เลี้ยงไก่ไข่ หลายสาย พันธุ์ไก่ไข่ ให้ได้ คุณภาพ และ ราคาไข่ไก่ ที่ดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ไก่ไข่ ถือเป็นสัตว์โปรตีน ราคาถูก และไข่เป็นสินค้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และสามารถบริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย จึงไม่แปลกที่เราจะพบได้ตามท้องตลาดทั่วไป แต่สิ่งที่แปลก คือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าไข่ไก่ที่รับประทานนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่…?  ทางปิยพรฟาร์มจึงเห็นความสำคัญ และนำสาย พันธุ์ไก่ไข่ ที่ได้มาตรฐาน พร้อมวิธีการเลี้ยงที่เป็นระบบปิด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของโรคมาใช้ในฟาร์ม

ปิยพรฟาร์ม เป็นชื่อของ คุณปิยพร เจริญสุข หรือ “คุณหญิง” นักธุรกิจรุ่นใหม่ ได้กลับมาดูแลกิจการฟาร์มไก่ไข่ โดยรับช่วงมาจาก คุณสำรวย เจริญสุข (บิดา) และคุณสมพิศ เจริญสุข (มารดา) ปัจจุบันคุณหญิงมาบริหารและจัดการฟาร์มโดยมีคุณพ่อและคุณแม่คอยให้คำปรึกษา เพราะคุณหญิงไม่มีความรู้ด้านการ เลี้ยงไก่ไข่ และไก่สาว

แต่อย่างใด อาศัยประสบการณ์การคลุกคลีกับ การ เลี้ยงไก่ไข่ ตั้งแต่ตนเป็นเด็ก และได้มีการเรียนรู้จากสัตวแพทย์ หรือสัตวบาล ที่คอยให้คำปรึกษา เพื่อเป็นตัวช่วยในการบริหารและจัดการฟาร์ม

1.โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
1.โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่
2.คุณปิยพร-เจริญสุข-เจ้าของฟาร์มไก่ไข่-ปิยพรฟาร์ม-บ้านโพธิ์
2.คุณปิยพร-เจริญสุข-เจ้าของฟาร์มไก่ไข่-ปิยพรฟาร์ม-บ้านโพธิ์

การ เลี้ยงไก่ไข่ ในระบบเปิด              

สมัยก่อนที่คุณพ่อและคุณแม่ดูแลอยู่จะมีทั้งหมด 18 หลัง เลี้ยงไก่อยู่ประมาณ 50,000 ตัว เลี้ยงในระบบเปิด  ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่เสี่ยงต่อโรคอย่างมาก และดูแลจัดการลำบาก ซึ่งปัจจุบันได้ปลดไก่ออกไปหมดแล้ว

ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว ที่คุณหญิงได้ดูแลฟาร์มแห่งนี้ และได้ยึด การ เลี้ยงไก่ไข่ เป็นอาชีพหลัก เธอกล่าวกับทีมงานนิตยสารสัตว์บกว่า สาเหตุที่เลือกทำฟาร์มไก่ไข่ “คุณแม่ไม่ทำฟาร์มแล้ว จึงยกที่ดินให้พร้อมฟาร์มเก่า เพราะช่วงนั้นเป็นฟาร์มเปิด และเจอโรคเยอะ ทั้งเชื้อไข้หวัดนก และปัญหาต่างๆ ตนก็ไม่อยากนับหนึ่งใหม่ เนื่องจากมีโรงผสมอาหารอยู่แล้ว จึงอยากสานต่อธุรกิจนี้ เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น”

ข้อเสียของไก่ไข่ทั้ง 3 สาย พันธุ์ไก่ไข่

ไก่ที่เลี้ยงจะเป็นสาย พันธุ์ไก่ไข่  1) แบลคค๊อป 2) Cp brown และ 3) ไฮไลน์ของเอเป็ก ซึ่งไก่แต่ละสาย พันธุ์ไก่ไข่ ของแต่ละบริษัท ก็จะมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไป โดยนำจุดเด่นมาปรับปรุงซึ่งไม่เหมือนกัน บางบริษัทจะเน้นไข่ใบใหญ่ ผิวสวย หรือไข่ดก ก็จะแตกต่างกันไป เช่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  1. แบลคค๊อป ไข่จะมีลักษณะกลม สวย ผิวเปลือกชมพู กลมดี

