโรคหัวเน่าทั้งแปลง ทำอย่างไรก็ไม่หายก็เดินทางไปที่ร้าน ภ.เกษตรภัณฑ์พร้อมกับบอกปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟัง
ลุงนันท์ก็ได้วิเคราะห์ปัญหาให้ทราบแล้วก็ได้ให้สินค้าชีวภัณฑ์มาตัวหนึ่งเพื่อนำมาผสมน้ำค้างคืนไว้ก่อน พอเช้าขึ้นมาก็นำไปผสมน้ำแล้วฉีดพ่นไร่มันป้องกันโรคหัวเน่าได้เลย ตอนแรกก็ไม่เชื่อ แต่พอลองใช้ตามที่ลุงนั้นแนะนำจะเห็นว่าโรคหัวในไร่มันของเรามันไม่ระบาดต่อ ก็เห็นผลจริง หลังจากไปปีแรกจนเห็นผลแล้ว
ลุงนั้นก็แนะนำให้ใช้ต่อในปีที่ 2 เราก็ใช้ต่อแล้วปรากฏว่าโรคหัวเน่าก็หายไปจากไร่มันสำปะหลังเราเลยนับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเชื่อมั่นและมั่นใจกับสินค้าที่ร้าน ภ.เกษตรภัณฑ์มากจนเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดมา ทุกวันนี้ก็ซื้อปุ๋ยซื้อยาจากร้านลุงนันท์ทั้งหมด ซึ่งปีหนึ่งเราก็ใช้ปุ๋ยเยอะ แต่เราก็ได้ผลผลิตที่ดีก็คุ้มค่าแก่การลงทุน ” คุณวิไลลักษณ์เผยถึงปัญหา
ในอดีตที่ยากแก่การแก้ไขแต่ด้วยคำแนะนำของร้าน ภ.เกษตรภัณฑ์ทำให้ปัญหานั้นหมดไปได้ภายใน 2 ปีโดยไม่มีโรคนี้กลับเข้ามาในไร่มันอีกเลย
ต้นทุนการผลิตหลัก ของการทำไร่มันสำปะหลัง
ที่สำคัญหลังจากใส่ ปุ๋ยมันสําปะหลัง เสร็จแล้ว เมื่อต้นมันสำปะหลังมีอายุได้ประมาณ 5-6 เดือนก็จะทำการหักกิ่งมันสำปะหลังให้เหลือเพียง 1-2 กิ่ง/ต้น เพื่อให้มันลงหัวดี หัวดก สังเคราะห์แสงได้ดี ขยายหัวใหญ่ สร้างแป้งดี หากแปลงไหนที่หักกิ่งแล้วต้นมันสำปะหลังสวยก็จะเก็บต้นมันแปลงนั้นไว้เป็นท่อนพันธุ์ในฤดูกาลถัดไปได้
“ ตั้งแต่ช่วง วิธีปลูกมันสําปะหลัง เราจะมีต้นทุนหลักๆ คือค่าไถและไถแปรไร่ละ 350 บาท ค่าไถยกร่องไร่ละ 350 บาท ค่าปลูกไร่ละ 300 บาท ค่าฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าไร่ละ 120 บาท/ไร่ ซึ่งในบางปีต้องฉีดพ่น 2-3 ครั้ง” พี่ตุ่มยืนยันถึงต้นทุนการผลิตในการทำไร่มันสำปะหลัง
ส่วนปัญหาเรื่องโรคและแมลงในไร่มันสำปะหลังนั้นแทบจะไม่มีเลยจะมีเพียงแค่เพลี้ยไฟที่จะเริ่มระบาดบ้างในช่วงหน้าแล้ง แต่ถ้าฝนตกลงมาโรคเหล่านี้ก็จะค่อยๆหายไปเอง
การเก็บเกี่ยวผลผลิต การขุดหัวมันสำปะหลัง
เมื่อมันสำปะหลังมีอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไปก็จะเริ่มขุดเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันที โดยพี่ตุ่มจะต้องโทรไปแจ้งทีมขุดเก็บมันสำปะหลังที่มีอยู่ในพื้นที่ให้มาเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตามวันและเวลาที่กำหนดครั้งละประมาณ 20 ไร่เช่นเดียวกับตอนปลูกที่จะใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 4-5 วันด้วยแรงงานประมาณ 9-10 คน
โดยมีอัตราค่าจ้างแบบเหมาหรือมีค่าบรรทุกที่ 45 สตางค์/กก. ค่าไถขุดหัวมัน 25 สตางค์/กก. ค่าเก็บหัวมัน 20 สตางค์/กก. ทำให้มีต้นทุนค่าแรงที่ 45 สตางค์/กก. หรือมีต้นทุนการผลิตโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 1.50 บาท/กก.ก็ยังพอมีรายได้เหลือเก็บบ้างในแต่ละปี มีเงินซื้อ ปุ๋ยมันสําปะหลัง ที่ดี มีคุณภาพใส่ให้กับไร่มันสำปะหลังได้อย่างต่อเนื่องทุกปี
