วิธีการปลูกทุเรียน สายพันธุ์ใหม่ “ทุเรียนทองลินจง” ปลูกแบบ “ทุเรียนล้า” ขายตลาดส่งออก ราคาแพง
เป็นที่ทราบกันดีว่า “ทุเรียน” เปลี่ยนชาวสวนให้เป็นเศรษฐีมาหลายคน ในหลายพื้นที่ หลายยุคหลายสมัยมาแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดจากบุคคลที่กำลังจะนำเสนอเรื่องราวต่อไปว่าเขามีชีวิต มีทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาได้ด้วย การทำสวนทุเรียน ซึ่งเป็นอาชีพเดิมของครอบครัว
แต่เมื่ออาชีพตกมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาย การทำสวนทุเรียน จึงได้มีการประยุกต์ใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะการจัดการทั้งในอดีตและปัจจุบันเข้ามาบริหารจัดการสวนทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนำมาซึ่งผลผลิตที่ดีมีคุณภาพป้อนตลาดไทยและส่งออกตลอดเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าเซียนทุเรียนคนนี้ที่มากด้วยประสบการณ์และความชำนาญต้องมีเทคนิคด้านการจัดการที่ไม่เป็นสองรองใครเพื่อให้ทุเรียนติดดอกออกช่อ ให้ผลผลิตที่ดีเสมอมา
นายกสมชาย ลินจง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ผู้นำท้องถิ่นคนเก่งที่มีความมุ่งมั่นพยายามทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละตลอดเวลาที่มา ไปพร้อมๆกับ การทำสวนทุเรียน สวนลำไยนอกฤดู สวนยางพาราบนเนื้อที่หลายร้อยไร่ทั้งในและนอกพื้นที่มานานกว่า 40 ปี
ภายใต้การประสบการณ์และความชำนาญเพื่อนำมาซึ่งการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่ต้นทางของการผลิตไปจนถึงกระบวนการเกี่ยวผลผลิตเพื่อส่งมอบให้กับตลาดปลายทางได้รับผลผลิตที่ดี “มีคุณภาพ” ที่จะทำให้อาชีพการทำเกษตรเดินต่อไปอย่างยั่งยืน
บนพื้นฐานของการผลิตทุเรียนที่ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด เนื่องจากวันนี้อาชีพชาวสวนยังไม่มีกฎหมายขึ้นมารองรับเหมือนกับพืชบางตัวที่มีกฎหมายรองรับที่มีขั้นตอนการทำงานทุกอย่างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น “ผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน จากการผลิตของชาวสวนทุกคนจะเป็นเกราะคุ้มกันอย่างดีให้กับอาชีพนี้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนได้อย่างแท้จริง ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้อย่างแน่นอน”
โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
- สวนทุเรียนพันธุ์ลินจง การให้ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน ถึง วิธีการปลูกทุเรียน
- การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ และ การใส่ปุ๋ยทุเรียนเล็ก
- การดูแลดอกบานให้สมบูรณ์
- การใส่ปุ๋ยทุเรียน
- การฉีดพ่นฮอร์โมนควบคู่กับสารเคมี
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนพันธุ์ลินจง
- ผลผลิตทุเรียนพันธุ์ลินจงเนื้อเต็ม เนื้อแน่น ผิวสวย ไม่เละ
- การทำสวนทุเรียน แซมลำไย เนื้อที่กว่า 500 ไร่
ผลผลิตทุเรียนพันธุ์ลินจง-เนื้อเต็ม-เนื้อแน่น-ผิวสวย-ไม่เละ
การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนพันธุ์ลินจง
สวนทุเรียน สายพันธุ์ใหม่ ” ทุเรียนทองลินจง “
ทุเรียนสายพันธุ์ใหม่นี้มีชื่อว่า “ ทุเรียนทองลินจง ” ซึ่งเป็นทุเรียนที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมันเองที่รสชาติเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นสายพันธุ์ประจำของสวน “ ทุเรียนทองลินจง ” แห่งนี้ด้วย ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง
ซึ่งเป็นทุเรียนสายพันธุ์ใหม่ที่ยังมีการปลูกทั้งในและนอกพื้นที่ค่อนข้างน้อยทำให้ผลผลิตในวันนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ที่ชื่นชอบทุเรียนเป็นชีวิตจิตใจอย่างมาอย่างยาวนาน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน
เริ่มจาก สายพันธุ์ “หมอนทอง” การใส่ปุ๋ยทุเรียน
นายกสมชาย ลินจง เผยถึงเส้นทางชีวิตทั้งด้านทำงานและการทำสวนให้ทราบว่า เดิมเป็นคนพื้นที่อ.เมือง จ.จันทบุรี ครอบครัวยึดอาชีพทำสวนมาอย่างต่อเนื่องเพราะตั้งแต่ที่จำความได้ก็ได้ช่วยครอบครัวทำสวนมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งนายกสมชายได้ย้ายมาอยู่ที่ ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรีตั้งแต่ปี 2520
เป็นต้นมาด้วยการซื้อที่ดินเนื้อที่กว่า 15 ไร่เพื่อปลูกทุเรียนสายพันธุ์ “หมอนทอง” ทั้งหมดในระยะ 10 x 10 เมตรหรือประมาณ 15 ต้น/ไร่ เพื่อให้แสงแดดส่งถึงต้นทุเรียนได้อย่างทั่วถึงเมื่อเจริญเติบโตขึ้น โดยการปลูกทุเรียนครั้งแรกนี้ไม่มีการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเลยแม้แต่น้อยเพราะสภาพดินค่อนข้างดีอยู่แล้ว
ประกอบกับผลผลิตทุเรียนหมอนทองในช่วงนั้นกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของทุเรียนหมอนทองที่ เนื้อเยอะ เม็ดลีบ กลิ่นหอม เนื้อแน่น ไม่เละ ที่เหมาะสมกับการผลิตในเชิงการค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งตลาดต้องการผลผลิตเป็นจำนวนมากต่อปีและการผลิตทุเรียนในสมัยนั้นยังไม่มีการผลิตทุเรียนนอกฤดู ชาวสวนทุเรียนส่วนใหญ่จึงต้องผลิตทุเรียนในฤดูเป็นหลัก วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน
การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ และ การใส่ปุ๋ยทุเรียนเล็ก
เมื่อต้นทุเรียนยังเล็กอยู่นั้นนายกสมชายได้มีการปลูกพืชแซมในสวนทุเรียนเพื่อสร้างรายได้เข้ามาในครอบครัวด้วยการปลูกพืชคลุมดินประเภทถั่วและข้าวโพดเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาต้นทุเรียนและใบอ่อนทุเรียนให้สมบูรณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน
จนกระทั่งทุเรียนเริ่มมีอายุได้ประมาณ 4 ปีก็จะเริ่มหัดให้ต้นทุเรียนไว้ลูกบ้างก่อนที่ต้นทุเรียนจะสามารถไว้ลูกเพื่อเก็บผลผลิตได้อย่างเต็มที่ครั้งแรกเมื่อมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งการไว้ลูกแต่ละต้นจะขึ้นอยู่กับตามความสมบูรณ์ของทุเรียนแต่ละต้นเป็นหลัก วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน วิธีการปลูกทุเรียน
โดยเฉพาะการทำให้ทุเรียนสาวให้เปลือกบางหรือเปลือกหนานั้นมีเทคนิคและขั้นตอนอยู่ก็คือว่าหากไว้ลูกน้อยแล้วอาหารของต้นนั้นสมบูรณ์เปลือกทุเรียนก็จะหนา แต่ถ้าหากมีการไว้ลูกให้เหมาะสมกับความสมบูรณ์ของต้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่เปลือกไม่หนา ผลผลิตที่ได้ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งหมด การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน
จึงมองเห็นอนาคตของทุเรียนที่ยังไปได้ไกล จึงเริ่มเก็บหอมรอมริบนำเงินที่ได้จากการขายทุเรียนไปซื้อที่ดินเพื่อปลูกทุเรียนแบบพี่เลี้ยงน้องมาอย่างต่อเนื่องและเริ่มไม่ปลูกพืชแซมเมื่อต้นทุเรียนมีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ปัญหาในช่วงนั้นยังมีอยู่ก็คือว่าเมื่อเริ่มมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากขึ้น มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตในฤดูกาลเกือบ 100%
ทำให้ในบางช่วงเวลาชาวสวนถูกกดราคาจากพ่อค้า ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นที่มาของการทำทุเรียนล้า(ทุเรียนช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว)ของนายกสมชายในเวลาต่อมาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องราคาผลผลิต ซึ่ง “การผลิตทุเรียนล้า” ได้ผลดีเกินคาดเพราะในช่วงฤดูกาลผลผลิตจะค่อนข้างน้อย การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน
ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาค่อนข้างดีและมีรายได้ที่ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง “ผมจำได้ตอนนั้นผมทำทุเรียนเมื่อปี 2538 ผมขยายสวนทุเรียนออกไปจนมีต้นทุเรียนที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดร่วม 1,000 ต้น ตั้งแต่แถวนี้มีสวนทุเรียนแค่ไม่กี่สวน ผมทำเรียนล้าทั้งหมดผมขายทุเรียนได้ 36 บาท/กก. จากราคาทุเรียนปกติช่วงนั้นอยู่ที่ 15-17 บาท/กก.เท่านั้น
ผมได้เงินจากการขายทุเรียนปีนั้นมายกบ้านสร้างบ้านเสร็จทั้งหลังในปี 2538 หมดไปประมาณ 2 ล้านกว่าบาทผมยังมีเงินเหลือเก็บ จากตอนแรกที่ผมคิดว่าผมต้องเป็นหนี้เขาถึงล้านกว่าบาทเพื่อกู้เงินมาสร้างบ้าน แต่ผมโชคดีและแจคพอร์ตมากปีนั้น เราเห็นรายได้ตรงนี้เป็นรายได้ที่ดี การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน
จึงตั้งใจจะทำทุเรียนล้าขายให้ได้ราคาดีและขยายพื้นที่ต่อไปด้วย เพราะทำทุเรียนปีเดียวก็ยกบ้านทั้งหลังได้ เราจึงมีกำลังใจที่จะทำสวนทุเรียนต่อไป” นายกสมชายเล่าถึงอดีตที่ผ่านมาที่ตั้งใจปักหลักยึดอาชีพ การทำสวนทุเรียน เรื่อยมาพร้อมกับการสร้างสวนทุเรียนแปลงใหม่ๆเพิ่มเติมขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน
สวนทุเรียน ทุเรียนทองลินจง การใส่ปุ๋ยทุเรียน
การให้ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน
จนกระทั่งในปี 2542 นายกสมชายได้อาสาตัวเองเข้ามาทำหน้าที่ผู้นำท้องถิ่นควบคู่ไปกับ การทำสวนทุเรียน มากกว่า 70 ไร่ ด้วยการลงสมัครเป็น “ผู้ใหญ่บ้าน” เพื่อพัฒนาชุมชน มุ่งส่งเสริมอาชีพของประชาชนในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาผ่านทางนโยบายรัฐที่มีออกมาในแต่ละช่วงจนกระทั่งได้รับรางวัลผู้นำดีเด่นที่ชื่อว่า “ผู้นำอาชีพก้าวหน้า”
ต่อมาในปี 2543 ก็ได้รับรางวัล “ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น” นั่นคือรางวัลที่การันตีถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี หรือที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในนาม “นายกสมชาย” ที่ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาชุมชน พัฒนาอาชีพ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนในพื้นที่ตลอดมา การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน
ด้านการทำ “สวนทุเรียนล้า” ของนายกสมชายที่ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบันที่มีต้นทุเรียนอายุเพียง 1 ปีไปจนถึงอายุ 30-40 ปีนั้นเพราะมีแรงจูงใจมาจากผลผลิตของทุเรียนในวันนี้มีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญยังเป็นผลไม้ที่มีการส่งออกมากที่สุดอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย
และต้องยอมรับว่าด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้นช่วยให้ การทำสวนทุเรียน มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการทำสวนในวันนี้ก็คือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมีผลต่อการติดดอกออกผลผลิตเป็นอย่างมาก โรคและแมลงก็มากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่จำเป็นต้องใช้สารป้องกันและกำจัดแมลงมากขึ้น
