ปลูกมังคุด ภูเขาบ้านคีรีวง ราคาแพงที่สุดในไทย ชาวสวนขายได้ 300 บาท / กก. สวนมังคุด
มังคุดเป็น “ราชินีแห่งไม้ผล” ที่ใครได้ลองลิ้มชิมในรสชาติแล้วจะติดใจ ด้วยเนื้อในสีขาวบริสุทธิ์ดุจปุยนุ่น ความหวานอมเปรี้ยว กลิ่นและรสชาติละมุนละไม ชวนให้หลงใหลในรสชาติเฉพาะตัวของมังคุด ราชินีไม้ผลแห่งสยาม
แต่ “มังคุด” ที่ “บ้านคีรีวง” เป็นหนึ่งเดียวที่ไม่เหมือนมังคุดที่ใด เพราะเป็นมังคุดที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ ราคาที่ชาวสวนขายได้ อยู่ระหว่าง 50 – 300 บาท / กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วลูกละ 5 – 30 บาท
โดยจะมีเนื้อหาดังนี้
- การ ปลูกมังคุด ภูเขาบ้านคีรีวง
- สวนมังคุด บนยอดเขาคีรีวง
- การแปรรูปมังคุด เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
- การผสมปุ๋ยหมักเพื่อฉีดพ่นต้นมังคุด
- การป้องกันโรคและแมลง
- ระบบน้ำของ การปลูกมังคุด ระบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้า
- การเก็บเกี่ยวมังคุด
- การคัด มังคุดเพื่อส่งให้กับพ่อค้า
- การทำ มังคุดเสียบไม้มีที่เขาคีรีวงที่เดียว
- ลักษณะมังคุดที่ชนะเลิศการะประกวด
- ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.comโทร.081-7198474 / 089-9086427
ปลูกมังคุด ภูเขาบ้านคีรีวง
คุณสมบัติของมังคุดเขาบ้านคีรีวงที่โดดเด่นกว่ามังคุดที่อื่น เพราะมีแหล่ง ปลูกมังคุด อยู่บนเทือกเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร ลักษณะการ ปลูกมังคุด จะอยู่ร่วมกับผืนป่าตามธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าที่มีความชื้นสูง
สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการให้ผลผลิตมังคุดที่มีผิวมัน กลีบที่ขั้วผลมีสีเขียวโดยไม่ต้องใช้สารเร่งใดๆ เป็นมังคุดที่อยู่ร่วมกับป่าตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้สารเคมีไปกระตุ้นแต่อย่างใด
สวนมังคุด บนยอดเขาคีรีวง
โดยเฉพาะชาว สวนมังคุด ที่นี่เป็นคนขยันขันแข็งมากๆ และพิสูจน์ได้ เพราะการไปสร้างสวนมังคุด เพื่อเก็บผลมังคุดบนภูเขาที่สูงขนาดนี้ ชาวสวนจะต้องใช้รถจักรยานยนต์คู่ชีพของเขาซึ่งจะมีที่นี่เพียงแห่งเดียว
เป็นจักรยานยนต์ที่นำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาประกอบที่บ้านคีรีวง มีทะเบียนเป็นของคีรีวง ใช้เฉพาะขึ้นสวนไปบนภูเขาเท่านั้น ที่ลาดสูงชันอย่างไรก็ไม่หวั่น เกษตรกรที่นี่สามารถขึ้นไปได้ด้วยความสามารถเฉพาะตัว ห้ามลอกเลียนแบบ
มังคุดเขาแห่งบ้านคีรีวงเป็นมังคุดที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย พิสูจน์ได้หลังจากที่สำนักงานจัดการคุณภาพ อากาศ และเสียง กรมควบคุมมลพิษได้ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพอากาศบริเวณบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 พบว่าบริเวณดังกล่าวมีค่า AQI ระหว่าง 17 – 49 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อากาศดีมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ฉะนั้นมังคุดที่ปลูกอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพดินอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แหล่งน้ำดี อากาศดี คนมีอัธยาศัยไมจิตรดี ฉะนั้นผลผลิตมังคุดของที่นี่ต้องดีที่สุดด้วย
การแปรรูปมังคุด
