การเลี้ยง ปลาสลิด ระยะสั้น กำไร 300%
ปลาสลิด ปลาที่ใครก็รู้จัก เพราะมีชื่อเสียงเรื่องของ “ปลาสลิดเค็ม” ซึ่งเป็นการแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น เพื่อเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลาสลิด เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน การเลี้ยงปลาสลิด เริ่มน้อยลงเพราะมีระยะเวลาการเลี้ยงนานกว่าสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดอื่น แต่จะทำอย่างไรลดระยะเวลา และเพิ่มกำไร ให้เกษตรกรหันกลับมาเลี้ยง
ทีมงาน นิตยสารสัตว์น้ำ ได้ไปที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี แหล่ง เลี้ยงปลาสลิด ที่ถือว่าเป็นพื้นที่การเลี้ยงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย และได้สัมภาษณ์ คุณวันเพ็ญ ทิพย์สัน หรือ เจ๊หนู เจ้าของ จรรยวรรธน์ฟาร์ม
เดิมทีคุณวันเพ็ญสร้างฟาร์มขึ้นมาสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกราม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลาสลิด กว่า 13 ปี เริ่มจาก 1 บ่อ 30 ไร่ เลี้ยงปลาสลิดร่วมกับปลาเบญจพรรณ และได้ปรึกษากับสามีว่าอยากจะ เลี้ยงปลาสลิด เพียงอย่างเดียว
จึงได้ปรับเปลี่ยนจากพื้นที่บ่อกุ้งเป็นบ่อ ปลาสลิด ทั้งหมด เนื่องจากมองถึงตลาดของการแปรรูปด้วย เพราะได้ราคาที่ดีกว่า และผู้บริโภคค่อนข้างนิยม ครั้งแรกที่เลี้ยงจะเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ มีการตัดหญ้า และให้อาหารหมูผสมกับข้าวต้ม ในช่วงแรกได้ทำกำไรเกือบสองแสนบาท
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com เรียนรู้การเลี้ยง ปลาสลิด ระยะสั้น กำไร 300%
โทร 084-024-3674
แต่ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานถึง 19 เดือน จากบ่อแรกที่เริ่มเลี้ยงทำให้มีความรู้ในการเลี้ยงมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงให้มีกำไรสูงสุด จึงได้ทดลองเลี้ยงโดยใช้อาหารลอย ของบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ที่ได้คิดค้นสูตรอาหารสำหรับ เลี้ยงปลาสลิด ชนิดเม็ดลอยน้ำออกมาสู่ตลาด ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญ
ด้วยจุดเด่นที่เน้นเรื่องการลดต้นทุน การเพิ่มกำไร 300% ที่สำคัญ “ลดระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง” เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันกลับมา เลี้ยงปลาสลิด อีกครั้ง ปัจจุบันพื้นที่ในการ เลี้ยงปลาสลิด ของฟาร์มจะอยู่กว่า 100 ไร่ แบ่งเป็น 5 บ่อ ในตอนนี้ถือว่าเป็นเกษตรกรตัวอย่างของชาวบางแพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2.พื้นที่การเลี้ยงปลาสลิดทั้งหมด-100-ไร่
การเตรียมบ่อ ปลาสลิด ใหม่ แบบ“เพาะปูพื้น”
การเลี้ยงและการเตรียมบ่อของฟาร์มจะไม่มีการใส่ยา จะใช้วิธีแบบชาวบ้านที่ทำต่อกันมา คือ การตากบ่ออย่างน้อย หนึ่งเดือน เพื่อให้หญ้าขึ้นในบ่อด้วย เพราะเป็นปัจจัยหลักใน การเลี้ยงปลาสลิด หากรอบการเลี้ยงที่ผ่านมาปลาไม่แข็งแรง หรือมีการติดเชื้อ จะตากให้นานกว่าปกติ และจะไม่มีการกลับหน้าดิน
วิธีตอนนี้จะเป็นการ “เพาะปูพื้น” จากเดิมเป็นการไปซื้อลูกพันธุ์ต่อจากบ่ออื่น แต่ด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาทำให้รู้ว่าควรเตรียมบ่อและพ่อแม่พันธุ์ไว้เอง เพื่อลดปัญหาของตัวลูกพันธุ์ปลา โดยที่จะเตรียมพ่อแม่พันธุ์ไว้ในอัตราส่วน1:1 วิธีนี้จะทำให้ได้ลูกปลามากขึ้น
