การปลูกผักหวานป่า ตอนที่ 1: การเพาะเมล็ดผักหวานป่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกผักหวานป่า นอกจากใจจะต้องรักแล้ว การปลูกผักหวานป่า ให้รอดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากเข้าใจนิสัยของ ผักหวานป่า จริงๆส่วนใหญ่จะบอกว่า ปลูกผักหวานป่า ไม่ยากหรือปลูกง่าย  แต่สำหรับมือใหม่หัดปลูกหรือผู้ที่ไม่มีองค์ความรู้เรื่องผักหวานป่า ส่วนใหญ่ก็จะฟันธงว่า ผักหวานป่า ปลูกยากไม่ใช่เล่น ฉะนั้นองค์ความรู้คือสิ่งที่สำคัญและจำเป็น

ปรึกษา ฟรี!
081-285-7615

ผอ.ป๊อก ปรึกษาฟรี 081-285-7615 สวนผักหวานป่า สระบุรี

โดยเฉพาะ การปลูกผักหวานป่า เชิงพาณิชย์ ให้เป็นพืชสุขภาพสร้างรายได้นั้น จะต้องมีเทคนิคและวิธีการดูแลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อกระบวนการจัดการอ

ย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดปี ซึ่งผลผลิตที่ออกมาในแต่ละช่วง จะมีปริมาณ และราคาผลผลิตที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม การปลูกผักหวาน ป่าเชิงการค้ายังมี ตลาดสุขภาพ รองรับอีกมากมาย จึงไม่แปลกที่ยอดผักหวานจะมีราคาค่อนข้างดี ช่วงหน้าหนาว จะอยู่ที่ประมาณ 80 บาท/กก. แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าฝน จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 120 บาท/กก.

การปลูกผักหวานป่า มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดผักหวานป่า การทาบกิ่งผักหวานป่า ซึ่งบทความนี้จะอธิบายวิธี การปลูกผักหวานป่า ด้วย การเพาะเมล็ดผักหวานป่า ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

เมล็ดผักหวานป่า
เมล็ดผักหวานป่า

การเพาะเมล็ดผักหวานป่า

  • การเตรียมดินเพื่อ การเพาะเมล็ดผักหวานป่า : 

    ใช้ถุงพลาสติกขนาด 4 x 4 นิ้ว ไม่เจาะรูก้นถุง ป้องกันรากแทงลงดิน ใส่ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือใบไม้ผุๆ ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ขนาดครึ่งซม. ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วกรอกลงถุงเพาะ

  • เตรียมแปลง การเพาะเมล็ดผักหวานป่า : 

    เรื่องแปลงสำหรับ การเพาะเมล็ดผักหวานป่า ควรจะมีความชื้นพอสมควร วัสดุที่ใช้เพาะควรเป็นทรายล้วนๆ ต้องฝังเมล็ดเป็นแถวให้ลึกประมาณ 2 ซม. หลังจากเพาะไปได้ 20-30 วัน จะมีรากงอกออกจากเมล็ด จากนั้นก็แตกใบอ่อนรวมเวลาทั้งหมดประมาณ 40 วัน

  • การย้ายกล้าลงถุงชำ : 

    เนื่องจาก การปลูกผักหวานป่า มีจุดอ่อน ตรงที่ไม่ทนทาน ต่อการเคลื่อนย้าย หากรากได้รับ การกระทบ กระเทือน หรือรากขาดจะตายง่าย จึงต้องย้ายด้วย ความระมัดระวัง โดยแบ่งการย้ายเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะมีใบอ่อนของต้นผักหวานป่า ซึ่งระยะที่ปลอดภัยในการย้ายและระยะรากแทงออกมาจากเมล็ดเล็กน้อยก็ย้ายได้ทันที แต่ถ้ารากออกมากหากย้ายย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการตายได้

    ต้นกล้าผักหวานป่า
    ต้นกล้าผักหวานป่า
  • การย้ายแบบล้างราก:

    เพราะการขนส่งต้นกล้า เพาะเมล็ดครั้งละมาก ๆ ย่อมเปลืองเนื้อที่ และมีน้ำหนักมาก จึงมีการทดลอง หาแนวทางการขนส่งต้นกล้าให้ได้จำนวน / เที่ยว มากขึ้นและมีอัตราชำรอดตายสูง ด้วยการเพาะต้นกล้า ในแปลงที่ทำด้วยอิฐก่อขนาด 1 x 5 เมตร ลึก 6 0 ซม. ใช้วัสดุเพาะเป็นดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 หรือ 1 : 1 : 2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ ขนาดครึ่งซม. ผสมกัน และคลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 4 0 – 5 0 % เมื่อกล้า ผักหวานป่า งอกสูงประมาณ 5 – 1 0 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ผู้ซื้อประมาณ 2 อาทิตย์ ให้กระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงเช่นเดียวกับก่อนย้ายปลูกลงหลุม