ข้อเสีย : เป็นเรื่องโรค ลำไส้ จะอ่อนแอกว่า พันธุ์ไก่ไข่ อื่น

  1. Cp brown ไข่จะมีลักษณะค่อนข้างเล็ก แต่ พันธุ์ไก่ไข่ นี้จะออกไข่ดก
  2. ไฮไลน์ ไข่จะมีลักษณะเปลือกผิวสีแดง เป็นสาย พันธุ์ไก่ไข่ ที่นิยมเลี้ยงกัน

ข้อเสีย : ไข่จะมีรูปทรงที่ลูกเรียวแหลม

7.ลูกไก่ภายในโรงเรือน
7.ลูกไก่ภายในโรงเรือน
3.ที่เก็บไข่อัตโนมัติ
3.ที่เก็บไข่อัตโนมัติ

การบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ และ การ เลี้ยงไก่ไข่

สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน ได้แก่

1.ด้านทัศนคติ ของคุณพ่อกับคุณแม่ในการบริหารแบบรุ่นเก่า ที่เน้นประหยัดในการลงทุนต่างๆ เช่น การซื้ออุปกรณ์ กรง แท็งค์น้ำ เครื่องเจนเนอเรเตอร์ โรงเรือน เพราะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่มองกลับกันกับทางคุณหญิงที่มองว่าการที่ลงทุนสูงจะทำให้ได้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ

2.เครื่องคัดไข่ เครื่องที่ฟาร์มผลิตได้ 10,000 ฟอง/1 ชั่วโมง คนงานคัดไข่ตั้งแต่เวลา 7.00 -16.00 น. ตอนนี้กำลังมองหาเครื่องคัดไข่ที่สามารถผลิตได้ 30,000 ฟอง/1 ชั่วโมง เป็นการประหยัดเวลาไปได้เยอะ ตอนนี้กำลังศึกษาข้อมูลต่างๆ และกำลังเจรจากับธนาคารเพื่อขอยื่นกู้ อาจเป็นปีหน้า

3.ด้านแรงงาน ทางฟาร์มให้ความสำคัญกับแรงงานต่างด้าว โดยทำบัตรให้ถูกต้องตามกฎหมาย พอทำให้แล้วก็ลาออก และบางคนก็อยู่มานานตั้งแต่สมัยที่คุณแม่ทำฟาร์ม ปัจจุบันคุณหญิงมองว่าด้วยอายุที่มาก อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง คุณหญิงจึงตัดสินใจนำเครื่องจักรเข้ามาใช้แทน เช่น เครื่องลำเลียงไข่  และระบบอัตโนมัติต่างๆ เพื่อลดคนงาน และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย                

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณหญิงกล่าวว่า ปัจจุบันคนงานไทยต้องยอมรับว่าขยันสู้คนงานต่างด้าวไม่ได้ สังเกตจากการให้อาหารไก่ ช่วงเช้าถือเป็นมื้อสำคัญ ต้องให้ตรงเวลา โดยทางฟาร์มจัดให้ช่วงเช้า เริ่มที่ 05.00 น. และ 10.00 น. ช่วงบ่ายเริ่มที่ 14.00 น. และ 17.00 น. ซึ่งคนงานมักจะให้ช้าไป 20 นาที สาเหตุนี้ทำให้ไก่ไข่ไม่สามารถออกผลผลิตตามที่ตั้งเป้าไว้