ในขณะที่ผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งไปขายยังโรงแป้งในพื้นที่ที่ห่างออกไปเพียง 10 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งผลผลิตที่นี่มีราคาขายตั้งแต่ 1.97-2.50 บาท/กก. ให้แป้งดี 28-30% ให้ผลผลิตเฉลี่ย 6 ตัน/ไร่/ปีที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
ธุรกิจการรับซื้อ “เหง้ามัน” ช่วยเพิ่มกำไรเฉลี่ย 2,000-3,000 บาท/วัน
ในขณะที่ “เหง้ามัน” ซึ่งอดีตเคยเป็นของเสียเหลือทิ้งไว้ในไร่มันนั้นแต่วันนี้ทางโรงงานได้มีการรับซื้อเหง้ามันเข้าไปใช้ในโรงงานอย่างเต็มตัวโดยจะมีการรับซื้อที่ 550 บาท/ตัน ซึ่งในปัจจุบันก็ได้เกิดธุรกิจการรับซื้อ “เหง้ามัน” ขึ้นในพื้นที่ถึงขั้นว่ามีการออกรถกระบะใหม่ป้ายแดงมาวิ่งรับซื้อเหง้ามันส่งเข้าโรงงานที่มีรายได้ค่อนข้างดีเฉลี่ย 2,000-3,000 บาท/วัน
“ใบมันสำปะหลัง” มีค่า ขายเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในราคา 2,000 บาท/ตัน
ขายนอกจากนี้ยังมีการรับซื้อ “ใบมันสำปะหลัง” จากเกษตรกรเพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ในราคา 2,000 บาท/ตัน แต่เนื่องจากปริมาณใบมันที่มีค่อนข้างน้อยในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้ไม่มีเกิดแรงจูงใจแก่เกษตรกรเท่าที่ควร ซึ่งในอนาคตพี่ตุ่มมีแผนที่จะตั้งลานมันเป็นของตนเอง
ด้วยเหตุผลที่ว่า “วันนี้โรงแป้งในพื้นที่ยังรับซื้อหัวมันสดอยู่ เราก็ยังไม่ทำลานมัน แต่มันจะมีบางช่วงของหน้าฝนคือช่วงมิถุนายน กรกฎาคมที่แป้งจะไม่ค่อยดี โรงแป้งก็จะปิดการรับซื้อหัวมันสดไปประมาณ 3 เดือนทุกปีจะเปิดอีกทีก็คือเดือนสิงหาคม จึงมีแนวคิดที่จะทำลานมันเองซัก 5 ไร่แล้วทำมันโม่ให้เป็นมันเส้นเอาไว้ได้
แต่ในความเป็นจริงแล้วโรงแป้งเขาได้กำไรทั้งนั้นในทุกกระบวนการผลิตทั้งเปลือกมัน กากมัน น้ำเสีย ขายได้ทุกอย่างไม่มีทิ้งอยู่แล้ว” พี่ตุ่มให้ความเห็น พร้อมกันนี้อยากฝากถึงชาวไร่มันสำปะหลังว่าต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาและประยุกต์ใช้กับไร่มันตนเองให้มีประสิทธิภาพ
เน้นการจัดการที่ดี การใส่ ปุ๋ยมันสําปะหลัง ที่ดีมีคุณภาพ เพราะ ปุ๋ยมันสําปะหลัง คือธาตุอาหารที่สำคัญของพืชทุกชนิด เมื่อพืชได้ธาตุอาหารที่ดี ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และให้ผลผลิตที่ดีกับเกษตรกรเช่นเดียวกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาฟรี! และสนใจเข้าเยี่ยมชมไร่พี่ตุ่ม หากบอกว่ามาจากพลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร พืชพลังงาน
โทร.092-656-5800
ขอขอบคุณข้อมูล
ร้าน ภ.เกษตรภัณฑ์ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา คุณภินันท์ วรรณีเวชศิลป์ โทร.092-656-5800 และ คุณวิไลลักษณ์ คีหกูล และคุณวสัน แก้วรักษ์ 245 ม.13 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120 โทร.089-252-3319
วิธีปลูกมันสําปะหลัง ปุ๋ยมันสําปะหลัง ระบบน้ำ ปุ๋ยทางใบมันสําปะหลัง พันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูก การปลูกมันสำปะหลังแบบใหม่ ปุ๋ยใส่มันสําปะหลัง