เป็นการเพิ่มงานให้กับชาวสวนทำให้ต้องมีการจัดการที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งทำให้ชาวสวนมีต้นการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ทุเรียนออกมาสมบูรณ์ ดังนั้นชาวสวนจึงต้องมีการวางแผนที่ดี การจัดการที่ดีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งเสียเวลาและเสียโอกาส
การทําสวนทุเรียน แบบ “ทุเรียนล้า” ให้ได้ผลผลิต
โดยการผลิตทุเรียนล้าให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นนายกสมชายจะเริ่มต้นไปตั้งแต่หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตในทุกปีด้วยการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 17 – 17 – 17 ตราโรซาเฟริ์ส ของ บริษัท เอ็กซตร้า อโกรเคมีคอล จำกัด ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อฟื้นต้นทุเรียนให้สมบูรณ์ ก่อนจะทำการ “ตัดแต่งกิ่ง” การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน
โดยเลือกตัดแต่งกิ่งที่หมดอายุ กิ่งไม่สมบูรณ์ออกไปในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนโดยมีน้ำฝนในฤดูกาลเพิ่มความชื้นให้กับต้นทุเรียน เมื่อทุเรียน “แตกใบอ่อน” จะต้องฉีดพ่นสลับกันระหว่างอะบาเมตตรินและโอเมโทเอทเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงที่จะเข้าทำลายใบอ่อนทุเรียนให้เสียหาย การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน
การป้องกันโรคและเชื้อรา
จากนั้นจะป้องกันเชื้อราในหน้าฝนด้วยการฉีดพ่นแบบสลับระหว่างคาร์เบนดาซิมและแมนโคเซบเพื่อป้องกันราน้ำค้าง ราใบจุดที่ไม่ให้เชื้อโรคดื้อยาด้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก บริษัท เอ็กซตร้า อโกรเคมีคอล จำกัดเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นจะทำการฝังเข็มเพื่อฉีดสารฟอสฟอรัสเอซิดเข้าต้นทุเรียนเพื่อป้องกันรากเน่า โคนเน่า
ในอัตรา 60-80 ซีซี/ต้น เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และเตรียมความพร้อมโดยนายกสมชายจะเลือกใช้สินค้าคุณภาพจาก บริษัท อินฟัง ไทย จำกัด การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน
การใส่ปุ๋ยทุเรียน ระบบน้ำ และ การดูแลรักษา
ต่อมาในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนจะเริ่มสะสมอาหารด้วยการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นสูตร 14 – 7 – 28 ที่ต้องขึ้นอยู่กับความชื้นและสภาพอากาศด้วยซึ่งการทำชุดใบของทุเรียนส่วนใหญ่ที่สวนจะทำให้ได้ 2 ชุดใบเป็นหลัก แต่ถ้าได้ 3 ชุดใบก็จะดีมากเพราะทุเรียนได้พักต้นนานจึงทำให้ทุเรียนมีความสมบูรณ์มากขึ้น การทําสวนทุเรียน
จากนั้นประมาณปลายพฤศจิกายนไปจนถึงธันวาคมทุเรียนจะเริ่ม “แทงช่อดอก” ออกมาให้เห็นที่จำเป็นต้องฉีดพ่นอิมิดาคลอพิดและอะบาเมตตริน เพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟไรแดง ตามด้วยการฉีดพ่นเมโทมิลเพื่อป้องกันและกำจัดหนอน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ควบคู่ไปกับการฉีดพ่นคาร์เบนดาซิมเพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อราทุก 15-20 วัน