แต่น่าเสียดายคนในประเทศไทยไม่มีโอกาสได้ลิ้มลองในรสชาติ เพราะมังคุดส่วนใหญ่โกอินเตอร์ทั้งหมด ส่วนมังคุดตกเกรด ไม่ได้ขนาด และไม่สามารถขายตลาดภายในได้ ก็ถูกนำมาแปรรูปเป็น “มังคุดกวน” เป็น “ไวน์มังคุด”
แม้แต่เปลือกมังคุดยังไม่ต้องทิ้ง นำมาล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้น ตากแดดให้แห้ง ขายได้อีก เพราะที่นี่เป็นต้นกำเนิดของสบู่ที่มีส่วนผสมของเปลือกมังคุด และผลิตภัณฑ์เสริมความงามอีกหลายชนิด
ภายใต้แบรนด์เนม “มิสเตอร์มังคุด” โด่งดังไปถึงต่างประเทศ เท่านั้นยังไม่พอ “ใบมังคุด” ยังสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าแบบธรรมชาติได้อีกด้วย ก่อให้เกิดกลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกหลายกลุ่ม
เกษตรกรคนที่ 1 – คุณส่อง บุญเฉลย กับ สวนมังคุด ภูเขา 200 ต้นผลผลิต 30 ตัน
เมื่อทราบความเป็นไปเป็นมาของมังคุดที่ดีที่สุด หนึ่งในสยามกันแล้ว ลองมามองตำนานการต่อสู้ชีวิตที่มีมาอย่างยาวนานกว่าจะถึงวันนี้ของ คุณส่อง บุญเฉลย ผู้มีริ้วรอยแห่งการต่อสู้ชีวิตอย่างสมบุกสมบันมายาวนานแห่งขุนเขาคีรีวง
ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างโชกโชนด้วยวัย 72 ปีแล้ว แต่ยังดูแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าขายแกง พ่อค้าขายโรตี แม้กระทั่งการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด วิถีชีวิตยังหาความลงตัวไม่ได้ เลยขึ้นไปปักหลักอยู่บนภูเขา
ซึ่งในขณะนั้นมี ปลูกมังคุด อยู่เดิมเพียง 4 ต้น ก็ได้ไปเริ่มต้น ปลูกมังคุด และทุเรียน เพิ่มลงไปในผืนป่าตามสภาพที่เอื้ออำนวย เมื่อประมาณปี 2518 ได้รับกิ่งพันธุ์ลองกองตันหยงมัส จากผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้น จำนวน 3 ต้น
นำขึ้นไปปลูกแซมไว้กับไม้ผลอื่น ๆ จวบย่างเข้าสู่ปีที่ 10 ลองกองทั้ง 3 ต้นก็ให้ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจมาก ขายได้ราว 30,000 กว่าบาท สร้างความปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่ง คิดว่าลองกองก็น่าจะเป็นพืชทองของที่นี่
เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนเกิดขึ้นในฉับพลันตกดึกคืนนั้นเกิดฝนตกมาทั้งคืน ตื่นเช้ารีบออกไปดูลองกองในสวนเห็นแต่ละช่อเริ่มปริแตก จึงได้รีบตัดช่อที่ยังไม่ปริแตกลงเข่งที่วางไว้ แต่ไม่ทันการเมื่อผลลองกองลงมาอยู่ในแข่งแล้ว ในวินาทีนั้นที่เงินแสนที่คาดหวังไว้หายสิ้นไปในพริบตา
จึงตัดสินใจโค่นทิ้งทั้งหมดใช้เวลาที่เหลือหันไป ปลูกมังคุด และให้ความสำคัญกับ “ทุเรียนและมังคุด” ที่มีอยู่แทน อย่าง “มังคุด” เมื่อก่อนโน้นก็ราคาไม่ได้สูงมาก กิโลกรัมละ 13 – 15 บาท ก็พออยู่ได้ เพราะมังคุดเป็นไม้ผลที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
ไม่เหมือนกับทุเรียน ทุเรียนต้องดูแลรักษามากกว่า แต่ราคาทุเรียนมันจูงใจกว่าในช่วงประมาณปี 2538 เคยขายทุเรียนหมอนทองจากสวนได้กิโลกรัมหนึ่งถึง 70 บาท นับว่าเป็นราคาที่ดีมากในขณะนั้น
การใส่ปุ๋ยมังคุด และ ป้องกันโรค+แมลง
แต่มาวันนี้มังคุดคุณภาพดีเพื่อการส่งออกกลับสร้างแรงจูงใจให้กับเขาผู้นี้เป็นอย่างมาก ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของมังคุดภูเขา ลูกใหญ่ ผิวมัน หูเขียว
