เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ควบคู่ เลี้ยงหมู ทำ เกษตรผสมผสาน ทำรายได้ 3 ทางตลอดทั้งปี
นิตยสารสัตว์บก จะพาท่านมารู้จักกับเกษตรกรอดีตข้าราชการครูที่ประสบความสำเร็จด้านการทำฟาร์มรูปแบบผสมผสาน ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุโขทัย ท่านผู้นี้คือ คุณศักดา สนทิม
คุณศักดาย้อนถึงอดีตว่า ครอบครัวของตนรับราชการครู ด้วยความขยันจึงหาอาชีพเสริม โดยการตั้งโรงสีข้าวขนาดเล็กเพื่อรับจ้างสีข้าวในชุมชน จากนั้นนำรำละเอียดและปลายข้าวที่ได้ไป เลี้ยงหมู ขุนประมาณ 20-30 ตัว ซึ่งตอนนั้นยังเด็กจึงไม่ได้สนใจ แต่ก็ช่วยงานเป็นประจำ เช่น ขนข้าว เลี้ยงหมู เป็นต้น จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก และสอบบรรจุครูได้ เมื่อปี พ.ศ.2524
จุดเริ่มต้น เหตุที่ทำธุรกิจแบบผสมผสาน เพราะต้องการลดจำนวนของเสียภายในฟาร์ม จึงกลายมาเป็นการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบผสมผสานที่มีข้อดีในการลดความเสี่ยงด้านการตลาด เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวนั้น ทางฟาร์มเคยประสบปัญหาสภาวะราคาตกต่ำ ทำให้ขาดสภาพคล่องเรื่องเงินทุนหมุนเวียน
ซึ่งพอมาทำธุรกิจแบบผสมผสานแล้ว สามารถมีรายได้หลายทาง จึงช่วยชดเชยในส่วนที่ขาดทุนได้ และหากกิจการดีหรือได้ราคาดี รายได้ในแต่ละส่วนจะช่วยเสริมให้ธุรกิจอยู่ในสภาพคล่องยิ่งๆขึ้นไป จึงกลายมาเป็น ศิริสมานฟาร์ม ที่เลี้ยงทุกอย่าง ทั้งสุกร ไก่ไข่ และปลาเบญจพรรณ ฟาร์มมาตั้งอยู่เลขที่ 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com เรียนรู้ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา คู่ เลี้ยงหมู แบบ เกษตรผสมผสาน
โทร. 02-185-6598 , 02-185-6599
จุดเริ่มต้นของการ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา และ เลี้ยงหมู
โดยเริ่มจากมีพื้นที่จำนวน 40 ไร่ เลี้ยงหมู แม่พันธุ์จำนวน 200 กว่าตัว และสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ด้วย ก่อนที่จะเลี้ยงไก่ไข่นั้น ได้ลองทดลองเลี้ยงเป็ดมาก่อน แต่ความนิยมในการบริโภคไข่เป็ดค่อนข้างน้อยกว่าไข่ไก่ จึงเปลี่ยนมาศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ในที่สุด โดยเริ่มต้นเลี้ยงที่จำนวน 2,000 ตัว
ช่วงแรกเคยประสบปัญหาเรื่องมลภาวะ เนื่องจากฟาร์มมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นและปรับรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการใหม่ โดยพยายามไม่ให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะ จึง เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา เพื่อลดของเสียและกลิ่น โดยทดลองเลี้ยง 1 โรงเรือน หรือ 7,000 ตัว พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรือนทั้งหมด 7 หลัง สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้ 40,000 ตัว ส่วนโรงเรือน เลี้ยงหมู ขุนมี 4-5 หลัง แต่ละโรงเรือนใช้พื้นที่ประมาณ 8 ไร่ โดยสร้างไว้ระหว่างคันบ่อปลา และมีโรงเรือนแม่พันธุ์ประมาณ 5 หลัง โดยเป็นโรงเรือนเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามขนาดของพื้นที่ จำนวน 300 กว่าแม่ และได้ขยายพื้นที่เรื่อยมา จนปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 500 ไร่