“ การให้น้ำช่วงดอกตูมเราจะให้น้ำตามปกติแบบวันเว้นวันประมาณ 30 นาที/ต้น/ครั้ง แต่ถ้าอากาศร้อน ความชื้นน้อยก็จะเพิ่มวันของการให้น้ำขึ้นมา มีการฉีดพ่นแคลเซียมโบรอนและสารอาโทนิคเพื่อให้ขั้วเหนียว ขั้วดี ติดผลง่าย เมื่อดอกบานเราจะลดการให้น้ำน้อยลงเพื่อให้ทุเรียนติดดอกง่ายขึ้น การผสมเกสรจะดีขึ้นเพราะความชื้นไม่มากจนเกินไป ก่อนจะทำการตัดแต่งช่อดอกประมาณ 1 ครั้งเพื่อกำหนดผลผลิต” นายกกล่าว การทําสวนทุเรียน
เมื่อทุเรียนเริ่มเป็น “หางแย้” ก่อนจะพัฒนาเป็น “ผลอ่อน” ที่สมบูรณ์จะมีการดูแลรักษาเช่นเดียวกับช่วงดอกบานข้างต้นและใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ทางดินด้วยสูตร 12 – 12 – 17 และ 15 – 5 – 20 พร้อมกับมีการให้น้ำ 30 นาที/ต้น/ครั้ง แบบวันเว้นวัน หากอากาศร้อนจะเพิ่มอีก 10 นาที/ต้น/ครั้ง แบบวันเว้นวัน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน
ก่อนจะใส่ปุ๋ยทางดินครั้งที่ 2 ด้วยสูตร 12-12-17,15-5-20 ก่อนจะตัดแต่งผลประมาณ 1-2 ครั้งเพื่อให้ได้ผลผลิตตามขนาดที่กำหนด 3-4 กก./ลูก ก่อนที่จะทำการโยงกิ่ง-โยงลูกเพื่อป้องกันความเสียหายจากพายุที่มีเข้ามาทุกปี
“ ชาวสวนเราเจอปัญหานี้ทุกปี เป็นปัญหามาก อย่างต้นทุเรียนอายุเยอะๆของผมช่วงติดผลกำลังดี พายุมาครั้งเดียวลูกร่วงเสียหายไป 30-40 ตัน บางปีต้นทุเรียนก็โค่นไปเลยก็มี ถ้าจะให้รัฐทำการประกันพืชผล มันต้องเอาต้นทุน ค่าใช้จ่ายมาคำนวณ ต้องนับต้น แต่ละต้นลูกมาก ลูกน้อยอีก ปัญหามันมากกว่าและทำลำบากกว่าอย่างอื่นมาก” นายกสมชายชี้แจง
อีกทั้งปัญหาใหญ่ในปีที่ผ่านมาก็คือ “น้ำแล้ง” ที่เกิดวิกฤติอย่างหนักกับชาวสวนทั้งประเทศ แม้แต่ในพื้นที่ อ.ท่าใหม่ยังต้องซื้อน้ำมารดต้นทุเรียนเพราะชาวสวนไม่อาจปล่อยให้ต้นทุเรียนตายได้ ในฐานะชาวสวนและผู้นำท้องถิ่น นายกสมชายจึงได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานเรื่องน้ำเพื่อผลักดันให้เกิดการ “สร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่อย่างถาวร”
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเพื่อป้องกันวิกฤติทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับชาวสวนอีกในอนาคต ซึ่งการป้องกันไว้ ย่อมดีกว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วค่อยมาแก้เสมอ รวมไปถึงที่สวนทุเรียนแห่งนี้ “ระบบไฟฟ้าตกบ่อย” ทำให้การจัดการสวนทุเรียนในบางช่วงเกิดปัญหา เนื่องจากทางสวนจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการสูบน้ำจากบ่อบาดาลขึ้นมาให้น้ำกับต้นทุรียนอย่างต่อเนื่อง
การฉีดพ่นฮอร์โมนควบคู่กับสารเคมี
ที่สำคัญที่สุดคือช่วงติดผลนี้จะต้องฉีดพ่น “ฮอร์โมน” ควบคู่กับสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงอย่างต่อเนื่องทุก 20 วัน หากอากาศร้อนต้องเพิ่มการให้น้ำอีก 20 นาที/ต้น/ครั้งจากการให้น้ำปกติเพื่อให้ผลผลิตสมบูรณ์ เมื่อเริ่มสร้างพลูหรือทุเรียนเริ่มเบ่งพลู
จะต้องฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคผลเน่า (เชื้อรา) ด้วยเมทาแลกซิลและโคเซบและให้ปุ๋ยทางดินด้วยสูตร 15-5-20 ที่สำคัญก่อนเก็บเกี่ยวประมาณครึ่งเดือนจะใส่ปุ๋ยสูตร 14-8-24 เพิ่มความสมบูรณ์ให้ผลผลิตสีสวยและใส่ปุ๋ยสูตร 8-17-41 (ปุ๋ยโรส) เพื่อสร้างแป้งน้ำตาลและสร้างความหวานให้กับผลผลิต
ก่อนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตสายพันธุ์หมอนทองได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 120 วันเป็นต้นไป ปัจจุบันนายกสมชายมีสวนทุเรียนมากถึง 6-7 แปลงกระจายอยู่ในพื้นที่ อ. ท่าใหม่ อ.โป่งน้ำร้อน และอ.คิชกุฏ จ.จันทบุรีที่มีผลผลิตรวมกันประมาณ 100-150 ตัน/ปี ซึ่งในปีที่ผ่านผลผลิตมีราคาเฉลี่ย 80-100 บาท/กก.
การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนพันธุ์ลินจง สารเร่งดอกทุเรียน
โดยนายกสมชายจะเน้นการผลิตทุเรียนเอง มีที่พักเก็บผลผลิตไว้ที่บ้าน ก่อนจะทำ “ล้ง” ขึ้นมาเพื่อรองรับผลผลิตของตนเองและเพื่อนบ้านทั้งหมดเพื่อทำการคัดแยกผลผลิตจากล้งให้ได้ประมาณ 3-4 ไซซ์ โดยผลผลิตต้องมีน้ำหนัก 2.8-4 กก./ลูก ผลทุเรียนต้องมีทรงกลมและไม่ต่ำกว่า 2 พลูเม็ดขึ้นไปด้วย เพื่อส่งต่อไปยังตลาดปลายทางทั้งในและต่างประเทศ
ซึ่งนายกสมชายยอมรับว่าผลผลิตส่งออกจะมีราคาสูงกว่าผลผลิตที่จำหน่ายภายในประเทศแน่นอน แต่เนื่องจากในปีที่ผ่านมาสภาพแปรปรวนที่มีผลต่อการติดผลทุเรียนทำให้ผลผลิตออกไม่พร้อมกัน ซึ่งไม่สามารถกำหนดปริมาณผลผลิตที่แน่นอนได้ จึงไม่กล้าที่จะรับออร์เดอร์ส่งออกเพราะกลัวจะหาผลผลิตไม่ได้ตามที่ได้ตกลงเอาไว้
ทำให้ต้องเน้นการขายผลผลิตในประเทศมากกว่าในปีที่ผ่านมา “ ทุเรียนเป็นพืชส่งออกอันดับ 1 และทำนอกฤดูได้ เราเป็นทั้งผู้ผลิต รวบรวมผลผลิตเองเรารู้อยู่ว่าผลผลิตแต่ละอย่างเป็นอย่างไร ตลาดต่างประเทศผมไม่ห่วง แต่วันนี้ผมห่วงเรื่องคุณภาพผลผลิตของไทยอย่างเดียว ผมทำผลผลิตคุณภาพ ชาวสวนหลายคนในพื้นที่ทำของคุณภาพ
แต่บางคนไม่คิดเรื่องคุณภาพ คิดแค่ว่าเวลาที่พ่อค้าที่ล้งมาตัดให้ราคาแพงที่สุด ถึงเวลาตัดก็ตัดตามใจล้ง จะตัดวันไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ต้องยอมเขาหมด โดยไม่คิดว่าทุเรียนแก่หรือไม่แก่ ตัดได้หรือไม่ได้ ผมพูดในเวทีประชุมทำแผนสภาเกษตรกรจันทบุรีด้วย ผมเสนอให้แก้ทุเรียนอ่อน เกษตรกรทุกคนต้องมี GAP ต้องมีการจดบันทึกทุกขั้นตอน
ตลอดทั้งการผลิต ตรงนี้รัฐต้องบังคับ ถ้าให้ทำตามสมัครใจไม่มีทางสำเร็จ ไม่มีคนทำ ต้องภาคบังคับ แม้ว่าตอนนี้ผลผลิตที่ทำแบบธรรมดาและผลผลิตGAP จะขายในราคาเท่ากัน แต่ในอนาคตหากผลผลิตมีมากขึ้น ล้งจะไม่สนใจเพราะของมีเหลือเฟือ
เขาไม่ต้องง้อเรา เขาอาจจะกำหนดให้ชาวสวนมีระบบขึ้นมารองรับ ไม่มีไม่ซื้อ หรือซื้อก็ซื้อถูกเพราะตอนนี้เราไม่มีอะไรควบคุม แต่การทำผลผลิต GAP ทำให้เราวางแผนการจัดการได้ในอนาคตสามารถขายผลผลิตล่วงหน้าให้กับตลาดปลายทางได้เหมือนกับพืชอื่นๆ” นายกให้เหตุผลเรื่องคุณภาพของผลผลิต
ผลผลิตทุเรียนพันธุ์ลินจง-เนื้อเต็ม-เนื้อแน่น-ผิวสวย-ไม่เละ
ผลผลิต ทุเรียนทองลินจง เนื้อเต็ม เนื้อแน่น ผิวสวย ไม่เละ
นอกจากนี้นายกสมชาย ยังเป็นเจ้าของสายพันธุ์ทุเรียน “ ทุเรียนทองลินจง ” ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยเมื่อปี 2554-2555 ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากความบังเอิญที่ต้องการซื้อกิ่งพันธุ์พวงมณีประมาณ 80 เข้ามาปลูกแซมไว้ภายในพื้นที่แทนที่ต้นทุเรียนที่ตายลงไปในแต่ละปีด้วยการฝากคนอื่นซื้อมาให้เพราะช่วงนั้นพวงมณีกำลังเริ่มเป็นที่นิยมและตลาดมีความต้องการผลผลิตขึ้นมาเพื่อส่งออกไปยังสิงคโปร์และมาเลเซียที่ผลผลิตมีราคาแพง