แต่ก็ต้องกำหนดไว้ว่าทุกบ่อต้องเลือกพ่อแม่พันธุ์ไว้ หลังจากตากบ่อเสร็จจะตัดหญ้าให้เป็นร่อง และเปิดน้ำเข้าบ่อ ใช้ประสบการณ์ในการคำนวณความหนาแน่นของปลา หากมากไปก็วิดออกให้บ่ออื่นไปเลี้ยง แต่หากน้อยไปก็หาลูกปลาจากบ่ออื่นเข้ามาเสริม หลังจากนั้นเบทาโกรจะช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องการคำนวณปลาในบ่อ
ทำให้มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงดีขึ้น นอกจากนั้นเบทาโกรช่วยส่งเสริมด้านวิชาการควบคู่กับการเลี้ยงแบบเดิม ทำให้ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก สามารถรู้ได้ตลอดว่าในบ่อตอนนี้มีปลาเท่าไหร่ และควบจับเมื่อใด เพื่อให้ได้ผลกำไรที่สูงสุด
![2.คุณวันเพ็ญ-ทิพย์สัน-เจ้าของจรรยวรรธน์ฟาร์ม-พร้อมทีมงานเบทาโกร](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/2.คุณวันเพ็ญ-ทิพย์สัน-เจ้าของจรรยวรรธน์ฟาร์ม-พร้อมทีมงานเบทาโกร.jpg)
การเลี้ยงปลาสลิด
การเลี้ยง ปลาสลิด ที่ฟาร์มจะเป็น การเลี้ยงปลาสลิด เพาะเองเป็นส่วนมาก เวลาผ่านไป 20 วัน จะเริ่มเห็นเป็นตัวเล็กๆ ซึ่งต้องดูความหนาแน่นควบคู่ไปด้วย จะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 450,000 ตัว/20 ไร่ มีอัตรารอดอยู่ที่ 250,000 ตัว สาเหตุที่อัตรารอดน้อยส่วนหนึ่ง คือ มีบ่อเยอะ
และนกก็เป็นปัจจัยหลักต่อการสูญเสีย ใช้อาหารเม็ดลอยละลายและสาดไป แต่จะไม่สนใจในเรื่องคุณภาพอาหารว่าปลาจะได้รับโปรตีนครบหรือไม่ สนใจแค่ปลามีอาหารกินพอ แต่ปลาส่วนหนึ่งจะได้รับสารอาหารจากลูกไร หรือแพลงก์ตอนในช่วงที่ตัดหญ้าในบ่อ และเมื่อปลามีอายุ 45 วัน ก็จะเริ่มขุนอาหาร
![4.การจัดการระบบน้ำภายในฟาร์ม](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/4.การจัดการระบบน้ำภายในฟาร์ม.jpg)
ระบบการจัดการน้ำภายในฟาร์ม ในช่วง “วิกฤตภัยแล้ง”
เหตุจากกรมชลประทานประกาศวิกฤตภัยแล้งในประเทศไทย น้ำในเขื่อนลดลงอย่างมากกว่าปกติ ก็กังวลใจต่อน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลา จึงต้องหาทางออกต่อระบบการจัดการน้ำภายในฟาร์ม ซึ่งเป็นจังหวะที่บริษัท เบทาโกรฯ เข้ามาเสนอทางเลือกของอาหารลอยให้ต่อวิกฤตภัยแล้งที่จะต้องเจอในปีนี้ ซึ่งคิดว่าอาหารลอยน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกหนึ่ง
ทางเลือกของการเลี้ยงปลาสลิด เพราะจากการเลี้ยงที่ผ่านมาหากให้อาหารจมน้ำจะมีความข้น ต้องเติมน้ำเข้าบ่ออยู่เสมอ เพื่อให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ดี ป้องกันเกล็ดแข็ง ที่เป็นสาเหตุให้การเจริญเติบโตช้าลง
และถ้าใช้อาหารลอย และสามารถคุมปริมาณของอาหารได้ ความเข้มข้นของน้ำน่าจะลดลง ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำลดลงด้วย ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้ตัดสินใจลองนวัตกรรมอาหารเม็ดลอยน้ำ ปลาสลิด
![5.เบทาโกรช่วยส่งเสริมด้านวิชาการแก่เกษตรกร](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/5.เบทาโกรช่วยส่งเสริมด้านวิชาการแก่เกษตรกร.jpg)
ความแตกต่างของการให้ อาหารปลาสลิด แบบจมและอาหารลอย
การให้อาหารมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปทรงและลักษณะของเม็ดอาหาร ซึ่งตอนนี้มีทั้งอาหารแบบดั้งเดิม คือ ชนิดเม็ดจม และอาหารนวัตกรรมใหม่ล่าสุดชนิดเม็ดลอยของเบทาโกร โดยที่การให้อาหารจมจะทำเป็นเปลสี่เหลี่ยมจมน้ำ 1 ศอก ใช้วิธีการตักอาหารใส่ในยอ