“เหตุผลที่เลือก เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ในตอนนั้นจุดมุ่งหมายอย่างเดียวก็คือ เมื่อมูลสัตว์ลงไปในน้ำจะทำให้กลิ่นต่างๆ หายไปได้ ซึ่งเมื่อได้ทดลองทำก็รู้สึกว่ามันเข้าท่าดี ส่วนการเลี้ยงปลาก็ไม่ได้คิดอะไรมากเนื่องจากเคยศึกษาการทำฟาร์มในหนังสือ เห็นว่าการทำฟาร์มไว้บนบ่อปลาสามารถจัดการปัญหาด้านกลิ่นได้ ไม่คิดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากปลาอีกทางหนึ่งด้วย”
การบริหารฟาร์ม แบบ เกษตรผสมผสาน
สมัยก่อนเป็นฟาร์มขนาดเล็ก จะดูแลเองทั้งหมด แต่ปัจจุบันกิจการมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การเลี้ยงสัตว์ของทางฟาร์มก็ยังยึดรูปแบบเดิม คือ เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงแบ่งองค์กรออกเป็น 7 แผนก ดังนี้
- แผนกสุกรแม่พันธุ์ – มีหน้าที่เลี้ยงแม่พันธุ์และผลิตลูกสุกรขุน จำหน่ายให้กับแผนก เลี้ยงหมู ขุนของทางฟาร์มเป็นหลัก
- แผนกสุกรเนื้อหรือแผนก เลี้ยงหมู ขุน : มีหน้าที่ขุนสุกรให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
- แผนกผสมอาหารสัตว์ : จะมีหน้าที่ผสมอาหารจำหน่ายให้แต่ละแผนกในฟาร์ม
- แผนกไก่ไข่ : จะรวมถึงไก่เล็ก และไก่รุ่น มีหน้าที่เลี้ยงและเก็บไข่ 5. แผนกนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แผนกเพาะพันธุ์ปลา เพื่อจำหน่ายให้กับในฟาร์ม และจำหน่ายให้เกษตรกรรายย่อยที่สนใจ
- แผนกปลาธรรมชาติ : มีหน้าที่ดูแลปลาในบ่อของทางฟาร์ม และจับจำหน่าย
- แผนกสร้าง ซ่อม บำรุง : ทุกอย่างภายในฟาร์ม
- แผนกบริหารส่วนกลาง : ทำหน้าที่ด้านการตลาด บัญชี และงานจำหน่ายสินค้า ของทางฟาร์มทุกอย่าง เช่น จำหน่ายไข่ไก่ สุกรขุน แม่ไก่ปลดระวาง ปลา อาหารสัตว์ และวัตถุดิบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแต่ละแผนกจะมีผู้จัดการดูแล
การเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด
ทั้งนี้แม้ว่าทางฟาร์มจะเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนแบบเปิด แต่ให้ความสำคัญเรื่อง “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” โดยฟาร์มจะมีประตู 2 ชั้น ประตูแรกเป็นประตูหลักจะมีบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นเขตสำหรับบุคคลภายนอกที่มาติดต่อหรือซื้อสินค้า ส่วนประตูที่ 2 จะเป็นเขตจำกัด เฉพาะพนักงานที่สามารถเข้าไปได้ ซึ่งก่อนที่พนักงานเข้าฟาร์มจะต้องชำระร่างกายและเปลี่ยนชุด
“เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือนำพาโรคเข้าสู่ฟาร์ม ก็จะป้องกัน เช่นรถจับสุกรขุน ทางฟาร์มจะมีพื้นที่สำหรับให้พนักงานต้อนสุกรออก จากนั้นจะมีพนักงานอีกคนรับช่วงต่อ ซึ่งคนต้อนกับคนชั่งน้ำหนักสุกรจะเป็นคนละคนกัน ส่วนปัจจัยเสี่ยงอีกข้อ คือ นก ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ทางฟาร์มจะมีตาข่ายล้อมรอบโรงเรือนทั้งสุกรและไก่ไข่ เพื่อป้องกันไม่ให้นกเข้าไปในโรงเรือน”
การผสมอาหารใช้เอง ใช้วัตถุดิบทั่วไปในการเลี้ยงสัตว์
สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในฟาร์มนั้นจะผสมเอง โดยส่วนมากจะใช้วัตถุดิบทั่วไป เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด มันสำปะหลัง ส่วนวัตถุดิบทดแทนอย่างอื่นจะไม่ได้ใช้ เนื่องจากต้องการให้อาหารที่ผลิตมีคุณภาพ โดยที่สัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เหมาะสำหรับสัตว์แต่ละชนิด
