เลี้ยงปลาหมอ เชิงธุรกิจ ประสบการณ์ 14 ปี อำพรพันธุ์ปลา
สถานการณ์ภัยแล้งก็ยังเป็นประเด็นหลักของประเทศไทยในปี 2559 ไม่ว่าจะในด้านอุปโภคบริโภคหรือเกษตรกรรม หากจะพูดถึงปริมานน้ำในภาคเกษตรถือว่าเป็นมหันตภัยอย่างมากในวงการผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานการณ์ล่าสุดนี้ เกิดเหตุการณ์จากธรรมชาติ น้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติ ทำให้ผู้เลี้ยงปลากระชังบริเวณลุ่มน้ำตาปีเกิดความเสียหายอย่างมาก เห็นได้ว่าในช่วงนี้ธรรมชาติเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
การเดินทางของทีมงานเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เมื่อได้ทราบว่ายังมี การเลี้ยงปลาหมอ ทางภาคใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพ จาก อำพรพันธุ์ปลา โดย คุณพีระพงค์ เจริญลาภ หรือ คุณพงค์ ที่เคยให้ ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้เข้าไปพบปะพูดคุยและเยี่ยมชมฟาร์มเพาะ เลี้ยงปลาหมอ ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ จ.สุราษฎร์ธานี มาแล้ว 15 ปี อัมพรพันธุ์ปลาวันนี้ลูกค้าของคุณพงค์ไม่เคยลดลงไป แถมจะมีแต่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถผลิตตรงตามออร์เดอร์ที่ทุกคนสั่งได้ ซึ่งเขาพอใจกับกำลังการผลิตในตอนนี้อยู่แล้ว
ปรึกษาเรื่อง
เลี้ยงปลาหมอ การเลี้ยงปลาดุก
เลี้ยงปลาหมอ
เลี้ยงปลาหมอ ต้องมีการเตรียมบ่อโดยมีการสาดปูนขาวแล้วใส่น้ำประมาณ 30 เซนติเมตร แช่ไว้ 3-4 วัน แล้วดูดออกและเติมน้ำบาดาลไปเรื่อยๆจนได้ 75 เซนติเมตร ก่อนปล่อยปลา 1 วันจะใช้ด่างทับทิม ครึ่งกิโลกรัม หรือหว่านเกลือ 60 กิโลกรัม ก่อนเพื่อฆ่าเชื้อ และเมื่อลงปลาได้ 1 วัน จะให้ อาหารอนุบาลปลาวัยอ่อน ปั้นเป็นก้อนโยนให้วันละ 3 มื้อ
หากอากาศร้อนจะไม่ให้เลย และเมื่อปลาครบ 2 เดือนจะมีการเติมน้ำในบ่อทุกวันโดยใช้ระบบน้ำล้น ในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใส่ EM หรือ กากน้ำตาลเสริมโดยที่นำมาคลุกกับอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อการย่อยอาหารและขยายลำไส้
และนอกจากนี้ยังให้วิตามินซีเสริมเพื่อให้ปลาลดความเครียด อาหารที่คลุกกับสารเสริมต่างๆจะใช้ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปลาหมอของอำพรฟาร์ม เป็นปลาหมอที่มีการแปลงเพศจะทำให้กินอาหารเก่ง ใช้ระยะเวลาใน เลี้ยงปลาหมอ 110 – 130 วัน ซึ่งจะใช้อาหารเพียง 500 กระสอบ กำไรจะมาก อัตราแลกเนื้ออยู่ที่ 1.5 – 1.6 ขนาดไม่จำเป็นต้องใหญ่ขอให้มีขนาดเสมอกัน แต่อาหาร บริษัท ไทยลักซ์ ฯ เลี้ยงแล้วสีสวย นวล เหมือนปลาธรรมชาติ เกล็ดแข็ง ทำให้ขั้นตอนในการขนส่งง่ายขึ้น ไม่บอบช้ำ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ให้เกษตรกรหันมาใช้กัน
ปัญหาในการเลี้ยง
มรสุมประจำถิ่นของภาคใต้ คือ ในช่วงเช้าแดดแรงและช่วงบ่ายมีฝนตก ซึ่งสภาพอากาศแบบนี้จะเป็นปัญหาหลักต่อระบบการย่อย หากอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงเร็วจะทำให้ปลาอ่อนแอ มีวิธีแก้ไขเพียงวิธีการเดียวคือการสังเกตและชะลอการให้อาหาร ปัญหาที่ตามมาคือลมจัด ลมพัดแรงทำให้อาหารโดนพัดไปอยู่ริมตลิ่ง กินได้ไม่ทั่วถึง
