น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือแม้แต่พืช ก็ย่อมต้องใช้น้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิตเป็นเรื่องปกติ เพราะกว่าต้นไม้จะเจริญเติบโต กว่ามนุษย์และสัตว์จะเติบโตมาได้จนทุกวันนี้ ก็มีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงร่างกายให้เติบโตตามไปด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้น้ำให้คุ้มค่าและถูกวิธี สปริงเกอร์
การใช้น้ำในผักผลไม้ พืชทางการเกษตรนั้น จะมีตัวช่วยในการกระจายเพื่อรดน้ำให้ทั่วถึงและเร็วยิ่งขึ้น นั่นก็คือ การใช้สปริงเกลอร์ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้การรดน้ำในพืชนั้นง่ายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง
สปริงเกลอร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการรดน้ำในแปลงผัก ที่เป็นระบบอัดฉีดน้ำให้แตกเป็นสาย และเกิดการหมุนเหวี่ยงเป็นรอบๆ ต้นไม้ สนาม สวนพืชผัก อีกทั้งยังช่วยฉีดลดความร้อนของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นหลังคา หรือสนามต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่การใช้สปริงเกลอร์ในการช่วยนั้นจะต้องรู้จักวิธีการใช้ และช่วงเวลาในการใช้ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ และเกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่ใช้น้ำทิ้งขว้างโดยเด็ดขาด
ซึ่งสปริงเกลอร์นี้จะมีทั้งแบบที่ทำขึ้นเอง และซื้อสำเร็จรูปมาใช้ ซึ่งราคาและการลงทุนนั้นย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา อีกทั้งการลงทุนในการใช้สปริงเกลอร์นั้นจะเป็นตัวช่วยในการประหยัดแรงงานในการลดน้ำได้อีกทาง ซึ่งการใช้สปริงเกลอร์แบบทำเองจะช่วยประหยัดต้นทุนได้สูง แต่ถ้าแบบซื้อก็ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานตามหลักอุตสาหกรรมให้ดีด้วย
สภาพพื้นที่การวางสปริงเกลอร์
สปริงเกลอร์มีทั้งแบบทำเอง และแบบซื้อสำเร็จรูป ทั้ง 2 แบบนี้การลงทุนและต้นทุนนั้นค่อนข้างต่างกันเป็นอย่างมาก ถ้าใครมีกำลังทรัพย์หน่อยก็สามารถที่จะซื้อแบบสำเร็จรูปมาได้เลย แต่ถ้าอยากทำเองก็สามารถทำได้เช่นกัน อีกทั้งการทำเองก็มีข้อดีอยู่บ้างที่ช่วยในเรื่องประหยัดต้นทุน ทำให้พัฒนางานฝีมือไปได้
การซื้อแบบสำเร็จรูปก็ช่วยในเรื่องของการประหยัดเวลา และแรงงาน ทั้งนี้การลงทุนใช้สปริงเกลอร์ก็ต้องนึกถึงก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ถ้าใช้ในแปลงเล็กควรซื้อดีหรือไม่ หรือควรทำเอง ขั้นตอนการทำสปริงเกลอร์ทั้ง 2 แบบนี้ก็จะต้องทำการศึกษาข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปด้วย จะเป็นเรื่องดีของเกษตรกร หรือคนที่จำเป็นจะต้องใช้งานสปริงเกลอร์ได้
สปริงเกลอร์ คือ ระบบการรดน้ำแบบหนึ่งที่มีการบีบอัดฉีดน้ำเข้าไปในตัวสปริงเกลอร์ และทำให้เกิดน้ำแตกเป็นสายและหมุนเหวี่ยงไปรอบๆ บริเวณพื้นที่ปลูกต้นไม้ หรือพืชผัก อีกทั้งยังเป็นการฉีดน้ำที่ช่วยในการลดอุณหภูมิของพื้นที่ให้มีความเย็นลง หรือจะเป็นการทำระบบสปริงเกลอร์ทำเองไว้ใช้ในการลดอุณหภูมิ หลังจากในช่วงที่บริเวณฤดูร้อน เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิได้อีกทางหนึ่ง