    4.1  เมื่อครบกำหนด ให้ขุดต้นกล้าออกจากแปลง อย่าให้รากขาด ล้างดินออกจากรากให้สะอาด โดยใช้สายยางฉีดน้ำ พร้อมกับตัดส่วนเหนือดินทิ้ง ให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม. นำต้นกล้าไปแช่น้ำยากันเชื้อราประมาณ  1 5 – 2 0 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งพอหมาดๆ นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับน้ำได้ดีมาแบ่งเป็นคู่ๆ ซ้อน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้าวชื้นหรือแกลบดำที่ปราศจากโรคให้เป็นแถบบางๆ ความยาวของแถบเท่ากับความยาวของรากต้นกล้า แต่ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะใน การปลูกผักหวานป่า นำกล้าผักหวานป่า ประมาณ 5 0 กล้า วางเรียงบนแถบวัสดุรักษาความชื้นโดยไม่ให้กล้าซ้อนกัน ม้วนกระดาษ น.ส.พ.ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวมๆ เหมือนห่อโรตีปิดหัวท้ายห่อ ฉีดยากันเชื้อราให้กระดาษเปียกพอหมาดๆ บรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศปิดปากหลวมๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่องๆ ภายในกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวมๆ ผนึกภายในลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษ โดยเว้นช่องระบายอากาศไว้เสร็จพร้อมนำส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งการส่งแบบล้างรากเช่นนี้ต้นกล้า จะทนทานได้นานประมาณ 8-10 วัน โดยรอดตายสูง 80% เมื่อได้รับต้นกล้าแล้วต้องรีบชำทันทีโดยเลี้ยงในสภาพแสง 40-50% และให้ความชื้นสม่ำเสมอในระยะแรก มีข้อควรระวังในการส่งกล้าแบบนี้อยู่ที่ต้องมีความสะอาดเป็นพิเศษ รากต้องไม่ขาด การห่อและการบรรจุต้องไม่แน่นเกินไปและต้องเจาะช่องระบายอากาศ เพื่อให้ การปลูกผักหวานป่า เป็นไปอย่างราบลื่น

    สวนผักหวานป่า
    สวนผักหวานป่า

    อย่างไรก็ดี การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า และการย้ายกล้า ผักหวานป่า ใน การปลูก เพื่อให้เสียหายน้อยที่สุด ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าว

  • การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่า :

    การคัดเลือกเมล็ดผักหวานป่ามาเพาะ ก็ต้องใช้ความรู้ และประสบการณ์อยู่ไม่น้อย นั่นคือ จะต้องเก็บเมล็ดที่สด และสุกในเดือน เมษายน – พฤษภาคม มาเพาะภายใน 7 วัน หากช้ากว่านี้ เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงเรื่อยๆ  แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้งขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรง หรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่น กระด้งหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงาน เนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารระคายเคืองต่อผิวหนัง นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยน้ำออก นำเมล็ด ผักหวานป่า ที่จมน้ำขึ้นผึ่งพอสะเด็ดน้ำคลุกด้วยยากันราให้ทั่ว แล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงไม่ให้หนาเกิน 1 นิ้ว คลุมด้วยตะแกรงด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำหมาดๆ เก็บไว้ในที่ร่ม 2-3 วัน ต้องตรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเริ่มปริต้องนำไปเพาะในถุงพลาสติก นำเมล็ด ผักหวานป่า มาหยอดลงถุง กดด้วยนิ้วพอให้เ มล็ดจมเสมอผิวดิน หรือโผล่พ้นผิวดินเล็กน้อย นำไปไว้ในร่มเงาที่มีความเข้มแสงประมาณ 4 0 – 5 0 % ดูแลรดน้ำแค่พอให้วัสดุที่ใช้เพาะชื้นระวังอย่าให้แฉะจนเกินไป ในช่วงเดือนแรกของผักหวานป่าจะมีการพัฒนาระบบรากอย่างรวดเร็ว พอเข้าเดือนที่ 2 จึงทยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็น หลังจากเพะได้ 75 วัน ต้น ผักหวานป่า จะสูงประมาณ 5-10 ซม. มีข้อสังเกตว่าการเจริญเติบโตของลำต้นในปีแรกจะช้ามาก

 

สนใจข้อมูลเชิงลึก การลงทุน สวนผักหวานป่า ให้ประสบความสำเร็จ จากเกษตรกรดีเด่น อำเภอบ้านหมอ จังหวัด สระบุรี

ผอ.ป๊อก ปรึกษาฟรี 081-285-7615 สวนผักหวานป่า สระบุรี

“กลยุทธ์การลงทุน สวนผักหวานป่า มูลค่าทวีคูณ” โทร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

081-285-7615

การปลูกผักหวานป่า
การปลูกผักหวานป่า

การเพาะเมล็ดผักหวานป่า ( การปลูกผักหวานป่า ตอนที่ 1 )

tags: ผักเศรษฐกิจ, พืชสุขภาพ, การเตรียมดินเพื่อ การเพาะเมล็ดผักหวานป่า, การเตรียมแปลงดิน, การคัดเมล็ดผักหวานป่า, บ้านหมอ, สระบุรี, การปลูกผักหวานป่า

การปลูกผักหวานป่า

ขั้นตอน การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า ลายละเอียด การคัดแยก การเลือกพันธุ์ผักหวานป่า ที่สระบุรี จากประสบการณ์ตรง จองเจ้าของสวน ผู้ประสบความสำเร็จ และ เป็นเกษตรกรดีเด่น หลายคน

[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]