แต่ปัญหาที่เกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงปลาหมอ ทุกคนกังวลใจคือการปีนหนีของปลาหมอ ซึ่งปลาเมื่อมีการปรับปรุงสายพันธุ์หรือแปลงเพศแล้วจะไม่มีการปีนขึ้นขอบบ่อ เนื่องจากจะมีการเจริญพันธุ์ที่ช้าทำให้ปลาไม่ไข่ซึ่งหากปลาหมอเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตทันที สังเกตได้ง่าย ๆ ปลาจะมีอัตราการกินอาหารลดลงแสดงว่าปลาจะไข่
เลี้ยงปลาหมอ ร่วม ปลาดุกอุย
กว่าทศวรรษที่ผ่านมา คุณสุรกิจ เลาวกุล เลี้ยงปลาหมออยู่ใน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จะ เลี้ยงปลาดุกอุย ร่วมกับ ปลาหมอ ในบ่อเดียวกัน เพื่อเพิ่มรายได้ก่อนหน้าที่จะเข้ามาสู่ในวงการสัตว์น้ำคุณ คุณสุรกิจ ชีวิตที่ต้องย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดพิจิตร มาทำงานที่โรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและได้พบกับภรรยา ทำงานที่เดียวกันแต่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่แล้วภรรยาได้ป่วย จึงอยากที่จะย้ายกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด และเมื่อย้ายกลับมาจึงมองหาอาชีพที่สามารถทำได้ซึ่งตอนนั้นสัตว์น้ำที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดคือตะพาบน้ำส่งออกจีน มีความสนใจจึงไปศึกษามาจากจังหวัดสุพรรณบุรีและกลับมาเลี้ยง แต่แล้วกลับประสบปัญหาขายไม่ได้ทำให้ขาดทุนเป็นสาเหตุให้เลิกเลี้ยงไปในที่สุด แต่แล้วได้มีคนแนะนำให้ลองเลี้ยงปลาหมอในขณะที่บ่อว่างและยังไม่รู้จะทำอะไรต่อ และครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยงยังไม่รู้แม้กระทั่งตลาดที่รับซื้อหรือคนจับ
การเลี้ยงปลาดุก อุยเสริมรายได้ในบ่อปลาหมอ
การเลี้ยงปลาดุกอุยร่วมกับปลาหมอถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยจะเลี้ยงปลาดุกอุยร่วมกับปลาหมอในบ่อเดียวกันเพื่อเพิ่มรายได้แต่ต้องมีวิธีการประหยัดต้นทุนโดยการนำปลาดุกอุยขนาดลูกตุ้มมาปล่อยลงบ่อก่อน 100,000 ตัว
อายุปลาประมาณ 1 เดือน ก็จะนำปลาหมอมาปล่อยอีก 40,000 ตัว ตามลงไปซึ่งจะได้จับพร้อมกัน แต่ในช่วงฤดูหนาวจะเลี้ยงยากเพราะอากาศเย็นปลาดุกอุยจะไม่ชอบจึงทำให้เลี้ยงยาก ปริมาณน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหมอและปลาดุกอุยร่วมกันจะอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร
ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง หากพูดถึงการเตรียมบ่อก็จะใช้วิธีทั่วไป แต่จะมีการใช้โดโลไมท์ในการปรับสภาพน้ำหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และอาหารที่ให้นั้นช่วงแรกจะให้เป็นอาหารกุ้งซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดจม เพื่อให้ลูกปลาได้กินและเป็นการทำน้ำเขียวสร้างอาหารธรรมชาติไปในตัวด้วย
ฝนเดือนห้าฟ้าเดือนหก
ภายใน 1 ปี จะเลี้ยงปลาหมอได้ 3 รอบ ในช่วงฝนจะพบปัญหาในการเลี้ยงบ้างเล็กน้อยเมื่อปลามีขนาดที่ใหญ่แล้ว หากมีฝนตก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง หรือช่วงที่ชาวบ้านเรียกกันว่าฝนเดือนห้าฟ้าเดือนหก เป็นช่วงที่ฝนฟ้าคะนอง ก็เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายได้ ปลาจะตกใจและพุ่งชนพื้นเลนในบ่อตาย