จึงเกิดแรงบันดาลใจหันมาพัฒนาการทำ สวนมังคุดด้วยการนำเศษปลามาหมักเป็นน้ำมักชีวภาพเข้าไปในในสวนเสริมกับการใช้ปุ๋ยผสมบ้างตามความจำเป็นเพื่อต้องการผลผลิตมังคุดคุณภาพเพื่อการส่งออกนั่นเอง มังคุดทั้งหมดประมาณ 200 ต้น เคยให้ผลผลิตได้มากถึง 30 ตันก็เคยมี
การเก็บเกี่ยวมังคุด
ปีที่ผ่านมาได้ประมาณ 12 ตัน หากผลผลิตออกผิดฤดูกาล(นอกฤดู)จะได้กิโลกรัมละ 200 – 300 บาทก็มีได้ ในฤดู ราคาอยู่ในช่วง 80 – 100 บาท มังคุดภูเขาที่นี่ต้องจ้างคนเก็บผลผลิตกิโลกรัมละ 10 บาท ค่าจ้างรถมอเตอร์ไซค์ปีนเขาขนลงมาที่แผงด้านล่างอีกกิโลกรัมละ 1 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกพอสมควรเพราะต้องขึ้นไปอยู่บนภูเขา
ระบบน้ำของ การปลูกมังคุด ระบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้า
ด้วยความคิดที่ไม่ได้อยู่แค่การ ปลูกมังคุด ปลูกทุเรียน แต่คุณส่อง บุญเฉลย ไม่ได้ว้าเหว่อยู่กับการทำ สวนมังคุด ที่โดดเดี่ยวบนเทือกเขาหลวงอีกต่อไปเพราะเขาไม่เคยหยุดความคิดไว้เพียงแค่ทำ สวนมังคุด
เมื่อยามว่างเขาได้คิดค้นประดิษฐ์กังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า ทดลองเอาวงล้อจักรยานเก่า ๆ มาดัดแปลงติดกับลูกถ้วยเพื่อขับเคลื่อนกังหัน กระทั่งได้มารู้จักกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้นำแนวคิดของ ส่อง บุญเฉลย ไปสานฝันตามหลักวิศวกรรม
จนก่อให้เกิด “กังหันน้ำคีรีวง”ชุดผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กออกมาหลายรุ่นและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในวันนี้บนเทือกเขาหลวงมีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กใช้แรงดันจากน้ำตก
มีใช้กันอยู่หลายครัวเรือน เพิ่มความสะดวกสบายทั้งดูทีวี ชาร์จโทรศัพท์ ทำให้ไม่ขาดการติดต่อสื่อสารจากภายนอก ส่งผลให้ผลผลิตของเกษตรกรที่นี่โกอินเตอร์ได้ในพริบตา
เกษตรกรคนที่ 2 – คุณวิรัติ ตรีโชติ แกนนำด้านการเกษตรกรส่งเสริมการ ปลูกมังคุด ภูเขา มีตลาดรองรับแน่นอน
คุณวิรัตน์ ตรีโชติ แกนนำด้านการเกษตรกรของที่นี่และเป็นประธานวิสาหกิจไม้ผลอำเภอลานสกา ได้เล่าถึงการทำ สวนมังคุด บนภูเขาคีรีวง ทำให้เราทราบว่าลักษณะการทำ สวนมังคุด ของชาวบ้านชุมชนคีรีวงในอดีต
เรียกว่า “สวนสมรม” หมายถึงการทำเกษตรในพื้นที่เดียวกันปลูกไม้ผลหลายๆชนิดรวมกัน ปลูกทุกอย่างที่อยากจะปลูก คิดว่าพื้นที่ตรงไหนน่าจะเอาไม้อะไรลงปลูกได้ ก็จัดการลงปลูกตามโอกาสที่อำนวย เช่น ทุเรียนพื้นเมือง,ลางสาด,จำปาดะ,มังคุด ฯลฯ
อนุรักษ์ไม้ที่มีอยู่เดิมไว้เป็นไม้ใช้สอย เช่น ไม้จำปาทอง,ตะเคียน,หลุมพอ เป็นต้น ไม้ริมห้วย,ริมคลอง และผลไม้ป่า เช่น สะตอป่า,ส้มแขก (ส้มกันดาน),ลูกประ, ผักธรรมชาติ เช่น บอนขมิ้น,บอนส้ม,ผักกูดเขา,กล้วยป่า
มังคุดภูเขาอายุยาวกว่า 100 ปี
นอกนั้นยังมีการปลูกพืชเศรษฐกิจตามยุคสมัยด้วย เช่น หมาก,กาแฟ,ยางพารา,ทุเรียนพันธุ์,มังคุด เป็นต้น ทำให้เห็นพืชบางชนิดมากบ้าง น้อยบ้าง ที่ยังเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน มังคุดเขาคีรีวงก็เช่นกัน จึงจะเห็นมังคุดที่มีอายุกว่า 100 ปี มีอยู่ตามวัด บ้านและในสวน
มังคุดที่ปลูกอยู่บนภูเขาที่มีอายุกว่า 100 ปี จะมีอยู่ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณไม่เกิน 200 เมตร จะมีหลงเหลืออยู่ไม่น่าจะเกิน 10 ต้น (โดยประมาณการจากประสบการณ์ของตนเอง)
