ปลูกผักในน้ำ ผักไร้ดิน ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ แบบ Young smart farmer
ด้วยกระแสการรักษ์สุขภาพที่กำลังมาแรง และเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ส่งผลให้ ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ที่รู้จักกันดีว่าเป็นการ ปลูกผักในน้ำ หรือการ ผักไร้ดิน โดยที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในน้ำ เพราะในน้ำมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชที่นำไปใช้ได้ทันที
อีกทั้งยังเป็นวิธีการปลูก ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ที่ค่อนข้างมีคุณภาพ เพราะการปลูกผักด้วยระบบนี้จะมีการจัดการที่ค่อนข้างละเอียด การเอาใจใส่ที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ นับว่าเป็นนวัตกรรมในการปลูกพืชผักให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตที่มีคุณภาพ ประหยัดพื้นที่ และช่วยลดการปนเปื้อนของสารเคมีที่อยู่ในดินได้ดี
จึงทำให้สารเคมีไม่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ที่ปลูกด้วยวิธีนี้ทำให้ผักที่ได้มีความสะอาดกว่า สดกว่า น่ารับประทานกว่า ที่สำคัญผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานสด เป็นสลัดผักเพื่อเพิ่มเส้นใยและคุณค่าทางโภชนาการ
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com โทร.08-6042-8008
จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการเกษตร และเป็นครูสอนโยคะ
คุณกนกวรรณ อยู่สุข คนรุ่นใหม่หัวใจเกษตร ที่รักอิสรภาพ และสนใจการทำเกษตรเชิงคุณภาพเพื่อยกระดับชีวิตเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ด้วยการเลือก อาชีพการเกษตร ทำเกษตร และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Young Smart Farmer Rayong (เกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดระยอง) ที่มุ่งเน้นการทำเกษตรแบบประยุกต์ ทั้งวิธีการเดิมที่ครอบครัวเคยทำนา ประกอบกับการศึกษาหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาวงการเกษตร เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่หัวใจเกษตรอย่างแท้จริง อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร อาชีพการเกษตร
คุณวรรณจึงเริ่มต้นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์อย่างจริงจัง มีการเข้าร่วมฟังการบรรยายจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น โครงการอบรมอาชีพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการผันตัวเข้าสู่วงการเกษตรอย่างเต็มตัว จากเดิมที่เคยทำงานในบริษัท ที่ต้องทนกับแรงกดดัน และข้อจำกัดหลายด้าน young smart farmer young smart farmer young smart farmer young smart farmer
ต้นทุนค่าโรงเรือน ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
จากนั้นคุณวรรณได้เริ่มต้นสร้างโรงเรือนเพื่อ ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้ชื่อ “ใบผักฟาร์ม” จากการออกแบบโต๊ะปลูกกันเองของคนในครอบครัว ซึ่งสามารถช่วยประหยัดเงินลงทุนได้ค่อนข้างมาก แต่ไม่เหมาะกับการปลูก ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ในฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนจัด
จึงตัดสินใจซื้อระบบโต๊ะปลูกสำเร็จรูปเข้ามาติดตั้งก่อนประมาณ 3 โต๊ะปลูก และเลือกรูปแบบระบบน้ำลึก Dynamic Root Floating Technique (DRFT) ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 120,000 บาท หรือประมาณ 40,000 บาท/โต๊ะปลูก
ชนิดของผักสลัดที่ปลูกมีทั้งหมด 4 ชนิด
จากการเรียนรู้ และลองผิดลองถูก จนถึงปัจจุบัน เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว จากเดิมมีจำนวน 3 โต๊ะปลูก ปัจจุบันทางฟาร์มได้ขยายเพิ่มขึ้น จนตอนนี้มีอยู่ทั้งหมด 8 โต๊ะปลูก ปลูกสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเพื่อให้มีผลผลิตออกจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง young smart farmer young smart farmer young smart farmer
โดยคุณวรรณกล่าวว่า “คุณวรรณทำเองทุกขั้นตอน และแรงงานส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว อีกทั้งทางด้านการตลาดอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแกลง จึงค่อยๆ ทำการขยายตามความต้องการของตลาด และเพื่อคงความสดใหม่ของผักสลัดที่ผู้บริโภคจะได้รับ”
ซึ่งชนิดของผักสลัดที่คุณวรรณปลูกมีทั้งหมด 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมและรู้จักกันในตลาดเป็นอย่างดี เช่น
- กรีนโอ๊ค
- เรดโอ๊ค
- บัตเตอร์เรด
- และฟิลเล่ย์ฯ
กระบวนการผลิตผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