ทั้งๆ ที่เป็นเวลาที่น่าจะได้ผลผลิตที่สูง ไข่ที่ได้จะอยู่ประมาณ 80% คุณหญิงแก้ปัญหาโดยการยืนคุมคนงานเองตอนให้อาหาร ซึ่งก็ทำให้รู้ว่าช้าจริงๆ เพราะมื้อสุดท้ายของไก่เวลาประมาณ 17.00 น. ไก่ต้องมีอาหารเหลือในรางเพื่อไว้กิน แต่นี่ไม่เหลือเลย ได้จัดทำระบบใหม่ทั้งหมด โดยได้นำเทคโนโลยีมาใช้  ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ตนรับได้ ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ดี

4.โรงเรือนเลี้ยงไก่เล็ก
4.โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ เล็ก

การแยกโรงเรือนเลี้ยงระหว่างไก่ไข่กับไก่เล็ก

ปัจจุบันคุณหญิง เลี้ยงไก่ไข่ อยู่ที่ 51,400 ตัว และไก่สาวอีก 20,000 ตัว เลี้ยงในระบบปิด ปัจจุบันมี 2 โรงเรือน ขนาดโรงเรือนโดยประมาณ 15×108 โดยแยกโรงเรือนเลี้ยงระหว่างไก่ไข่ กับไก่เล็ก โรงเรือนและอุปกรณ์ของอีแวป ในส่วนของไก่ไข่จะใช้ของ Bigdutchman จากเยอรมัน ส่วนไก่เล็กจะใช้อุปกรณ์โรงเรือนอีแวประบบน็อกดาวของ GSI นำเข้ามาจากอเมริกาทั้งหมด

งบประมาณที่ใช้ลงทุนในการเลี้ยงไก่ ที่ได้รับช่วงต่อจากคุณแม่มีเพียงที่ดินและโรงผสมอาหารที่ใช้ได้ ส่วนโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ได้เปลี่ยนและสร้างใหม่ให้เป็นระบบปิด ส่วนตัวลูกไก่, อาหาร และวัคซีน ก็จะใช้ทุนส่วนตัว โดยนำที่ดินที่คุณแม่ยกให้ไปเข้าธนาคารเพื่อนำเงินมาลงทุน โดยมีระยะเวลาชำระหนี้ 7 ปี

5.เลี้ยงไก่ไข่ พันธุ์ไก่ไข่ ราคาไข่ไก่
5.เลี้ยงไก่ไข่ พันธุ์ไก่ไข่ ราคาไข่ไก่

ด้านการตลาดไข่ไก่

โดยช่วงแรกๆ ทางฟาร์มจะนำไข่ของที่อื่นมาขาย เพื่อเป็นการสร้างตลาดให้กับผู้บริโภครับรู้ก่อนสร้างโรงเรือนเสร็จ จากนั้นก็เริ่มนำไข่ของฟาร์มมาขายด้วย เพื่อลดการซื้อไข่ไก่จากที่อื่น

ปัจจุบันอัตราการผลิตไข่ของทางฟาร์มอยู่ที่ 45,000 ฟอง/วัน รับมาจากที่อื่นประมาณ 30,000 ฟอง เนื่องจากตลาดต้องการไข่มาก และปิยพรฟาร์มยังมีกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ไข่จะมีลักษณะกลม-สวย
6.ไข่จะมีลักษณะกลม-สวย
7.ลูกไก่ภายในโรงเรือน
7.ลูกไก่ภายในโรงเรือน

การแบ่งโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ แต่ละสาย พันธุ์ไก่ไข่ รวมถึงลูกไก่ด้วย

ทางฟาร์มจะแยกโรงเรือนละ1สาย พันธุ์ไก่ไข่ เพื่อสะดวกต่อการเลี้ยง การให้อาหาร และดูแลต่างๆ สำหรับปิยพรฟาร์มจึงไม่ถือว่าสายพันธุ์ที่ต่างกันนั้นเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ในการขึ้นกรงนั้นไก่ห้ามอายุห่างกัน 3 วัน ถ้าเกิน 3 วัน จะไม่ค่อยดี และมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตตามมา

ตอนนี้ฟาร์มมีไก่หมุนเวียนเกือบ 100,000 ตัว รวมลูกไก่ด้วย ปลายปี 60 นี้ จะทำโรงเรือนไก่ไข่เพิ่มอีก 1 โรงเรือน เป็น 102,800 ตัว ปี 61 จะเพิ่มอีก 2 โรงเรือน เป็น 200,000 ตัว เพราะพื้นที่ฟาร์มจำกัดอยู่ที่ 200,000 ตัว ทางฟาร์มจะใช้ H-เฟรม ของ Bigdutchman จะมี 4 ชั้น 5 แถว

ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะกับประเทศไทย ถ้าเป็นต่างประเทศจะใส่ 12 ตัว แต่ประเทศไทยใส่แค่ 8 ตัว เพราะเรื่องของภูมิอากาศที่แตกต่างกัน และเป็นเขตร้อนชื้น แหล่งที่มาของสาย พันธุ์ไก่ไข่ ที่ฟาร์ม พันธุ์แบลคค๊อปสั่งมาจาก บริษัท ร่วมมิตรฯ, Cp brown จาก บริษัท ซีพีฯ และไฮไลน์ จาก บริษัท เอเป็กฯ โดยแต่ละสาย พันธุ์ไก่ไข่ จะถูกเลี้ยงระยะเวลาที่ 16-17 สัปดาห์ ก็จะสามารถออกไข่ได้

8.การป้องกันโรคระบาดในไก่ไข่
8.การป้องกันโรคระบาดในไก่ไข่

การป้องกันโรคระบาดในไก่ไข่

การทำวัคซีนจะตามโปรแกรมทั่วไป จะมี 7 วัน 14 วัน 21 วัน ตัวยาหลักๆ ที่ใช้ ได้แก่ นิวคาสเซิล หลอดลม มาแร็ก เอ็นโคละลายน้ำ แต่หากช่วงไหนมีการระบาดของโรคทางฟาร์มก็จะย่นระยะเร็วกว่าปกติเล็กน้อย

9.การให้อาหารไก่ไข่
9.การให้อาหารไก่ไข่

การให้อาหารไก่ไข่                             

อาหารที่ให้ไก่ไข่กิน ทางฟาร์มได้ผสมอาหารเอง เพื่อเป็นการลดต้นทุน และสามารถเลือกวัตถุดิบหลายๆ อย่างเข้าไปผสมได้ตามที่ต้องการ เช่น ต้องการให้ไข่ดี ไข่แดง สีสวย จำเป็นต้องเน้นในส่วนโปรตีนเป็นหลัก จะมาจากข้าวโพด หรือปลาป่น ก็ได้ โดยคุณหญิงให้เหตุผลว่า “เราทำเอง เราเลือกได้ว่าจะลดต้นทุนอย่างไร บวกกับประสบการณ์ของพ่อแม่ที่คอยคุมเรื่องผสมอาหาร อาหารจึงออกมาดี รวมถึงมีคนทำสูตรอาหารให้เราที่มาจากบริษัทใหญ่”

การที่คุณหญิงจัดหาวัตถุดิบได้   เพราะมีการซื้อขายมาตั้งแต่รุ่นคุณแม่ จนถึงปัจจุบันก็ยังซื้อขายกันอยู่ และยังให้เครดิตปิยพรฟาร์มถึง 2 เดือน ถือว่าให้เครดิตค่อนข้างยาวพอสมควร  อย่างบริษัทอื่นถ้าเป็นลูกค้าใหม่ ส่วนมากจะไม่ได้เครดิต เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ตอนนี้ฟาร์มอาศัย connection เลยได้สิทธิพิเศษตรงราคาเท่ากันกับบริษัทอื่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ได้เครดิตยาวขึ้น ในส่วนของสูตรอาหารมีการปรับไปเรื่อยๆแต่ปัจจุบันค่อนข้างนิ่ง โดยใช้สูตรเดิมมาประมาณ 2 ปีแล้ว มีคนจากเบทาโกรมาทำให้ ต้นทุนจะตกอยู่ราคา 9 บาทกว่า แต่ถ้าซื้อราคาจะอยู่ที่ 10-11 บาท วันหนึ่งผสมอาหารประมาณ 4 ตัน หรือ 8 ตัน แล้วแต่