จึงได้หาซื้อกิ่งพันธุ์พวงมณีมาปลูกไว้ไปพร้อมๆกับการบำรุงรักษาตามขั้นตอนข้างต้นจนกระทั่งตัดเก็บผลิตได้เป็นครั้งแรกก็ตั้งใจว่าจะนำผลผลิตไปขายให้กับพ่อค้าที่รับซื้อผลผลิต แต่ผู้รับซื้อกลับบอกว่าไม่ใช่ผลผลิตของพวงมณี ทำให้ช่วงแรกขายผลผลิตไม่ได้เลย จึงจำเป็นต้องขายผลผลิตแบบทิ้งๆไม่มีราคา จึงต้องขายให้หมดๆไปเท่านั้น
ต่อมาได้นำตัวอย่างผลผลิตไปให้กับศูนย์วิจัย สวพ.6 ช่วยตรวจสอบก่อนจะส่งตัวอย่างไปที่กรมคุ้มครองพันธุ์พืชที่ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีทุเรียนสายพันธุ์นี้ในสารระบบจึงได้มีการตั้งชื่อว่า “ ทุเรียนทองลินจง ” เนื่องจากผลผลิตมีสีเหลืองทองและลินจงก็คือนามสกุลนั่นเอง แต่ในความเป็นจริงทุเรียนสายพันธุ์นี้มีอยู่แล้วในพื้นที่มานานกว่า 20 ปีที่ยังไม่มีคนรู้จักอีกมากมาย ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง ทุเรียนทองลินจง
จนกระทั่งได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นสายพันธุ์ทองลินจงที่ได้มีการส่งผลผลิตเข้าไปประกวดในงานของดีเมืองจันท์ที่ได้รับรางวัลที่ 1 มา 2 ครั้งที่ทำให้คนเริ่มรู้จักทุเรียนสายพันธุ์นี้ที่มีความโดดเด่นจนเป็นเอกลักษณ์คือเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง ทนต่อโรครากเน่า โคนเน่าได้ดี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 105-110 วันขึ้นไป
ผลผลิตมีสีเหลืองทอง เม็ดลีบ เนื้อละเอียดคล้ายกับก้านยาว เนื้อเหนียว เนื้อแน่น ไม่เละง่าย รสชาติหวาน กลิ่นหอม ไม่มีไส้ซึมไม่มีแกน ผลใหญ่กว่าพวงมณีน้ำหนัก 3.5-4 กก./ลูกขึ้นอยู่กับการไว้ลูกของแต่ละต้นด้วย ช่วยยืดอายุการขายได้เป็นอย่างดี การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน การทําสวนทุเรียน
ซึ่งผลผลิตในวันนี้ได้มีการลองตลาดและส่งออกไปยังฮ่องกงที่ลูกค้าติดใจในรสชาติของผลผลิตทองลินจงมาก รับซื้อตลอด โดยมีราคารับซื้อที่หน้าสวนคือ 150-200 บาท/กก. โดยผู้ส่งออกกำลังจะขยายตลาดไปอีกหนึ่งมณฑล แต่ปัญหาใหญ่คือด้านการผลิตภายใต้ “สวนลินจง” นั้น มีต้น ทุเรียนทองลินจง ที่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงไม่กี่ต้นในตอนนี้
ส่วนที่ปลูกไว้ในพื้นที่ส่วนใหญ่อายุก็ยังน้อยเพราะทุกพื้นที่ได้ปลูกทุเรียนไว้จนเต็มอยู่แล้ว การปลูก ทุเรียนทองลินจง จึงต้องปลูกแซมลงไปแทนต้นที่ตายลงไปมากกว่า ซึ่งปลูกไปแล้วประมาณ 300 ต้นซึ่งต้องรออีกประมาณ 2 ปีถึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งหมด
ประกอบกับทาง “สวนลินจง” จะเน้นการผลิต “กิ่งพันธุ์ทองลินจง” เองด้วยการใช้เมล็ดทุเรียนโบราณคุณภาพจากใต้ผลิตเป็นต้นตอก่อนจะทำการผลิตเป็นกิ่งพันธุ์คุณภาพทุกต้นเพื่อขยายการผลิตออกไปอย่างต่อเนื่อง
การทำสวนทุเรียน แซมลำไย เนื้อที่กว่า 500 ไร่