ด้านกระบวนการผลิตผักสลัดด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ หรือ ปลูกผักในน้ำ จะมีขั้นตอนหลักๆ อาจจะไม่แตกต่างจากการปลูกผักสลัดด้วยดินมากนัก เริ่มต้นจากการ “เพาะเมล็ดพันธุ์ผักสลัด” ลงบนฟองน้ำปลูกที่คุณวรรณจะเพาะสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ผักสลัดที่ผลิตขึ้นภายในประเทศจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยตรง รวมถึงยังเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ของผักสลัดชนิดต่างๆ เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศของประเทศไทยได้ดีอีกด้วย วางถาดเพาะในที่มืดและชื้น 2-3 วัน หรือจนกว่าจะเริ่มงอก
โดยอัตราการงอกของเมล็ดที่เพาะนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของผักแต่ละตัวที่มีปริมาณการงอกของผัก 90% ขึ้นไป ส่วนการเพาะในแต่ละรุ่นแต่ก่อนประมาณ 7 วัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อตลาด จึงลดเหลือ 3 วันครั้ง หลังจากนั้นย้ายถาดเพาะออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดรำไร ก็จะค่อยผลิใบเลี้ยงออกมา
เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 14 วัน จึงย้ายลงโต๊ะปลูก หลังจากประมาณ 3 สัปดาห์ ผักสลัดก็จะสามารถเก็บบริโภค หรือจำหน่ายได้
การดูแล-ให้ปุ๋ย-ให้น้ำ ผักไร้ดิน อาชีพการเกษตร
ส่วนการดูแลและให้ปุ๋ย ในช่วงสัปดาห์แรกที่ย้ายต้นกล้าลงโต๊ะปลูกแล้ว จะให้ธาตุอาหาร A และ B ธาตุอาหารทั้ง 2 ชนิด จะใส่ไม่พร้อมกัน โดยจะใส่ธาตุอาหาร A ก่อนให้ทั่วทั้งโต๊ะ โดยใช้ระยะเวลาการให้ห่างกันก่อน ใส่ธาตุอาหาร B ซึ่งจะใส่เป็นระยะเวลาเช้าหรือเย็นก็ได้ หรือประมาณ 20 นาที โดยมีการใส่ประมาณ 2 ลิตร/โต๊ะปลูก เว้นระยะอีก 3-4 วัน ใส่ธาตุอาหารเพิ่มอีก 1 ลิตร
โดยทางคุณวรรณจะเน้นจากการสังเกตจากสีของใบผักสลัดเป็นสำคัญ จึงค่อยเติมธาตุอาหารเพิ่ม การดูแลเรื่องโรคนั้น หน้าฝนก็ต้องระวังใบจุด หากพบหนอนกัดกินในปริมาณไม่มากก็จะจับใส่ขวดพลาสติกไว้ หากพบมีการระบาดค่อนข้างมากก็จะฉีดยาฆ่าแมลง โดยจะใช้ตั้งแต่ย้ายต้นกล้าลงโต๊ะปลูกก็จะฉีดยาทันที
หลังจากนั้นพอโตก็จะไม่มีการฉีดยา แต่จะเก็บหนอนใส่ขวดพลาสติกแทนการฉีดยา แต่ต้นที่ปลูกประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะฉีดสะเดาไล่แมลง ก็จะมีการฉีดบ้าง แต่ไม่บ่อย ส่วนเพลี้ยไฟนั้นก็จะมีขั้นตอนอากาศร้อน นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องรากเน่า โคนเน่า
ซึ่งแต่ละฤดูก็จะมีปัญหาเรื่องโรคที่แตกต่างกันออกไป ระยะเวลาในการเลี้ยงทุกรุ่นก็จะอยู่ที่ประมาณ 30 วัน แต่จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ทั้งนี้คุณวรรณยังเน้นอีกด้วยว่าการจดบันทึกการทำงานในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์
ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผลผลิตสัปดาห์ละประมาณ 25-30 กิโลกรัม โดยคำนวณต่อโต๊ะปลูก โดยทางฟาร์มจะมีลูกค้าประจำจองไว้ทุกวัน ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นร้านอาหารเป็นหลัก ส่วนราคาที่จำหน่ายกิโลกรัมละ 120 บาท ราคาขายนี้สำหรับผักสลัดทั้ง 4 ชนิด และทางฟาร์มขายราคาเดียวตลอดทั้งปี
ส่วนต้นทุนการผลิตคิดแค่เมล็ดพันธุ์ ฟองน้ำ โฟม พลาสติก ซึ่งอยู่ได้ถึง 5-10 ปี ซึ่งไม่มีปัญหาต่อต้นทุนมากนัก ส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกครั้ง ทางฟาร์มก็จะล้างแปลงเพื่อลงรอบใหม่
คุณวรรณกล่าวว่า “เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและลูกค้ามากยิ่งขึ้น จึงได้ยื่นเรื่องขอการรับรองระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และได้ผ่านการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา”
การตลาดของผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์
ด้านการตลาด ณ ตอนนี้ผักสลัดเป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีความนิยมบริโภคมากขึ้น “ความต้องการใช้และบริโภคผักสลัดมีอยู่เรื่อยๆ ยิ่งฤดูร้อน อากาศที่ร้อนจัด การดูแลและปลูกค่อนข้างยากกว่าฤดูอื่นๆ จึงทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง จึงทำให้ผักสลัดจะมีราคาสูงในช่วงนี้
ส่วนตลาดหลักๆ ก็จะอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก ถ้าเป็นในจังหวัดโซนท่องเที่ยวทางภาคตะวันออกก็มีความต้องการเป็นจำนวนมากอยู่เหมือนกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะมาซื้อเองถึงที่ฟาร์ม”
โดยคุณวรรณเผยว่า “การที่ได้มาทำอาชีพนี้มีอิสระกว่างานที่เคยทำมาทั้งหมด ได้เป็นนายตัวเอง ได้ใช้ชีวิตแบบไม่ต้องเร่งรีบไปทำงาน มีอากาศดี และมีความสุขกับทุกวันที่ได้ทำในสิ่งที่รัก และได้อยู่กับครอบครัวที่รัก แค่นี้ก็สุขเพียงพอแล้ว”
สนใจผักสลัดคุณภาพ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณกนกวรรณ อยู่สุข เลขที่ 59 ม.7 ต.ห้วยยาง อ.แกลง จ.ระยอง 21110 ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com โทร.08-6042-8008
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผักไร้ดิน ปลูกผักในน้ำ ปลูกผักไม่ใช้ดิน วิธีปลูกผักไร้ดิน youngsmartfarmer อาชีพการเกษตร ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์