ในอดีตเป็นการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ปลูกพืชผสมกับป่า ไม่มีการใช้สารเคมี อาศัยธรรมชาติเป็นตัวกำหนด ชุมชนก็ยังอยู่กันมาได้ถึงวันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปมาก ชุมชนขยาย ผู้คนหลากหลาย การสื่อสารที่รวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงปัญหาการทำสวนมังคุดภูเขาในเวลานี้
การทำสวนปลูกมังคุดภูเขาและผลไม้อื่นๆก็อยู่ภายในเขต ความสูงประมาณ 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ระบบน้ำของการ ปลูกมังคุด บนภูเขา
นอกจากปัญหาในการขยายพื้นที่แล้ว การบริหารจัดการน้ำก็นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน จากความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าที่มีการทำสวนแบบสมรม ทำให้ภายในสวนมีความชุ่มชื้น มีน้ำในลำห้วย ลำคลอง ตลอดทั้งปี ส่งผลให้มังคุดมีคุณภาพดีด้วย
ในอดีตช่วงหน้าแล้งแทบไม่ต้องรดน้ำ แต่ในปัจจุบันหลังจากเกิดอุทกภัย เมื่อปี 2531 จากนั้นความแห้งแล้งเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจนชาวบ้านต้องหันมาหาระบบน้ำมากขึ้น ในแต่ละปีมีท่อน้ำขึ้นไปบนเทือกเขานี้หลายพันท่อน มีการแย่งกันต่อน้ำจากลำห้วย ลำคลอง ที่อยู่สูงกว่าที่ทำกิน
โดยใช้ท่อพีวีซีมาใช้รดน้ำต้นไม้ภายในสวน เรียกว่า “ประปาภูเขา” แหล่งน้ำหลักมีอยู่ 3 คลองหลัก คลองท่าชาย อยู่หมู่ที่ 8 ตำบลกำโลน คลองใหญ่ หรือคลองท่าหา อยู่หมู่ที่ 9 และคลองปง อยู่หมู่ที่ 10 ในตำบลเดียวกัน
นอกนั้นยังมีลำห้วยเล็กๆ อีกหลายสาขากระจายกันอยู่ทั่วไป ทำให้ชาวบ้านต่อน้ำมาใช้เข้าสวนที่ขยายใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ลำคลองที่ต่อน้ำมาใช้มากที่สุด คือ คลองปง
เพราะน้ำอยู่บนที่สูงกว่าที่ทำกิน จนบางปีหากฝนทิ้งช่วงเกินกว่า 50-60 วัน ส่งผลให้น้ำในลำคลองแห้งได้ เพราะน้ำถูกนำไปใช้ในสวนมากเกินไป
มังคุดที่ชนะเลิศการประกวด พ่อค้าขึ้นไปรับซื้อมังคุดถึงชายเขาคีรีวง
หากมองไปที่“การพัฒนาคุณภาพมังคุดภูเขาคีรีวง” โดยธรรมชาติจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ และป่า จะเป็นตัวช่วยให้มังคุดภูเขาคีรีวง เป็นมังคุดที่มีคุณภาพทั้งภายนอก คือ ขนาด ,ผิว,หู และขั้วที่มีลักษณะแตกต่างจากมังคุดทั่วๆไป ภายใน คือ เนื้อ,รสชาติหวานอมเปรี้ยว และเปลือกหนา
แต่ในปัจจุบันชาวสวนมีการบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี,ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ มีการฉีดยาฮอร์โมน ให้ได้ตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ยาหลายชนิดถูกแนะนำโดยพ่อค้าผู้มารับซื้อมังคุดภายในท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบในระยะยาวก็อาจเป็นได้
นี่ก็เป็นผลมาจากความเจริญทางด้านต่างๆ หลายด้านที่เรียกว่าโลกไร้พรมแดนนั่นเอง หากไม่มีการนำระเบียบ กฎกติกา มาใช้เพื่อรักษามาตรฐานของมังคุดเขาคีรีวง อนาคตอาจจะเหลือแค่ชื่อก็เป็นได้ แล้วใครจะรู้นอกจากคนคีรีวง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกำโลน ที่อยู่ 59 หมู่ที่9 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com
โทร.081-7198474 / 089-9086427
ปลูกมังคุด วิธีปลูกมังคุด สวนมังคุด วิธีการปลูกมังคุด มังคุดสรรพคุณ สรรพคุณมังคุด การปลูกมังคุด การใส่ปุ๋ยมังคุด วิธีการปลูกต้นมังคุด ปลูกมังคุดในกระถาง