ในการวางสปริงเกลอร์นั้นควรคำนึงถึงตำแหน่งในการวางสปริงเกลอร์ให้พอดี โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ให้การวางสปริงเกลอร์ได้ดังนี้
-จะทำการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ เพื่อที่จะได้เลือกใช้หัวสปริงเกลอร์ได้อย่างเหมาะสม โดยแบ่งพื้นที่ง่ายๆ ตามประเภทของต้นไม้ที่ปลูก เช่น สนามหญ้า พื้นที่ปลูกไม้พุ่ม พื้นที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ หรือแปลงพืชผักสวนครัว เป็นต้น
-เลือกหัวสปริงเกลอร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในสวนของคุณ โดยเลือกจากระยะการฉีดน้ำ รัศมีการให้น้ำของหัวสปริงเกลอร์
ประเภทของหัวสปริงเกลอร์แต่ละชนิด
ระบบสปริงเกลอร์นั้นจะมีลักษณะที่หลากหลาย และขึ้นอยู่กับประเภทของสวน หรือต้นไม้ที่จะนำมาใช้งาน ซึ่งก็มีการนำสปริงเกลอร์แต่ละประเภทมาใช้ในสวน อีกทั้งการใช้สปริงเกลอร์นั้นจะต้องดูให้แน่ใจก่อนว่าสปริงเกลอร์ที่นำมาใช้นั้นเหมาะสมกับสวนด้วยหรือไม่ ทั้งนี้การเลือกซื้อหรือจัดทำสปริงเกลอร์นั้นต้องให้สอดคล้องกับการนำมาใช้ในแต่ละสวน เพราะแต่ละสวน หรือพืชแต่ละชนิดนั้น จะใช้ระบบสปริงเกลอร์ที่ไม่เหมือนกัน เรามาดูกันดีกว่าสปริงเกลอร์แต่ละประเภทนั้นเหมาะกับการใช้งานในสวนประเภทใดบ้าง
1.หัวแบบมินิสปริงเกลอร์
เป็นหัวสปริงเกลอร์ชนิดที่กระจายน้ำได้ในปริมาณที่เหมาะสม หรือกระจายน้ำได้ไม่มากเท่าไหร่ ซึ่งจะมีทั้งแบบน้ำหยด และแบบหัวเหวี่ยงขนาดเล็ก โดยรัศมีของการกระจายน้ำในมินิสปริงเกลอร์นี้จะไม่ไกลมากนัก จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 เมตร เท่านั้น ซึ่งหัวสปริงเกลอร์แบบนี้จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก หรือไม่กว้างจนเกินไป อาจจะเหมาะกับการใช้ในไม้พุ่ม หรือสวนดอกไม้ หรือสนามหญ้าขนาดเล็ก เท่านั้น
2.หัวแบบสเปรย์
สปริงเกลอร์แบบหัวสเปรย์นั้นจะมีลักษณะการกระจายน้ำเป็นรูปแบบพัด ซึ่งการกระจายน้ำของหัวประเภทนี้นั้นจะไม่กว้างมาก และกระจายน้ำได้ไม่เกิน 5-6 เมตร ซึ่งหัวสปริงเกลอร์ประเภทนี้จะเหมาะกับการใช้ในสวนที่มีพื้นที่รดน้ำไม่กว้างนัก อาจจะไม่เกิน 5-6 เมตร ของพื้นที่ หรืออาจจะใช้ในสวนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากก็ได้เช่นกัน
3.หัวแบบโรเตเตอร์
สปริงเกลอร์แบบหัวโรเตเตอร์นี้จะมีลักษณะการจ่ายน้ำโดยออกจากหัวจ่ายและหมุนรอบตัวหรือองศาที่มีการกำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นหัวจ่ายที่มีรัศมีการฉีดน้ำตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป อาจจะกว้างและไกลได้ถึง 15-20 เมตร การใช้หัวจ่ายแบบนี้จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง หรือใหญ่ เช่น สนามหญ้า สนามบอล หรือสวนสาธารณะ ก็จะใช้หัวจ่ายประเภทนี้ในการช่วยรดน้ำ เพราะพื้นที่ที่ใหญ่เกินกำลังคนจะรดได้ ก็จะใช้ระบบสปริงเกลอร์แบบนี้เป็นตัวช่วยแทน ทั้งประหยัดเวลา และแรงงาน แต่การใช้หัวจ่ายประเภทนี้ก็ต้องลงทุนสูงหน่อย เพราะมีราคาค่อนข้างสูง จากการติดตั้งและตัวหัวจ่ายเอง
รูปแบบการติดตั้งสปริงเกลอร์
นอกจากนี้การติดตั้งสปริงเกลอร์นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ถ้าเป็นสปริงเกลอร์แบบทำเองก็อาจจะติดตั้งแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยากมากนัก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเหมาะกับการติดตั้งแบบ 2 ประเภทเป็นหลัก คือ การติดตั้งแบบฝังในดิน และการติดตั้งแบบเหนือพื้นดิน
