เกษตรอินทรีย์ และ การทำนา ข้าวอินทรีย์ 1 ไร่ 1 แสน
จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดสินค้า เกษตรอินทรีย์ มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คำว่า อินทรีย์ หรือ ออร์แกนิค (Organic) เกษตรอินทรีย์ ถูกนำมาใช้ในตลาดอย่างแพร่หลาย เมื่อประเทศมุ่งสู่วิถีการผลิตเพื่อความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติแบบ Permaculture การทำสวนแนวตั้ง หรือการปลูกผักไว้กินเองในสวนหลังบ้าน ระเบียง หรือพื้นที่ว่างต่างๆ ทำให้มนุษย์โหยหาความบริสุทธิ์จาก “ธรรมชาติ” มากขึ้น
สนใจและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com) ได้ที่ อาจารย์คนึง พรมรัตน์
โทร.081-844-2842
การทำนา ข้าวแบบ เกษตรอินทรีย์
อาจารย์คนึง พรมรัตน์ เดิมเป็นข้าราชการอีกท่าน ที่หลังจากเกษียณราชการครูจากโรงเรียนวัดห้วยเปี่ยม ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี แล้วก็มารับใช้ชุมชนในระหว่างที่ยังรับราชการอยู่ ตอนเข้าไปเป็นครูปีแรก ก็ได้ชวนชาวบ้านทำนาเพื่อหาเงินสร้างโรงเรียน เป็นพื้นที่ของวัดประมาณ 13 ไร่
ได้เริ่มปลูก ข้าวอินทรีย์ ครั้งแรกเมื่อปี 2549 มีพื้นที่ 2 ไร่ ซื้อเมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา ราคาประมาณไร่ละ 2 แสนบาท และได้ทำเป็นแปลงสาธิตเพื่อให้กลุ่มได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีสมาชิกประมาณ 60 คน มีพื้นที่รวมในการเพาะปลูกประมาณ 300 ไร่ แต่ก็ไม่ใช่ เกษตรอินทรีย์ ทั้งหมด สมาชิกจะแบ่งพื้นที่ในการปลูกคนละนิด
จึงตัดสินใจทำนา เพราะฟังข่าวว่า “ประเทศไทยเราเสียดุลการค้าเรื่องสารเคมีประมาณหลายหมื่นล้านบาท สุขภาพของคนที่ใช้ก็มีเสียชีวิตจากการใช้เคมีด้วย” ก็เลยตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น ภายใต้ชื่อ “โรงสีข้าวชุมชนโคกลำพาน” ที่เป็นโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ปี 2559
สร้างโรงเรือนและลานตากข้าว ด้วยงบประมาณ 470,000 บาท อาจารย์คนึงอาศัยประสบการณ์จากการเป็นวิทยากรตามเวทีต่างๆ และจากการไปศึกษาดูงานกับทางคุณนิมิตร และอาจารย์เชาว์วัชใน การทำนา และปลูกผักอินทรีย์ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนากลุ่มให้เห็นคุณค่ามากขึ้น
คำนวณต้นทุน การทำนา อินทรีย์
เนื่องด้วยทางธนาคารหมู่บ้านจะซื้อรถดำ 1 คัน และรถไถ 2 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร
- หลังจากที่ได้เมล็ดมาแล้วก็ไปจ้างเพาะกล้าที่บ้านหมี่ อ.ท่าวุ้ง ในราคาถาดละ 10 บาท ใช้เวลาในการเพาะประมาณ 18-20 วัน ส่วนดินในพื้นที่เป็นดินดำร่วนปนดินเหนียว การเตรียมดินนั้นจะตีป่นดินแล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์