การคัดสรรวัตถุดิบเพื่อคุณค่าทางโภชนาการ
โดยนิสัยส่วนตัวเป็นนักทดลอง และได้ศึกษาวัตถุดิบแต่ละชนิดมาพอสมควร เพราะสมัยก่อนจะมีวัตถุดิบหลายอย่าง ซึ่งก่อนนำมาใช้จะต้องมีการทดสอบและจับตัวเลขภายในฟาร์มก่อน เพราะวัตถุดิบบางชนิดสามารถใช้ได้ระดับหนึ่ง แต่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักไม่ได้ ฉะนั้นจะเลือกใช้วัตถุดิบที่หาได้และไม่ขาดแคลน
เพราะจะมีผลกระทบต่อสูตรอาหารโดยตรง ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เพราะเห็นว่าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของทางฟาร์ม และสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ได้แก่ ดีดีจีเอส ถั่วอบ , ปลาป่น , ไก่ไฮโดรไลท์ เป็นต้น
การให้ อาหารหมู -ไก่ไข่
การให้ อาหารหมู แต่ละสูตรจะแตกต่างกันตามช่วงอายุของสุกร เช่น สุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน สุกรแม่พันธุ์อุ้มท้อง และสุกรแม่พันธุ์เลี้ยงลูก ซึ่งแม่พันธุ์อุ้มท้องและแม่พันธุ์เลี้ยงลูกจะให้กินช่วงเช้าและช่วงบ่าย แม่พันธุ์เลี้ยงลูกจะให้เช้าและบ่ายเช่นกัน แต่แม่พันธุ์เลี้ยงลูกจะเน้นปริมาณที่ให้สามารถกินได้ไม่จำกัด โดยจะกระตุ้นให้กินอย่างเต็มที่ ส่วนสุกรขุนให้ 3 เวลา คือ เช้า บ่าย และเย็น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สุกรกินอาหารได้มากที่สุด
ส่วนไก่ไข่ จะให้วันละ 2 ครั้ง แต่จะมีการเกลี่ยรางอาหารวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ไก่กินอาหารได้มากขึ้น ส่วนปลาที่เลี้ยงจะให้กินอาหารตามธรรมชาติ
ด้านความร่วมมือกับ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด
จากที่ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เข้ามาแนะนำวัตถุดิบอาหารสัตว์ สิ่งแรกที่พิจารณา คือ เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบว่าตรงตามความต้องการและเหมาะสมหรือไม่ ที่สำคัญจะดูเรื่องการบริการหลังการขาย ซึ่งทางบริษัท สยาม อะกริ ฯ ได้เข้ามาให้ความรู้ เทคนิค บางอย่าง ที่เป็นผลประโยชน์ที่ดีต่อฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ และทางบริษัทยังให้ความช่วยเหลือด้วยการนำวัตถุดิบ หรืออาหารสัตว์บางตัวของทางฟาร์มไปตรวจคุณภาพให้ เพื่อรับรองผลแลป
ตลาดเปิดกว้างสำหรับสินค้าเกษตร
ปัจจุบันตลาดค่อนข้างเปิดกว้าง และมีความต้องการสูง แต่ปัจจุบันเกษตรกรผู้ เลี้ยงหมู รายย่อยเริ่มลดลง และถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีจำนวนการเลี้ยงที่มากขึ้น และมีระบบบริหารและจัดการที่เบ็ดเสร็จ จึงทำให้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของการเลี้ยงและเรื่องอื่นๆ
ที่สำคัญ คือ มีบทบาทในการกำหนดราคาเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกษตรกรรายย่อยอยู่ได้ยาก จึงต้องหากลยุทธ์ในการปรับตัว และทางฟาร์มมีการปรับเปลี่ยนสายพันธุ์เพื่อให้ตรงกับความต้องการ ปัจจุบันใช้สายพันธุ์ฟินนอร์เอเชีย และเดนมาร์ก ตลาดส่วนมากจะอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัย
โดยทางฟาร์มจะใช้ชื่อ “หมูปลอดภัย” เพราะปลอดสารเร่งเนื้อแดง และยาปฏิชีวนะ ฉะนั้นนึกถึงหมูปลอดภัยต้องนึกถึง ศิริสมานฟาร์ม