1.หัวแบบฝังอยู่ใต้ดิน
การใช้หัวจ่ายประเภทนี้ตอนที่ยังไม่ได้ใช้งานนั้นจะหลบตัวฝังอยู่ใต้พื้นดิน โดยเมื่อใช้งานจะโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน ซึ่งการติดตั้งแบบนี้ปกติแล้วจะติดตั้งในบริเวณพื้นที่ที่เป็นที่โล่งกว้าง หรือมีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สนามหญ้า สวนสาธารณะ ทั้งนี้การติดตั้งแบบนี้ก็เพื่อที่จะทำให้พื้นที่ที่นั้นดูสวยงาม และไม่รกตา หรืออาจจะทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อผู้ที่เดินไปมาในบริเวณสนามหญ้า
2.หัวแบบเหนือพื้นดิน
ซึ่งการติดตั้งสปริงเกลอร์แบบเหนือพื้นดินนี้จะเป็นแบบสปริงเกลอร์ทั่วไปที่ใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นแบบหัวมินิสเปรย์ หัวแบบพ่นหมอก ฯลฯ ซึ่งจะติดตั้งอยู่บนไรเซอร์ ซึ่งการติดตั้งสปริงเกลอร์แบบนี้นั้นจะต้องติดตั้งให้อยู่ในที่ที่หลบสายตาผู้คนเพื่อไม่ให้พบเห็นได้ หรือติดตั้งบริเวณพุ่มไม้ เพื่อเป็นการพรางตัวสปริงเกลอร์ไม่ให้เกิดความเสียหายจากการกระทำต่างๆ ของบุคคลอื่น หรือเกิดอุบัติเหตุเดินสะดุดล้มได้
โดยทั่วไปแล้วการใช้สปริงเกลอร์ในการช่วยรดน้ำต้นไม้ หรือสวนพืชผักนั้น จะเป็นระบบอัตโนมัติที่เราได้ทำการติดตั้งไว้ก่อนที่จะเริ่มใช้ เพื่อให้ตัวสปริงเกลอร์นั้นสามารถทำงานได้เองตลอดเวลา อาจจะเป็นช่วงที่ผู้ติดตั้งไม่อยู่แต่สปริงเกลอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ ซึ่งระบบของสปริงเกลอร์มีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันดีกว่า
ระบบของสปริงเกลอร์
-หัวจ่ายน้ำ ซึ่งหัวจ่ายน้ำนั้นก็มีหลากหลายชนิดให้เลือกซื้อ เลือกใช้ กันได้อย่างเหมาะสม โดยจะแบ่งตามลักษณะการฉีดน้ำออกเป็น 3 แบบ คือ แบบหัวสเปรย์ แบบหัวโรเตเตอร์ แบบหัว Head หรือจะใช้แบบหยดน้ำก็ได้ ซึ่งการเลือกใช้งานนี้ควรจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ของสวน หรือชนิดของดินและพืชที่ปลูก
-วาล์วไฟฟ้า ซึ่งการใช้ระบบไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ โดยประมาณ 24 โวลต์ จากคอนโทรลเลอร์เพื่อเป็นการสั่งให้วาล์วนั้นเปิดและปิดเป็นเวลาตามที่กำหนดหรือตั้งขึ้น อีกทั้งเป็นการป้องกันการรวนของตัวสปริงเกลอร์ไม่ให้ทำงานเกินเวลา ซึ่งถ้าไม่ติดตั้งวาล์วไฟฟ้านี้อาจจะทำให้การทำงานของระบบสปริงเกลอร์เกิดผิดปกติได้
-คอนโทรลเลอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมการสั่งให้วาลว์ไฟฟ้าเปิด-ปิดเป็นเวลาตามที่ได้ตั้งไว้ หรือเรียกง่ายๆ คือ ส่วนควบคุมการทำงานของระบบสปริงเกลอร์
-เครื่องสูบน้ำ ซึ่งระบบสปริงเกลอร์นั้นจะใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูง จึงจำเป็นที่ต้องมีเครื่องสูบน้ำที่เหมาะสมกับระบบสปริงเกลอร์โดยเฉพาะ ซึ่งการติดตั้งเครื่องสูบน้ำจะช่วยให้การทำงานของระบบสปริงเกลอร์เป็นไปตามสมดุลของเครื่อง ไม่ให้เครื่องเกิดอาการขัดข้องได้
การลงทุนติดตั้งสปริงเกลอร์