การเช็คอาหารจะต้องไปคลำ และไปดู ในส่วนของอาหารลอยจะทำในลักษณะยอเหนือน้ำ 1 ไร่ ควรมี 3-4 ยอ แต่ก็ต้องคำนวณจากความหนาแน่นของปลาในบ่อด้วย และใช้วิธีการตักอาหารใส่เช่นเดียวกัน แต่จะเห็นถึงพฤติกรรมการกินถึงขั้นเช็คด้วยตาเปล่าว่าอาหารหมดหรือไม่ ซึ่งจะควบคุมให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง
หากหมดก่อนควรจะเพิ่มอาหารตามหลักวิชาการที่เบทาโกรแนะนำ ให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้าและเย็น และจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงที่สั้นลงเพียง 8-10 เดือน เท่านั้น
![6.การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาสลิด](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/6.การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาสลิด.jpg)
อาหารปลาสลิด ลอยน้ำมีต้นทุนที่ต่ำกว่าถึง 10 ตัน
เมื่อรถสินค้ามาส่งอาหารก็ได้ทดลองใช้เลย ซึ่งพบความแตกต่างว่าการควบคุมอาหารสามารถทำได้ เนื่องจากเห็นเม็ดอาหารที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ในขณะที่อาหารจมจะกังวลเรื่องการละลายรูปของเม็ดอาหาร เป็นสาเหตุทำให้น้ำข้นขึ้น และมีกรรมวิธีเช็คอาหารเยอะกว่าอาหารลอย การบริหารและการจัดการบ่อและเวลาจะยากกว่าอาหารลอยน้ำ
ส่วนเรื่องของต้นทุนก็มีความแตกต่างกัน อาหารลอยน้ำเบทาโกรมีต้นทุนที่ต่ำกว่าถึง 10 ตัน จะได้ปลาเท่ากันที่ประมาณ 46 ตัน โดยที่มีปลาเล็กเพียงแค่ 1 ตัน เท่านั้น และได้ปลาใหญ่กว่า 45 ตัน แต่ที่ผ่านมานั้นขนาดของปลาเล็กจะอยู่ที่ 5-6 ตัน
![7.การให้อาหาร](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/7.การให้อาหาร1.jpg)
ผลผลิต ปลาสลิด ที่ดีด้านโครงสร้าง ที่เป็นไปตามตลาดต้องการ
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทุกรายล้วนคาดหวังกับผลผลิตที่จะได้ ใน การเลี้ยงปลาสลิด เช่นเดียวกันสำหรับผลผลิตปลาสลิดที่ออกมาต่อการใช้อาหารเม็ดลอยน้ำ จากประสบการณ์ที่ได้มามีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากที่สุด คือ ในช่วงต้นด้านโครงสร้างของตัวปลาจะมีลักษณะที่กว้าง แบน และสีที่ขาวกว่า ถือว่าเป็นโครงสร้างที่ตลาดต้องการ
เมื่อได้โครงสร้างแล้วจะมีการเพิ่มในส่วนของเนื้อปลาตามสูตรของอาหารในช่วงท้ายของการเลี้ยง ส่งผลให้ขนาดจะลดเร็วกว่าเดิม เช่น จากเดิม 10 ตัวโล ลดลงเหลือ 7 ตัวโล 6 ตัวโล ในเวลาไม่นาน และสัดส่วนของขนาดปลาดีกว่าเดิม ทำให้ราคาดีไปด้วย
![8.ใช้อาหารเม็ดลอยน้ำของเบทาโกร](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/8.ใช้อาหารเม็ดลอยน้ำของเบทาโกร.jpg)
จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นการแปรรูป “ปลาสลิดแดดเดียว”
เมื่อ การเลี้ยงปลาสลิด มีผลการเลี้ยงที่ดี และระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลง มีกำไรเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรรายอื่นก็อยากที่จะหันกลับมาเลี้ยงบ้าง ทำให้เกษตรกรต่างก็มาศึกษาวิธีการเลี้ยงที่ฟาร์ม และได้เป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกรทุกคน โดยมีทีมงานของ บริษัท เบทาโกรฯ เป็นที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ
จึงทำให้บริเวณนั้นกว่า 300 ไร่ เป็นพื้นที่ การเลี้ยงปลาสลิด ทั้งหมด เมื่อมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย จึงได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นการแปรรูป “ปลาสลิดแดดเดียว” ขึ้นมาอีกกลุ่ม ส่วนหนึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรในบริเวณนั้นด้วย และในอนาคตกำลังจะจัดตั้งเป็น ศูนย์การเรียนรู้ปลาสลิดเบทาโกร
![9.การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูป-“ปลาสลิดแดดเดียว”](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/9.การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูป-“ปลาสลิดแดดเดียว”.jpg)
![10.การแปรรูปเป็นปลาสลิดแดดเดียว](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/10.การแปรรูปเป็นปลาสลิดแดดเดียว.jpg)
สร้างปลาฮอร์โมนในอนาคต
ในอนาคตข้างหน้าสถานการณ์การเลี้ยงและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง บริษัท เบทาโกรฯ จึงได้วางแผนพัฒนาคุณภาพลูกปลา เพื่อขยายผลต่อยอดออกไป โดยมีเป้าหมายเป็นเจ้าของตลาดปลาสลิดอันดับ 1 ของโลก โดยที่ส่งเสริมให้มีกำลังการส่งออกเพื่อเป็นรายได้ของคนในประเทศ
ปัจจุบันนี้ทางเบทาโกรก็ส่งเสริมด้าน การเลี้ยงปลาสลิด ให้เกษตรกรในประเทศได้เห็นว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน เกษตรกรได้เห็นอยู่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับเบทาโกรโฉมใหม่ คือ “อาหารสัตว์เบทาโกร ผลผลิตยอดเยี่ยมระดับโลก”
![11.เลี้ยงปลาสลิดต้องใช้อาหารปลาสลิดเบทาโกรเท่านั้น](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/11.เลี้ยงปลาสลิดต้องใช้อาหารปลาสลิดเบทาโกรเท่านั้น.jpg)
ฝากถึงเบทาโกรจากใจ..เจ๊หนู
“ลงทุนน้อยแต่ได้เยอะ” คำพูดสั้นๆ เพียง 1 ประโยค สุดแล้วจากใจ เพราะเกษตรกรทุกรายก็หวังที่จะลงทุนให้น้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด และเมื่อมาพบกับ อาหารปลาสลิด ชนิดเม็ดลอยน้ำของ บริษัท เบทาโกรฯ ที่สามารถเอาชนะใจในทุกด้านของการเลี้ยงได้ ตั้งแต่การจัดการน้ำเลี้ยงในวิกฤตภัยแล้ง
การควบคุมอาหารที่ให้การเจริญเติบโต รวมถึงโครงสร้างของตัวปลาที่เป็นไปตามตลาดต้องการ ต้นทุนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ลงทุน 1 บาท แต่ได้กำไร 3 บาท กำไรนี้เพราะเบทาโกร เลี้ยงปลาสลิดต้องใช้ อาหารปลาสลิด เบทาโกรเท่านั้น
![12.นวัตกรรมอาหารที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้](https://www.palangkaset.com/wp-content/uploads/2017/07/12.ทางเลือกหนึ่งที่ทำให้การจัดการภายในบ่อง่ายที่สุด.jpg)
นวัตกรรมอาหารที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้
การเลี้ยงปลาสลิด ในตอนนี้ไม่มีการใช้ยาในการเลี้ยง มีเพียงแค่นวัตกรรมอาหารที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้ นวัตกรรม อาหารปลาสลิด ชนิดเม็ดลอยน้ำเบทาโกร จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้การจัดการภายในบ่อง่ายที่สุด หากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดท่านใดสนใจ หรือต้องการปรับเปลี่ยนวิธีเลี้ยงปลาสลิดให้พัฒนามากยิ่งขึ้น
สามารถติดต่อได้กับ ฝ่ายการตลาด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โทร 084-024-3674
ปลาสลิด การเลี้ยงปลาสลิด อาหารปลาสลิด เลี้ยงปลาสลิด พันธุ์ปลาสลิด เลี้ยงปลาสลิดในบ่อปูน ปลาสลิดแดดเดียว ปลาสลิดบางบ่อ เลี้ยงปลาสลิดในกระชัง