นอกจากนี้นายกสมชายยังมีการผลิต “ลำไยนอกฤดู” ในพื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อนและอ.สอยดาวรวม 500 ไร่ ที่มีอายุตั้งแต่ 7-20 ปีภายใต้สภาพดินที่ดี มีระบบน้ำรองรับทั้งการขุดสระ เจาะบ่อบาดาลและแหล่งน้ำสาธารณที่สามารถบริหารจัดการสวนลำไยได้อย่างเป็นระบบ เมื่อต้นลำไยอายุ 3-4 ปีก็จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว
ซึ่งทุกปีนายกสมชายจะต้องเตรียมใบให้สมบูรณ์ให้ได้ชุดใบประมาณ 2-3 ชุดใบ ที่มีการบำรุงทางดินด้วยปุ๋ยสูตร 15-5-20 และ 17-17-17 ป้องกันใบอ่อนและใบแก่ลำไยด้วยสารป้องกันและกำจัดแมลงคุณภาพของ บริษัท เอ็กซตร้า อโกรเคมีคอล จำกัดเช่นเดียวการดูแลทุเรียน สารเร่งดอกทุเรียน สารเร่งดอกทุเรียน สารเร่งดอกทุเรียน
ก่อนที่จะบำรุงทางใบด้วยธาตุอาหารและฮอร์โมนคุณภาพ จากบริษัท อินฟัง ไทย จำกัด เพื่อขยายให้ลำไยผลโต ได้ผลผลิตไซซ์จัมโบ้ ก่อนจะใส่ปุ๋ยไตรฟอสเฟตสูตร 0 – 47 – 52 เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 3-4 รุ่น/ปี ซึ่งแต่ละรุ่นให้ผลผลิตได้ประมาณ 100-150 ตันภายใต้การรับซื้อในราคาประกันกับพ่อค้าซึ่งปีนี้สามารถขายได้ในราคา 42-45 บาท/กก.โดยทางล้งจะมีคนงานมาเก็บผลผลิตเองทั้งหมด สารเร่งดอกทุเรียน
“ การทำเกษตรจำเป็นมากก็คือแรงงาน ผมจึงต้องใช้แรงงานประจำมากถึง 30 กว่าคนเพื่อดูแลสวนทุเรียนและสวนลำไยในทุกขั้นตอนการจัดการของทางสวนลินจง สิ่งสำคัญต่อมาก็คือระบบไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการให้น้ำกับไม้ผล ทำให้สวนลำไยทั้ง 2 สวนมีต้นทุนค่าไฟบางเดือนมากถึง 60,000-70,000 บาท/เดือน สารเร่งดอกทุเรียน
ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงที่ยังไม่รวมกับเข้าไปต้นทุนการผลิตอย่างอื่นโดยเฉพาะปุ๋ยยาและสารเคมี นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวสวนเพิ่มขึ้น หากราคาผลผลิตทั้งทุเรียนและลำไยอยู่ในราคานี้ชาวสวนก็พออยู่ได้ แต่ถ้าในอนาคต 5-7 ปี หากราคาผลผลิตลดต่ำลงไปกว่านี้ชาวสวนอาจจะอยู่ลำบากขึ้น สารเร่งดอกทุเรียน
แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดชาวสวนต้องทำผลผลิตให้ได้คุณภาพอนาคตชาวสวนก็จะยั่งยืน ผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะขยายกิจการอยู่แล้วขอแค่ให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ แต่ถ้าผลผลิตไม่มีคุณภาพ หลอกลวงผู้บริโภคความเสียหายก็จะย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อทั้งระบบแน่นอน” นายกคนเก่งกล่าวทิ้งท้าย สารเร่งดอกทุเรียน สารเร่งดอกทุเรียน
สอบถามเพิ่มเติม นายกสมชาย ลินจง (สวนลินจง)
49/6 ม.14 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22170 โทร. 081-781-2008
ทุเรียนทองลินจง วิธีการปลูกทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียน การทําสวนทุเรียน การดูแลทุเรียน การดูแลต้นทุเรียน การใส่ปุ๋ยทุเรียนเล็ก การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ สารเร่งดอกทุเรียน ยาฉีดทุเรียน สารเร่งดอกทุเรียน สารเร่งดอกทุเรียน