การลงทุนติดตั้งระบบน้ำอัตโนมัติ หรือการติดตั้งสปริงเกลอร์แบบซื้อมาติดตั้งเองนั้น การซื้อต้องจะเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ก่อนว่าจะนำมาติดตั้งในสวนขนาดไหน ใช้อะไรบ้าง การเตรียมการติดตั้งนั้นต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งการลงทุนติดตั้งสปริงเกลอร์แบบซื้อสำเร็จรูปมานั้นอาจจะมีการเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ
ทำให้หลายๆ คนยอมที่จะลงทุนเพื่อนำมาติดตั้งให้ได้สวนที่มีความสวยงาม และพืชผักที่สดใหม่ ซึ่งการติดตั้งแบบซื้อนี้อาจจะช่วยประหยัดแรงในการติดตั้ง อาจจะจ้างช่างที่มีความชำนาญมาติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ภายในสวนให้ก็ได้เช่นกัน
ทั้งนี้การลงทุนติดตั้งสปริงเกลอร์แบบซื้อมานั้น สิ่งที่ต้องมีในการติดตั้งเลย คือ อุปกรณ์ข้างต้นที่กล่าวมานี้จะลงทุนได้ก็ต่อเมื่อพื้นที่ในบริเวณนั้นเป็นบริเวณกว้างไม่ต่ำกว่า 150 ตร.ว. และพื้นที่ประมาณ 85 ตร.ว.ขึ้นไป ซึ่งอาจจะใช้ตัวคอนโทรลเลอร์และหัวจ่ายที่มีคุณภาพ
แต่เมื่อเทียบกับราคาที่นำมาลงทุนแล้ว การติดตั้งสปริงเกลอร์แบบนี้จะมีการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในสวนที่ขนาดใหญ่ และมีรายได้ที่มั่นคงหรือตายตัวแล้วเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายในการลงทุนและดูแลนั้นอาจจะมากกว่า 50,000 บาทขึ้นไปเลยทีเดียว ซึ่งการลงทุนในการติดตั้งสปริงเกลอร์แบบซื้อ หรือจ้างช่างมาติดตั้งนั้น ค่าใช้จ่ายอาจจะมีตั้งแต่หลักพันบาทไปจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว นอกจากนี้ถ้าจะลงทุนทั้งทีก็ควรจะเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานจะดีที่สุด
วิธีการติดตั้งสปริงเกลอร์
ในการเตรียมติดตั้งนั้นสิ่งสำคัญเลย คือ ต้องเตรียมพื้นที่ และกำหนดจุดติดตั้งกล่องควบคุม วาล์วไฟฟ้า และพื้นที่ที่จะทำการติดตั้งให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะติดตั้งอุปกรณ์ให้ดำเนินการ หลังจากนั้นให้ทำการติดตั้งกล่องควบคุมและเดินสายไฟฟ้า โดยทั่วไปต้องต่อจากจุดจ่ายไฟฟ้าของปั๊มบ้านและติดตั้งวาล์ว พร้อมเดินสายสัญญาณเข้าตู้ควบคุม
ต่อมาก็กำหนดและประเภทของหัวจ่ายน้ำที่จะนำไปใช้ และขุดดินวางแนวท่อใต้ผืนหญ้า เดินท่อน้ำ และต่อท่อน้ำ พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ให้เปิดน้ำออกปลายท่อ เพื่อเป็นการเช็คว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือไม่ เพื่อให้นำสิ่งแปลกปลอมออกมาก่อนจากระบบท่อน้ำที่ได้ติดตั้งไว้ ทำการฝังท่อและหัวป๊อบลงในดิน และทำการกลบดิน และแผ่นหญ้าให้คืนสภาพเดิม
ที่สำคัญเลยอย่าลืมทดสอบระบบแต่ละโซนที่ติดตั้งด้วย และทดสอบระบบทั้งหมดอีกครั้ง อ่านคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด และอ่านคู่มืออะไหล่ที่จำเป็นอย่างเคร่งครัดเช่นกัน ทั้งนี้การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อาจจะซื้อทำเอง หรือถ้าใครยังไม่คล่องก็ให้ทีมช่างที่มีประสบการณ์มาติดตั้งให้ก็ได้ แต่การลงทุนติดตั้งสปริงเกลอร์แบบนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างที่กล่าวไป คนที่จะติดตั้งแบบลงทุนนี้ควรมีงบประมาณที่แน่นอนและคล่องตัวจะเหมาะสมกว่า
ข้อดีและข้อเสียของการติดตั้งสปริงเกลอร์
- ข้อดี