ในส่วนฤดูหนาวปลาจะกินอาหารน้อยแต่ในทางภาคใต้ฤดูหนาว ไม่ค่อยมีจึงไม่เกิดปัญหาในช่วงฤดูนี้ให้เห็นชัดอาจจะมีแค่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบางวันเท่านั้น แต่ในช่วงฤดูร้อนมักจะพบปัญหามากที่สุดเนื่องจากหากปลาไม่ได้รับการปรับพันธุ์หรือแปลงเพศในเดือนที่ 3 ของการเลี้ยงปลาจะเริ่มไข่ และกินอาหารลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้หยุดการเจริญเติบโตและปลาจะมีลักษณะที่ผอม ยาว และทำให้เสียราคาตอนจับผลผลิต
“หัวเล็กตัวโต” … ปลาหมอ พันธุ์ใหม่โตเร็ว อัตรารอดสูง
การพัฒนาสายพันธุ์ต้องมีการพัฒนาอยู่แล้วเพราะกาลเวลาเปลี่ยน ปัจจัยต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิคุ้มกันที่มีต่อโรค อัตราการเจริญเติบโต และปัจจัยอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้หนีห่างจากปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องพบเจอและเพื่อเป็นการพัฒนาวงการปลาหมอให้ก้าวหน้าขึ้นไป การพัฒนาสายพันธุ์ ในครั้งนี้
เริ่มต้นจากเดิมนั้น มีสายพันธุ์เป็นของตัวเองเมื่อปี 47 รวบรวมพ่อแม่พันธุ์ จากบ่อเลี้ยงธรรมชาติในพื้นที่ภาคใต้ และสมุทรสาคร เสร็จช่วงปี 49 โดยมีที่ปรึกษาเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์ผ่านมาหลายรุ่น
โดยในรุ่นล่าสุดมีพัฒนาสายพันธุ์โดยนำสายพันธุ์ชุมพรเข้ามาพัฒนาอีกครั้งเมื่อปี 55 ร่วมกับสายพันธุ์ปลาธรรมชาติของจังหวัดเพชรบุรี นครพนม และนครศรีธรรมราช จนปัจจุบันออกมาเป็นลูกผสม โดยมีอัตรารอดสูง และอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเดิม ต้านทานโรคเพิ่มขึ้น รูปทรงของปลาหมอมีลักษณะรูปทรงที่หัวเล็ก โครงร่างใหญ่ ทรงสวย ซึ่งแพที่จับชอบมาก
เพราะการจับปลาหมอหากจับแล้วจะเลี้ยงต่อไม่ได้ ปลาจะไม่กินอาหาร เมื่อผ่านไปหลายวันปลาจะผอมลง หากปลามีขนาดหัวที่ใหญ่จะทำให้ปลาหมอดูผอมไม่น่าซื้อขาย หากหัวเล็กและปลามีขนาดผอมลงไปก็จะมีขนาดที่พอดีกัน สามารถซื้อขายกันได้ตามปกติ สรุปข้อดีคือสามารถยืดระยะเวลาการซื้อขายสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้นนั่นเอง
ผลิตกว่า 1 ล้านตัวต่อเดือน
การผลิตลูกปลาหมอให้มีคุณภาพและมีปริมาณที่มากเพื่อให้เพียงพอต่อตลาดนับว่ายาก ตลาดในตอนนี้มี 2 ที่หลักๆ คือ ภาคใต้นครศรีธรรมราชและภาคกลางโซนจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม สามารถกระจายลูกพันธุ์ปลาหมอได้แหล่งละประมาณ 500,000 ตัว และลูกพันธุ์ก่อนจะออกจากฟาร์มจะต้องผ่าน เช่น เช็คโรค เช็คปรสิต โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ หากชุดไหนไม่ผ่านจะไม่จำหน่ายให้ลูกค้า
เดินตลาดจริงรูปแบบใหม่
ตลาดหากจะเดินไปข้างหน้าต้องศึกษาเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ เพื่อที่จะให้ตลาดเดินได้แบบเต็มตัว ต้องลงพื้นที่คุยกับคนเลี้ยงและแพรับจับหรือแม้กระทั่งอาหาร ต้องเดินไปด้วยกันได้ทั้งหมด คนเลี้ยงจะต้องมีกำไร แพจะต้องมีปลาจับโดยที่จะจับมือกับแพปลาที่เป็นพันธมิตรกันมานาน ผู้ผลิตลูกปลามีที่ขาย อาหารจะต้องดีได้คุณภาพและมาตรฐาน จึงจะเป็นพาร์ทเนอร์กันแบบยั่งยืน
ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นอาจจะดูเหมือนไม่มีน้ำหนักมากพอ ทีมงานสัตว์น้ำ ไปพบกับเกษตรกรผู้รับลูกพันธุ์ปลาหมอไปเลี้ยงอีก 2 ราย ที่เลี้ยงมานานกว่า 10 ปี ทั้ง 2 ท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปลาหมอมีรูปทรงใหญ่และมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และอาหารเป็นหลัก หากสายพันธุ์มีคุณภาพ อาหารได้มาตรฐาน เลี้ยงปลาหมอให้มีการเจริญเติบโตที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยาก
คุณพินิจ เชาว์ลิต เลี้ยงปลาหมอนานกว่า 14 ปี
เดิมทีที่แห่งนี้ คุณพินิจ เชาว์ลิต เลี้ยงตะพาบน้ำในปี 40 แต่ขายยาก ขาดทุนจึงได้หันมาเลี้ยงปลาโดยเริ่มจากปลาช่อนแต่ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน กำไรน้อย จึงหาปลาชนิดใหม่และได้มาพบกับปลาหมอและเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นได้พันธุ์ปลาหมอมาจากพัทลุงและไม่ได้ใช้อาหารของบริษัทไทยลักซ์ ฯ
ซึ่งตอนนั้นลูกปลาที่ออกมามี 5 ขนาด และขนาดที่เฉลี่ยออกมาจะมีเพียงแค่ขนาดเล็กกับขนาดกลางตัวใหญ่จะมีน้อย ทำให้เลี้ยงแล้วไม่ได้กำไรเท่าที่ควร
และในขณะเดียวกันทางอำพรพันธุ์ปลามีการพัฒนาสายพันธุ์มาในระดับหนึ่งในช่วงแรกคือไม่มีการแปลงเพศ ใช้หลักการทางพันธุกรรมในการไขว้พ่อแม่พันธุ์กันและให้เป็นเพศเมียมากที่สุดเพราะหากเป็นเพศผู้ขนาดจะไม่ใหญ่ มีขนาดอยู่ที่ 2-3 นิ้ว
และมีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆเนื่องจากยังมีเปอร์เซ็นต์ตัวผู้ในปริมาณที่มากอยู่ จึงได้เพิ่มในส่วนของการแปลงเพศขึ้นมา ปลาที่ออกมาถึงมีขนาดเสมอกัน และเปลี่ยนแหล่งมาเรื่อยๆ จนมาพบกับอำพรฟาร์ม หรือ คุณพงศ์ ได้อยู่กันยืนยาวมานานกว่า 10 ปี ด้วย การเลี้ยงปลาหมอ จำนวน 2 บ่อ โดยการใช้น้ำบาดาลในการเลี้ยง
คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ
ในระยะของการปรับปรุงสายพันธุ์รอบแรก บ่อขนาด 1 ไร่ จะมีอัตราการปล่อยมากกว่า 70,000 ตัว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาหมอ 4 เดือน 15 วัน ผลผลิตที่ได้ 13 ตัวต่อกิโลกรัม หากเป็นฟาร์มทั่วไปที่ยังไม่มีการปรับปรุงสายพันธุ์ ปลาคัดและปลาเล็กจะมีปริมาณมากหากมีการปรับปรุงสายพันธุ์ที่ชัดเจนปลาจะมีขนาดใหญ่เสมอกันและจะทำให้มีกำไรในการเลี้ยง
และเนื่องจากสายพันธุ์ดี โตไว อัตรารอดสูง ทำให้ต้องลดอัตราการปล่อยให้บางลงเหลือเพียง 45,000 ตัวต่อไร่ เท่านั้น แต่เมื่อจับมาผลผลิตเกินคาด ทำให้มีผลผลิตโดยเฉลี่ยถึง 3 ตัวต่อกิโลกรัม ปริมาณกว่า 14.2 ตัน ปกติแล้วช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนจะไม่ลงปลากันเนื่องจากปลาจะไม่โตเพราะสภาพอากาศที่ร้อนแต่หากเป็นปลาหมอที่ผ่านการแปลงเพศและพัฒนาสายพันธุ์สามารถที่จะปล่อยลงเลี้ยงได้
และไม่เพียงเท่านั้นทางทีมงาน บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาช่วยเหลือและพูดคุยกันถึงปัญหาปลาล้นตลาด ทำให้มีการจัดระเบียบคนเลี้ยง ให้เลี้ยงแล้วมีกำไรต่อเนื่องโดย การเลี้ยงปลาหมอ ใช้อาหารที่มีคุณภาพพอดีกับกำไรที่ควรจะได้
ต้องการรายละเอียดการเพาะ เลี้ยงปลาหมอ ไทยลูกผสมติดต่อ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ( มหาชน ) และ คุณพีระพงค์ เจริญลาภ 081-8948898