เพราะมีรถเบ้าท์ของตัวเอง อย่างวันไหนผสม 2 รอบ ก็ 8 ตัน ก็จะเว้นไป 2 วัน แล้วค่อยผสมใหม่ ส่วนเรื่องของวัตถุดิบทางฟาร์มจะมีการคัดเลือกก่อนจะจัดซื้อ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อรา และคุณภาพได้ตามที่ต้องการ

10.ด้านการตลาดไข่ไก่ของปิยพรฟาร์ม
10.ด้านการตลาดไข่ไก่ของปิยพรฟาร์ม

ด้านการตลาดไข่ไก่ของปิยพรฟาร์ม

การตลาด คุณปิยพรทำเองทั้งหมด โดยมีการทำเว็ปไซด์ ทำ SEO แล้วก็ซื้อเว็บบล็อกมา และโปรโมทผ่าน Facebook หลังจากที่คุณหญิงศึกษามานาน สินค้าที่เหมาะจะต้องไม่สามารถทดแทนได้ ดังนั้น Facebook จึงไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด ถ้าเขาไม่ซื้อไข่ที่เราก็ซื้อคนอื่นได้ ที่ทำเพราะอยากให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ว่าเมืองแปดริ้วเป็นเมืองที่มีไข่ไก่ และจะได้ทำประชาสัมพันธ์ปิยพรฟาร์มไปในตัว

มีการปรับตัวเข้ากับชุมชนและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทางฟาร์มยังเป็นเขตพื้นที่สีเหลือง โดยจะมีการระบายขี้ไก่ออกทุกวัน เพื่อไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นที่มาของเชื้อโรค ซึ่งปัจจุบันจะเป็นสายพานนำขี้ไก่ออกจากโรงเรือน แล้วมีรถเข้ามารับ โดยรถที่เข้ามารับจะต้องเข้ามาฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อก่อน ขี้ไก่ที่ฟาร์มยังมีไม่มากเท่าที่ควร

เนื่องจากเพิ่งเริ่มดำเนินมาเพียง 1 ปีเท่านั้น โดยจะมีรถขนเพียง 2 คัน เป็นรถกระบะที่มีคอก ตอนนี้กำลังเริ่มปลูกต้นโมก ต้นไผ่ ล้อมรอบพัดลมท้ายโรงเรือน เพื่อไม่ให้กลิ่นออกไปที่อื่นมาก

หากอนาคตบริเวณฟาร์มเริ่มเจริญขึ้นจนมีบ้านหลายครัวเรือน ก็มีวางแผนขอทำที่นี่ให้ได้สัก 4 โรงเรือน และใช้หนี้ธนาคารให้หมดก่อน จึงจะไปทำที่ใหม่ แต่ตอนนี้ก็เริ่มมองหาใหม่อยู่ โดยตนเองมีที่อยู่ที่ปราจีน ซึ่งติดกับนิคมโรจนะ เป็นพื้นที่สีม่วง ซึ่งสามารถทำฟาร์มได้ สำหรับฟาร์มปัจจุบันที่เป็นพื้นที่สีเหลืองได้มีมาตรา 27 วรรค 2 ออกมาให้ยกเว้น สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการมาแล้วก่อนหน้านี้ให้ทำได้เลย ไม่ต้องทำประชาวิจารณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สิ่งที่อยากฝากถึงผู้ที่ทำธุรกิจไก่ไข่ คือ “หากตอนนี้ยังไม่พัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ท่านก็อาจจะหลุดจากวงการนี้ไปได้ เพราะปัจจุบันมีฟาร์มเกิดขึ้นมากมาย และผู้บริโภคยังให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ” คุณหญิงกล่าวทิ้งท้าย

ขอขอบคุณข้อมูล คุณปิยพร เจริญสุข ปิยพรฟาร์ม 19/1 หมู่ 2 ถนนบ้านหมู่ใหญ่  ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140 โทรศัพท์ : 083-171-1111