-จะได้วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีคุณภาพที่ดี และเชื่อถือได้ อีกทั้งระบบ สปริงเกอร์ ก็มีคุณภาพ ทำให้มั่นใจได้ว่าได้งานที่ดี และไม่มีปัญหาหรือส่งผลกระทบในระยะยาว
-มีการประกันสินค้าและคุณภาพงานจากทีมงานที่ติดตั้งว่าถ้ามีปัญหาหรือเกิดปัญหาอะไรก็สามารถเรียกมาแก้ไขได้ตลอดเวลา
-วัตค่าแรงดันน้ำที่เหมาะสมได้ และสามารถช่วยเพิ่มอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ของบริเวณที่ปลูกต้นไม้นั้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิได้ ซึ่งค่าแรงดันน้ำเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้น้ำนั้นออกมามากน้อยได้เป็นอย่างดี
- ข้อเสีย
-การลงทุนแบบจ้างช่างมาติดตั้งให้นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการติดตั้งแบบนี้จะไม่เหมาะกับสวนที่มีขนาดเล็ก หรือแปลงพืชผักที่มีขนาดเล็ก อีกทั้งยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ไม่มั่นคง เพราะการติดตั้งมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งก่อนติดตั้งและหลังติดตั้ง ทำให้เหมาะกับสวนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
-ตรวจสอบคุณภาพสินค้ากับทีมงานช่างไม่ได้ บางทีการจ้างช่างที่มีประสบการณ์ในการทำงานหรือการติดตั้งสปริงเกลอร์นี้ก็อาจจะไม่ได้นำของดีมีคุณภาพมาให้ อาจจะใช้ของที่มีอยู่แล้วมาทำให้ ซึ่งบางทีเราก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ ในขณะที่เราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ จึงเป็นข้อเสียอีกข้อที่ทำให้เราพลาดในจุดนี้ได้
-ยิ่งหัวสปริงเกลอร์ใหญ่เท่าไหร่ แรงดันน้ำก็จะมากขึ้นตาม ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์นั้นก็เป็นเรื่องของจำนวนน้ำที่ต้องใช้ในปริมาณมาก ซึ่งหากวางแผนหรือจัดการพื้นที่ไม่ดี ต้นไม้ก็อาจจะไม่ได้รับน้ำอย่างเต็มที่
วิธีการทำสปริงเกลอร์แบบทำเอง
ในการทำ สปริงเกอร์ แบบทำเอง หรือนำมาลงทุนทำเองนั้น นอกจากจะได้การสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ยังเป็นการประหยัดต้นทุนไปได้เยอะเลยทีเดียว เนื่องจากว่าวัสดุที่ใช้นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัสดุที่มีราคาสูงมากนัก อาจจะใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ทำง่าย ราคาไม่แพงมาก มาเป็นตัวช่วยในการสร้างสปริงเกลอร์แบบทำเอง หรือจะคิดค้นวิธีการออกแบบสปริงเกลอร์เป็นของตัวเองก็ทำได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำสปริงเกลอร์ด้วยสายยาง หรือใช้ขวดพลาสติก มาเป็นตัวกระจายน้ำ ก็เป็นการประหยัดต้นทุนไปได้สูงเลยทีเดียว
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสปริงเกลอร์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสปริงเกลอร์แบบทำเองนั้นมีมากมายหลากหลายวิธี และวัสดุมาก เพราะเป็นการใช้แนวความคิดที่หลากหลายจากตัวเอง ที่จะสร้างสปริงเกลอร์ชนิดนั้นขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น
-ขวดพลาสติก
-อุปกรณ์ช่าง (สว่านไฟฟ้า ตะปู เข็ม ฯลฯ)
-ท่อ PVC หรือ PE สายยาง เทปสำหรับพันท่อ และ ไม้
-อื่นๆ เช่น หัวสปริงเกลอร์มินิ โรเตเตอร์ คอนโทรลเลอร์ควบคุมวงจร ฯลฯ
ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ นี้เป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน เป็นการเตรียมเพื่อสร้างสปริงเกลอร์แบบทำเอง ลงทุนน้อยแต่สามารถใช้งานได้ ไม่ต่างจากแบบลงทุนซื้อเลยทีเดียว เราเริ่มกันดีกว่าว่าการทำสปริงเกลอร์แบบทำเองนั้นมีแบบไหนบ้าง
วิธีการทำสปริงเกลอร์แบบทำเอง
เริ่มจากการนำขวดพลาสติกมาเจาะรูให้ทั่วๆ ทั้งขวด โดยจะใช้สว่านไฟฟ้าหรือตะปูที่ลนไฟแล้วมาเจาะรูก็ได้ โดยการเจาะรูนั้นควรเจาะให้ห่างกันประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นนำไม้มาทำเป็นฐานในการรองและยึดท่อพีวีซีเข้ากับแผ่นไม้ให้เรียบร้อย จากนั้นต่อท่อพีวีซีเข้ากับขวดน้ำที่ได้ทำการเจาะรูไว้ให้เรียบร้อย และตามด้วยการพันเทปให้แน่น ต่อสายยางใส่ท่อพีวีซีที่เตรียมไว้ และทดสอบด้วยการเปิดน้ำใส่ เพียงเท่านี้ก็ได้สปริงเกลอร์ที่ทำง่าย และประหยัดต้นทุนได้มากแล้ว
ทั้งนี้การใช้ขวดพลาสติกนอกจากจะช่วยในการประหยัดต้นทุนแล้ว ยังช่วยในการลดปริมาณขยะได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการทำสปริงเกลอร์แบบขวดพลาสติกนี้เหมาะกับการใช้ในสวนที่มีขนาดไม่กว้างมากนัก เพราะจะช่วยให้รดน้ำได้ทั่วถึง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย ต้นทุนในการทำนั้นจำกัดงบประมาณได้สูงมาก ไม่เกิน 200 บาท ก็ได้สปริงเกลอร์แบบนี้เป็นอย่างดี
นอกจากจะทำสปริงเกลอร์ไม่เกินหลักร้อยแล้ว การทำสปริงเกลอร์ยังสามารถทำได้ในราคาไม่เกินหลักพันอีกด้วย โดยอาจจะทำแบบการลงทุนซื้อมา แต่ขั้นตอนและอุปกรณ์ต่างๆ จะหาซื้อเองได้ในราคาที่เราจับต้องถึง แถมยังเป็นการเลือกวัสดุเอง ทำให้รู้ราคาและแหล่งซื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งการทำแบบนี้จะเน้นวิธีการหาอุปกรณ์ด้วยตัวเอง เพราะเป็นการลงมือทำเอง อาจจะทดลองผิดลองถูกไปบ้าง แต่ก็คุ้มค่าที่ลงทุนด้วยการทำเองอยู่ดี ซึ่งการทำระบบสปริงเกลอร์แบบนี้นั้นในส่วนของสวนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากอาจจะใช้หัวสปริงเกลอร์แบบมินิสปริงเกลอร์ก็ได้ ซึ่งการหาซื้อนั้นก็อาจจะซื้อตามร้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือช่างที่มีการขายแยก หรือขายเป็นชุดรวมก็มี ซื้อมาทำเองโดยไม่ต้องผ่านการลงทุนจ้างช่าง หรือให้ช่างซื้อมาให้ เพราะการที่เราไปซื้อเองและลงมือทำเองต้นทุนจะถูกกว่าให้ช่างซื้อมา และทำให้กลายเท่าตัวเลยทีเดียว การเตรียมปั๊มน้ำก็ควรเช็คว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้หรือไม่ นอกจากนี้ท่อต่ออาจจะเป็นท่อ พีอีแทนท่อพีวีซีก็จะเหมาะกว่าถ้าไม่ได้ทำในพื้นที่ที่ใหญ่มาก อีกทั้งตัววาล์วก็ควรเป็นวาล์วที่มีมาตรฐานพอสมควร ควรเป็นตัวที่ควบคุมให้น้ำเข้าและออกได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการเลือกทำเองนั้นงบประมาณในการจัดซื้อและทำเองทั้งหมดอาจจะไม่เกิน 5 พันบาทด้วยซ้ำ เพราะเราเป็นคนทำเอง ทำให้ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายได้สูงเลยทีเดียว
ข้อดีและข้อเสียในการติดตั้ง สปริงเกอร์ แบบทำเอง
- ข้อดี
-สามารถทำให้การกระจายน้ำได้ทั่วถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ของแพงและมีราคา
-เคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ตามต้องการว่าเราจะเปลี่ยนอย่างไร
-ประหยัดต้นทุนและเงินได้เยอะเลยทีเดียว เพราะสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในครัวเรือนหรือใกล้เคียง มาทำเป็นสปริงเกลอร์แบบทำเองได้ หรือดีไอวาย ในแบบที่เราต้องการได้ไม่ยาก
ข้อดีของการทำสปริงเกลอร์แบบทำเองนั้นมีมากมายจนไม่สามารถอธิบายได้หมด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว ข้อเสียของการติดตั้งสปริงเกลอร์แบบทำเองก็มีเช่นกัน
- ข้อเสีย
-การติดตั้งระบบน้ำอาจจะไม่สอดคล้องหรือคล่องตัวเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับการให้ทีมงานที่มีประสบการณ์มาติดตั้งให้
-ระบบน้ำอาจจะไม่เสถียรเท่าไหร่ อาจจะเกิดปัญหาระหว่างการปั๊มน้ำมาใช้ในการฉีดพ่นของหัวสปริงเกลอร์ได้
-การเคลื่อนย้ายอาจจะไม่ได้ดีเสมอไป อาจจะมีปัญหาเวลาเคลื่อนย้าย อาจจะทำให้เกิดสายหลุดจากสปริงเกลอร์ หรืออาจจะเกิดปัญหาระหว่างการเคลื่อนย้ายได้
การทำสปริงเกลอร์นั้นจะช่วยในการรดน้ำและประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าในสวนหรือแปลงเกษตรที่มีขนาดใหญ่มาก ใช้คนงานรดอาจจะใช้เวลาทั้งวัน หรืออาจจะข้ามวัน ในการรดน้ำ 1 แปลงก็เป็นได้ เหมือนเป็นการช่วยลดระยะเวลาให้เร็วขึ้น
อีกทั้งการทำสปริงเกลอร์ยังมีทั้งแบบจ้างช่างให้มาติดตั้งให้ กับแบบทำเอง ซึ่งทั้ง 2 แบบ ก็มีการใช้งบประมาณที่แตกต่างกันออกไป ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ทั้งนี้การจ้างช่างมาติดตั้งนั้นอาจจะใช้งบประมาณที่สูง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่มีงบประมาณจำกัดเท่าไหร่นัก
ในส่วนของการทำสปริงเกลอร์ด้วยตัวเองนั้นอาจจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายไปได้เยอะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการใช้อย่างจำกัด ซึ่งเป็นข้อดีของการทำ สปริงเกอร์ ด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้การติดตั้ง สปริงเกอร์ ทั้ง 2 แบบ ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้หลายคนตัดสินใจได้ยาก แต่ถ้าไม่คิดอะไรมากการทำเองย่อมดีกว่าเสมอ
รายละเอียดของบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นจากผู้เขียน ซึ่งบทความเกี่ยวกับ สปริงเกอร์ นั้นมีมากมายให้ศึกษากัน ต้องลองศึกษากันดูว่าการติดตั้งสปริงเกลอร์แต่ละแบบนั้นมีค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ต่างกันอย่างไร อีกทั้งพื้นที่ในการติดตั้ง สปริงเกอร์ นั้นใช้พื้นที่ประมาณไหน
การศึกษาจึงเป็นทางเลือกที่ดีเสมอ ก่อนจะลงมือทำสิ่งใด ต้องหมั่นศึกษารายละเอียดต่างๆ ในข้อมูลเรื่องนั้นๆ ให้ดี นอกจากนี้ สปริงเกอร์ อาจจะใช้ในวงการอุตสาหกรรมด้วย เพราะการนำ สปริงเกอร์ มาติดตั้งตามตัวอาคารก็เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยได้นั่นเอง เห็นได้เลยว่า สปริงเกอร์ มีการนำไปใช้ทั้งในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมด้วย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.svgroup.co.th/ระบบน้ำหยด-มีกี่ประเภท/,https://www.mygreengardens.com/การเกษตร/ข้อดีและข้อเสียของระบบ/,https://home.kapook.com/view192306.html,http://www.webub.com/การเลือกรูปแบบหัวจ่ายน้ำหรือสปริง�-1525-69