- หลังจากนั้นก็เอารถมาย่ำให้เป็นเลน แล้วเอาไม้กระดานยาวๆ มากวาดให้เสมอกัน อัตราค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินครั้งแรกตกไร่ละประมาณ 260 บาท และครั้งที่ 2 ไร่ละประมาณ 200 บาท
- หลังจากเตรียมดินเสร็จก็จะจ้างรถดำ ค่าจ้างทั่วไปประมาณ 1,400 บาทต่อไร่ ถ้าเป็นกลุ่มสมาชิกจะเสียแค่ 225 บาท เพราะค่าน้ำมันและค่าคนขับต้องจ่ายเอง ค่าจ้างคนขับ 320-500 บาท แต่ก่อนเคยจ้างแรงงานคนต่างอำเภอมาดำค่าใช้จ่ายไร่ละประมาณ 1,100-1,500 บาท การมีเครื่องจักรเข้ามาจึงช่วยให้ประหยัดเวลา และลดต้นทุนลงได้
- หลังจากดำไปแล้วประมาณ 4-5 วัน ก็หว่าน ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ถุง 50 กิโลกรัม หว่าน 1 ไร่ต่อ 1 ถุง ค่าจ้างหว่านปุ๋ยประมาณ 60 บาทต่อไร่ “ตราเทพวานร”
- วิธีในการคุมหญ้าที่ดีที่สุด คือ “น้ำ” แต่พื้นนาของอาจารย์คะนึงระบบชลประทานน้ำมาไม่ทั่วถึง เพราะเป็นที่ดอน ทำให้หญ้าขึ้นในพื้นนาจนต้องจ้างคนถอนหญ้า 20 ไร่ หมดค่าจ้างไปประมาณ 30,000 บาท
- ฮอร์โมนในการบำรุงต้นข้าวจะหมักใช้เองจากหน่อกล้วย ผลผลิตที่ได้ประมาณ 30-40 ถังต่อไร่ ได้สูงสุดประมาณ 60 ถังต่อไร่ พอสีเป็นข้าวเปลือก 1 เกวียน ได้ประมาณ 650 ถ้าส่งไปสีที่ อ.เชาว์วัช จะได้ประมาณ 628 กิโล
- ค่าจ้างสีเกวียนละ 2,000 บาท จะได้ปลายข้าวป่น และรำข้าว กลับมาด้วย โดยทำข้อตกลงไว้ว่าต้องสีอย่างน้อย 2 เกวียน ข้อดี คือ ไม่ต้องจ้างเก็บกากข้าว ยิงสีให้พร้อม
ข้าวเปลือกที่ขาย อ.เชาว์วัช ให้ในราคาเกวียนละ 13,000 บาท ขายไป 6 ตันในจำนวนพื้นที่ 2 ไร่ บางส่วนก็เก็บไว้สีเอง ปีนี้ในพื้นที่ 11 ไร่ ได้ข้าวเปลือก 2 ตัน เก็บไว้ประมาณ 20 กว่าถัง และจ่ายค่าเช่าไป 16 ถัง
สายพันธุ์ข้าว
ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์แรกที่อาจารย์คนึงปลูกด้วยนาดำน้ำตม ฤดูแรกก็ขาดทุน เพราะหญ้าแห้วหมูขึ้นเยอะ จึงทำให้ข้าวไม่ขึ้นได้ผลผลิตไม่ถึง 30 ถัง จึงทำให้กลุ่มสมาชิกจากเดิมที่มี 60 คน ตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ 14 คน เพราะ การทำนา แบบ เกษตรอินทรีย์ ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าเช่าพื้นที่ทำนาในแต่ละปี
ซึ่งราคาค่าเช่าตกปีละ 16 ถัง/ไร่ ชาวนาส่วนใหญ่ในพื้นที่จะปลูกข้าวอายุ 4 เดือน เช่น หอมปทุม ชัยนาท สุพรรณบุรี แต่ถ้าปีไหนที่น้ำน้อยก็จะปลูกข้าวอายุ 3 เดือน เช่น กข.61 เป็นต้น เมื่อประมาณปี 56-57 หลังจากที่ปลูกข้าวหอมมะลิก็เปลี่ยนมาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์
เมล็ดพันธุ์ข้าวได้มาจากท่านผู้ว่าที่ย้ายมาจาก จ.สิงห์บุรี ท่านได้นำพันธุ์ข้าวมาเผยแพร่ และจัดตั้งกลุ่มภายใต้ชื่อ “โครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ” มีสมาชิกเข้าร่วมทั้งจังหวัด 34 คน มีพื้นที่รวมกันทั้งจังหวัดประมาณ314 ไร่ ส่วนพื้นที่ของตัวเองได้เข้าร่วมโครงการประมาณ 10 ไร่ แต่ทำจริงๆ ประมาณ 20 ไร่
การสีข้าวที่โรงสีข้าวชุมชนบ้านโคกลำพาน
แต่วันนี้ศูนย์รวมของเกษตรกร คือ โรงสีข้าว “ชุมชนบ้านโคกลำพาน” ทุกคนสามารถนำข้าวมาสีได้ อัตราค่าใช้บริการในการสีข้าวกล้อง 10 กิโล ราคา 14 บาท ถ้าเป็นข้าวขาวจะไม่เสียค่าสี เพราะจะได้ในส่วนของแกลบ ขายถุงกระสอบปุ๋ยละ 5 บาท สามารถนำไปทำเป็นส่วนผสมของ “อุ”
ซึ่งเป็นสุราแช่ที่ขึ้นชื่อของโคกลำพาน มีรสชาติหวานคล้ายข้าวหมาก แต่กินแล้วเมา ส่วนรำจะขายกิโลกรัมละ 6 บาท ปลายข้าวขายกิโลกรัมละ 10 บาท เครื่องสีข้าวของทางกลุ่มจะมีเครื่องสีข้าวขาว เป็นเครื่องมือสองที่ซื้อมาจากบ้านป่าหวายในราคาประมาณ 50,000 บาท และเครื่องสีข้าวกล้องที่ซื้อจากสุโขทัยในราคาประมาณ 40,000 บาท พื้นที่โรงสีมีประมาณ 1 ไร่ครึ่ง เป็นที่ของธนาคารหมู่บ้าน
หลังจากสีข้าวกล้องแล้วการยืดอายุของข้าวกล้องต้องแพ็คถุงสุญญากาศ ต้องเสียค่าแพ็คอีกกิโลประมาณ 10 บาท และจำหน่ายในราคาถุงละ 70 บาทต่อกิโลกรัม ปีนี้ราคาข้าวตกต่ำจะขายในราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม ข้าวของอาจารย์คะนึงมีความพิเศษ คือ ความหอม ความนุ่ม เพราะปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี อย่างอาจารย์เชาว์วัชที่ทำการตลาดแบบทำเอง ขายเอง มีกลุ่มเกษตรกรทั้งจังหวัด 11 อำเภอ มีสมาชิก 262 คน นั้นดีอยู่แล้ว
ผลผลิตจากข้าวไรซ์เบอรี่
แต่ทุกขั้นตอนมีค่าใช้จ่ายต้นทุนในการทำข้าวไรซ์เบอรี่ต่อไร่ตกประมาณ 5,500 บาท แม้ การทำนา แบบ เกษตรอินทรีย์ จะขาดทุนมากกว่าคุ้มทุน จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากตำรา “1 ไร่ 1 แสน” เพื่อนำมาปรับปรุงรูปแบบ การทำนา ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลา หลัง การทำนา ในช่วงหน้าแล้ง อ.คนึง และชาวนาคนอื่นๆ ยังได้ปลูกถั่วเขียวลดพื้นที่ การทำนา ตามนโยบายของรัฐบาล
ปลูกมาได้ประมาณ 5 ปี ขาดทุนทั้ง 5 ปี ในช่วง 4 ปีแรกไม่ได้เก็บเมล็ดถั่วได้เลย เพราะว่าฝนไม่ตก ถั่วตายหมด ในปีที่ผ่านมาปลูกประมาณ 20 ไร่ ได้ถั่วเขียวประมาณ 3 ไร่ จ้างแรงงานคนเก็บครึ่งวัน 150 บาท และปลูกฟักทองอินทรีย์ระบบปิด มีลูกค้ามาจองลูกฟักทองไว้อย่างมากมาย ผลิตป้อนแทบไม่ทัน จำหน่ายในราคาลูกละ 25 บาท
การทำ เกษตรอินทรีย์ นอกจากห่างไกลสารเคมีแล้ว ร่างกายยังปลอดภัยจากสารพิษอีกด้วย“ การทำนา แล้วส่งที่ดินเสีย ๆ น้ำเสีย ๆ ไปให้ลูกหลานมันเป็นบาป ที่ผมทำทุกวันนี้เป็นที่ดินเช่า ผมทำให้ดินที่ตายนั้นฟื้นคืนมาได้” อ.คนึง กล่าวทิ้งท้าย
สนใจและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์คนึง พรมรัตน์
44/1 หมู่ที่ 3 ต.โคกลำพาน อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 โทร.081-844-2842