การจำหน่ายไข่ไก่วันละ 100 แผง
สำหรับไก่ไข่ของทางฟาร์มจะจำหน่ายภายใต้ชื่อ “ไข่ไก่โอชา” เนื่องจากสมัยก่อนที่เป็นฟาร์มขนาดเล็กโอกาสที่จะอยู่ได้นั้นค่อนข้างยาก จึงคิดว่าถ้าหากสร้างแบรนด์ขึ้นเอง และเสริมสารไอโอดีน สังกะสี ซิลิเนียม และแมงกานีส เข้าไปในอาหารไก่ไข่ พยายามหาสูตรอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
จนได้ไข่ไก่ที่มีลักษณะของไข่ขาวที่ข้น เหนียว และสามารถคงความสดได้นาน นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรโมชั่น คือ ซื้อไข่สะสมแต้ม เพื่อแลกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจ และมาซื้อไข่ไปบริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละวันสามารถจำหน่ายได้ 40-50 แผง หรือบางวันจำหน่ายได้ถึง 100 แผง
การจำหน่ายปลาเฉลี่ยวันละประมาณ 1 ตัน
ส่วนปลาจะจับทุกวัน เพราะมีทั้งแม่ค้าตลาดสด ตลาดนัด และบ่อตกปลา มาซื้อทุกวันเฉลี่ยวันละประมาณ 1 ตัน
การวางเป้าหมายในอนาคต
อนาคตกับเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากอายุเริ่มมากขึ้น จึงได้วางระบบและหน้าที่พนักงานไว้ชัดเจนแล้ว ระบบงานต่างๆ สามารถดำเนินไปได้ด้วยตัวของมันเอง และมีการขยายบางส่วนเพิ่มเติม เช่น เดิมมีสุกรแม่พันธุ์จำนวน 300 แม่ จะเพิ่มจำนวนให้ถึง 400 แม่ ส่วนไก่ไข่อาจจะเพิ่มขึ้นตามกำลังที่จะทำไหว
เพราะส่วนหนึ่งทางฟาร์มก็ยังเป็นที่พึ่งของผู้เลี้ยงรายย่อยในเรื่องของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้เลี้ยงบางรายมีความรู้ ความสามารถ ในด้านการผสมอาหารใช้เอง ก็มาซื้อวัตถุดิบไปผสม หรือบางฟาร์มมาซื้ออาหารจากทางฟาร์มไปใช้ ซึ่งอาหารที่จำหน่ายกับอาหารที่ใช้ในฟาร์มจะเป็นสูตรเดียวกัน และทางฟาร์มยังเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาการเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย
“ธุรกิจเลี้ยงสัตว์เป็นธุรกิจหนึ่งที่ค่อนข้างเสี่ยงด้านรายได้ ราคาสินค้า ราคาวัตถุดิบ หรืออาหารสัตว์ เมื่อเข้ามาทำตรงนี้จะต้องทำความเข้าใจให้มาก เพื่อที่จะเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดปัญหา และในขณะเดียวกันบางเรื่องก็เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว อย่างเช่น การเกิดโรคระบาด รวมถึงบุคลากร และแรงงาน ด้วย
ซึ่งการบริหารจัดการคนก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ ส่วนการตลาดต้องมีการวางระบบงานให้ดี เพื่อที่จะลดความเสี่ยง อย่างที่ฟาร์มทำ คือ การเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เพื่อที่จะลดความเสี่ยง สำหรับผู้ที่จะทำธุรกิจด้านนี้จำเป็นจะต้องเรียนรู้ธุรกิจแต่ละด้าน และต้องศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้” คุณศักดากล่าวให้แง่คิด
ขอขอบคุณ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เลขที่ 799/90 ม.3 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280 โทร 02-185-6599 www.siamagrisupply.com และ ศิริสมานฟาร์ม คุณศักดา สนทิม 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 64120 โทร.055-681-254
เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงหมู เกษตรผสมผสาน อาหารหมู การเลี้ยงหมูขุน เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา