ในเมืองไทยนั้นต้องยอมรับว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้นมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แยกเป็นไก่ หมู กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ รวมไปถึงการทำเกษตรกรรมในสายพืช เพราะเมืองไทยนั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร และสัตว์ ที่ใช้ในการบริโภคได้อย่างมากมาย โรคasf
ซึ่งการเลี้ยงหมูก็ถือได้ว่าเป็นการสร้างผลผลิตเพื่อการบริโภคได้อย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันโรคในหมูนั้นก็มีมากมาย แต่ที่กำลังเป็นที่สนใจและได้รับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษเลย คือ โรค AFS ในหมู ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัวและเป็นอันตรายต่อหมูในบ้านเราเป็นอย่างมาก ถือได้ว่าเป็นโรคที่ผู้เลี้ยงหมูในปัจจุบันต้องมีการเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก
การเลี้ยงหมู
สำหรับโรค AFS ในสุกรนั้น นับได้ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหมูโดยตรง ซึ่งโรคดังกล่าวนี้เป็นอันตรายอย่างมาก เมื่อเข้าสู่ร่างกายในหมูแล้วจะกระจายโรคได้ค่อนข้างเร็ว ซึ่งอาจจะไม่ใช่โรคที่ติดต่อสู่คนได้ง่าย แต่ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับหมูได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
เพราะไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตรสำหรับคนเลี้ยงหมู รวมไปถึงด้านอุตสาหกรรมโรงงานเอง ก็ย่อมมีความเสียหายไปตามๆ กัน ซึ่งโรคดังกล่าวนี้มีการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้หมูทั่วโรคที่เริ่มได้รับโรคดังกล่าวนี้ทยอยตายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในประเทศไทยเองก็ได้มีการป้องกันและหาแนวทางจากหลายภาคส่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ของโรคดังกล่าวเป็นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าอาจจะส่งผลกระทบได้ในเร็ววัน หากเรายังป้องกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่
แม้ว่าโรค AFS ในสุกรนั้นยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรคให้กับหมู แต่ทางเดียวที่สามารถป้องกันได้ คือ การเพิ่มการเฝ้าระวังและคอยติดตามสถานการณ์ข่าวเกี่ยวกับโรคดังกล่าวให้มากที่สุด อีกทั้งควรทำความสะอาด และเพิ่มภูมิต้านทานให้กับหมูที่เกษตรกรเลี้ยง คอกหมูควรจะสะอาด และควรมีการฆ่าเชื้อตลอดเวลาเท่าที่ทำได้ ก็จะเป็นการช่วยป้องกันโรคดังกล่าวได้ในเบื้องต้น
อีกทั้งเกษตรกรควรจะมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของโรค AFS ด้วย จะได้สังเกตได้ว่าหมูที่เลี้ยงนั้นเข้าขั้นเสี่ยงที่จะติดโรคหรือไม่ ถึงโรคนี้จะยังไม่มีวัคซีน แต่เราก็สามารถที่จะป้องกันได้ในเบื้องต้น ก็ช่วยเพิ่มความสบายใจได้ทางหนึ่ง
ปัญหาและอุปสรรคภายในฟาร์มหมู
โรค AFS ในสุกรคืออะไร มันคือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในแอฟริกาในสุกร โดยโรคดังกล่าวนี้เป็นโรคที่ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย จึงถือได้ว่าเป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นสำหรับเมืองไทยเป็นอย่างมาก รวมไปถึงในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ไม่ใช่โรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์มาสู่คน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมเป็นอย่างมาก
โดยโรค AFS ในสุกรนี้เริ่มพบการระบาดในประเทศจีนเป็นประเทศแรกๆ ในแถบภูมิภาคเอเชีย โดยโรคดังกล่าวนี้เริ่มกระจายเป็นวงกว้าง และส่งผลกระทบมายังประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงกับไทยในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งโรคดังกล่าวนี้เป็นที่น่ากังวลว่าถ้าเกิดการระบาดมายังประเทศไทยอาจจะส่งผลกระทบทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ลงอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ในหลายประเทศเองก็เริ่มมีความกังวลกับโรค AFS ในสุกรมากขึ้น จึงมีมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคดังกล่าวอย่างมากมาย ทำให้การรับมือกับโรคนี้เป็นไปได้อย่างเรียบร้อยมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการทำความเข้าใจและอบรมในเรื่องดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพราะจะได้บอกกับชาวบ้านและเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงหมูให้พร้อมรับมือและเฝ้าระวังให้มากที่สุด
โรค AFS ในสุกรนั้น หรือเรียกอย่างว่า โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร นับว่าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้อย่างรุนแรงในสุกรหรือหมู โดยสามารถที่จะแพร่กระจายยังที่ต่างๆ ทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น แม้ว่าโรคดังกล่าวนี้จะไม่ได้ติดต่อจากสัตว์และคน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับหมูได้อย่างมาก เพราะว่าถ้าเกิดมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ความเสียหายของประเทศนั้นก็จะตามมาอย่างแน่นอน เพราะเป็นโรคที่กำจัดได้ค่อนข้างยาก
ทำไมถึงเป็นโรคที่กำจัดได้ยาก เพราะว่าในปัจจุบันโรคดังกล่าวนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคนี้ในสุกรได้ โดยเมื่อเชื้อเริ่มก่อโรคขึ้นมาแล้วจะมีความทนทานต่อสภาพอากาศ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ค่อนข้างสูง เมื่อสุกรหรือหมูที่ติดโรค แต่หายป่วยแล้ว ก็จะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต อีกทั้งโรคนี้เป็นโรคที่ค่อนข้างส่งผลรุนแรงต่อตัวหมู โดยพบว่าเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของหมูที่ติดโรคดังกล่าวมีโอกาสตายแทบทั้งหมดเลยทีเดียว
การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู
ซึ่งชี้ให้เห็นเลยว่าสถานการณ์ในตอนนี้เกี่ยวกับ โรค AFS เริ่มเป็นที่สนใจอย่างมากในกลุ่มผู้เลี้ยงหมู รวมไปถึงบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว ต่างก็ต้องช่วยกันหาแนวทางป้องกันในเรื่องของโรคนี้ให้มากขึ้น นับว่าเป็นช่วงที่ลำบากของผู้เลี้ยงหมูเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการมีโรคนี้เริ่มเข้ามาทำการซื้อขายหมูในแต่ละครั้งต้องมีการตรวจสอบหาโรคดังกล่าวอย่างเข้มงวดเลยทีเดียว
โดยการเริ่มระบาดตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนที่มีการพบการระบาดมายังภูมิภาคเอเชีย โดยจีนเป็นประเทศแรกที่มีการค้นพบและเจอโรคดังกล่าว ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มมีความกังวลว่าจะเกิดโรคระบาดในพื้นที่ ทำให้เริ่มการสร้างมาตรการการป้องกันเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว โดยหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในแถบเอเชีย หรือยุโรปเอง ต่างก็เริ่มมีพื้นที่ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคนี้เข้าแล้ว ในส่วนประเทศยุโรปนั้นมีการพบว่า 10 ประเทศ ในโซนยุโรป เริ่มได้รับผลกระทบไปบ้างแล้ว
ส่วนในทวีปเอเชียก็มีประมาณ 6 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวแล้วเช่นกัน สำหรับเมืองไทยเองยังไม่ได้รับการรายงานว่ามีการระบาดของโรคเกิดขึ้นภายในประเทศ แต่ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและพร้อมรับมือ เพราะว่าถ้าโรคดังกล่าวนี้หลุดมาเมื่อไหร่ความเสียหายจะตามมาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ต่างต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
โรค AFS ในสุกรนั้นเริ่มระบาดมายังแถบเอเชียในช่วงปี 2561 จนปัจจุบันที่เริ่มมีการระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ และสถานการณ์ก็เริ่มลุกลามไปทั่วโลก มีการกระจายตัวของโรคมากขึ้น เมื่อประเทศจีนเกิดการระบาด ทำให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเริ่มวิเคราะห์ว่าภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคดังกล่าวภายในประเทศได้ค่อนข้างสูง
เนื่องจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การค้าขาย การขนส่งสินค้า หรือปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัด อย่าง ชายแดน ที่มีระยะยาวมาก ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าทั้งญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงไทยเอง ก็มีการตรวจพบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาจากผลิตภัณฑ์ในสุกร จากนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งแสดงให้เห็นเลยว่ามีความเสี่ยงที่จะนำเข้าเชื้อไวรัสเข้ามาในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง
จากที่มีการประเมินความเสี่ยงในการเตรียมพร้อมเพื่อที่จะได้มีการรับมือกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ภายในประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญและมีมาตรการในการป้องกันโรคที่จะเข้าประเทศให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยมีการจัดตั้งทีมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูอยู่เรื่อยๆ และป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่จะเข้ามายังประเทศไทยอยู่ตลอดเวลา
ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นแน่นอนอยู่แล้ว คือ เรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกานั้นจะแตกต่างกันอยู่ที่ว่าพื้นที่ไหนมีการระบาดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งเศรษฐกิจในเรื่องของหมูนั้นก็จะได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน เพราะว่าการส่งออกและการจำหน่ายภายในประเทศก็จะลดลง ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรนั้นได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน
การบริหารจัดการฟาร์มหมู
สำหรับประเทศไทยนั้นมีการเลี้ยงสุกรประมาณเกือบ 10 ล้านตัว และเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรประมาณ 2 แสนคน ซึ่งสุกรนั้นถือว่าเป็นแหล่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการบริโภคในระดับต้นๆ ของประเทศ รวมไปถึงการส่งออกที่เป็นรายได้หลักๆ ของประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากได้รับผลกระทบจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในภาคอุตสาหกรรมเลย คือ ไม่ต่ำกว่า 64,000 ล้านบาท เลยทีเดียว
แต่เมื่อหลังจากที่ผลกระทบจากโรคดังกล่าวสงบลง ก็จะทำให้เกิดอุปสงค์ อุปทาน เกิดขึ้น เพราะว่าผู้ประกอบการรายใหญ่นำหมูเลี้ยงเข้ามาใหม่ เกษตรกรรายย่อยก็เลิกกิจการ การแข่งขันทางราคา และความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพื่อการกลับเข้าสู่ตลาดการส่งออกอีกครั้ง ก็เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
ถ้าเกิดความสูญเสียในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ยากต่อการประเมินความเสียหายได้ยากมาก เพราะว่ามีความละเอียดอ่อน และค่อนข้างซับซ้อน แต่เนื่องจากว่าธรรมชาติของโรคนี้นั้นมีความทนทานและความรุนแรงที่สูง ทำให้ในการควบคุมโรคทำได้ คือ การทำลายสัตว์ในฟาร์มที่เป็นโรค ซึ่งการทำลายนี้จะส่งผลด้านความมั่นคงทางอาหารเป็นอย่างมาก และทำให้วิถีชีวิตของเกษตรกรรายย่อยเสียหาย เนื่องจากว่าเกษตรกรกลุ่มนี้จะขาดประสิทธิภาพในการทำงานและควบคุมป้องกันโรคในฟาร์มตนเอง จึงวอนให้ภาครัฐเข้ามาให้ความร่วมมือ จะช่วยกันป้องกันโรคได้อีกทางด้วย
สำหรับโรค AFS หรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรนั้น ถ้าเกิดหมูเริ่มติดโรคไวรัสจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 5-15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ โดยลักษณะทั่วไปเมื่อหมูเริ่มติดโรคจะมีอาการไข้สูง นอนสุมทั้งวัน ร่วมกับมีอาการท้องเสียเป็นเลือด ผิวหนังจะแดง มีจุดเลือดออก หรือมีรอยช้ำเป็นจุดๆ โดยจุดที่เห็นชัดเลย คือ ใบหู ท้อง ไอ แท้ง และขาหลังจะเริ่มไม่มีแรง โดยถ้ามีอาการลักษณะนี้สุกรมีโอกาสตายได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว นับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้รอยช้ำตามจุดต่างๆ แล้ว ต่อมน้ำเหลืองเองก็จะโต ม้ามจะโต และขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติถึง 3-6 เท่า และมีเลือดออกตามอวัยวะภายในต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ม้าม ไต และต่อมน้ำเหลือง โดยอาการและรอยของโรคอหิวาต์แอฟริกานั้นจะมีช่วงระยะเวลาต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป โดยถ้าเป็นช่วงเวลาที่ติดโรคแบบเฉียบพลัน สุกรจะไม่แสดงอาการป่วยที่ชัดเจน แต่จะตายแบบเฉียบพลันในทันที
วิธีการทำลายเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมู
สำหรับเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรนั้น เป็นเชื้อที่สามารถทำลายได้ง่าย ถ้าผ่านความร้อนในปริมาณที่สูง และเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงกลุ่มสารเคมีที่ช่วยในการทำลายเชื้อได้เบื้องต้นด้วย ซึ่งวิธีการต่างๆ นี้จะสามารถฆ่าเชื้อได้โดยง่าย และเป็นวิธีเบื้องต้นที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเกษตรกรเองหรือผู้ที่มีส่วนช่วยในการเลี้ยงสุกร
โดยกลุ่มของสารเคมีที่นำมาใช้ในการทำลายเชื้ออหิวาต์แอฟริกานั้นจะเป็นกลุ่มสารเคมีประเภทโซดาไฟ 8/1000 ใช้ประมาณ 30 นาที กลุ่มฟีนอล 3 เปอร์เซ็นต์ นาน 30 นาที สารประกอบไอโอดีน นาน 30 นาที ซึ่งยังมีสารอื่นๆ ที่ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณ 30-1 ชั่วโมง เพื่อช่วยทำลายเชื้อได้ อีกทั้งยังมีการฆ่าเชื้อในผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีการนำเศษอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงสุกรไปต้มในน้ำเดือด โดยคนให้ทั่วๆ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหรืออาจจะมากกว่านั้น อีกวิธี คือ การใช้ความร้อนภายใต้ความดันที่อาหาร โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส ความดันประมาณ 3 บาร์ ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ในการทำลายเชื้อ ก็จะช่วยได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
สำหรับเนื้อสุกร ถ้าพูดถึงเนื้อสุกรแบบสดก็ควรจะมีวิธีการผ่านการฆ่าเชื้อ ไม่ใช่แค่เฉพาะเนื้อ แต่ภาชนะที่ใช้เก็บนั้นก็ต้องมีการฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน สำหรับการปรุงสุกนั้นควรจะให้เนื้อโดนความร้อนมากกว่า 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง โดยให้ความร้อนนั้นส่งผ่านอย่างทั่วถึงและตลอดทั้งชิ้นเนื้อหมู ถ้าเป็นการหมักแห้งเพื่อนำไปทำเนื้อแห้งแดดเดียว ฯลฯ ควรจะใช้วิธีการหมักด้วยเกลือ โดยทาที่ผิวนอกหรือคลุกในทั่ววัตถุดิบ จากนั้นบ่มไว้อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ไอโอดีนเข้ามาไปสัมผัสกับเนื้อ จะช่วยให้เนื้อหมูไม่ติดโรคได้ง่ายด้วย
สำหรับไส้หมู การจะนำไส้หมูมาบริโภคนั้นจะต้องล้างทำความสะอาดให้ดี หลังจากนั้นค่อยนำมาหมักเกลือ โดยใช้เวลาหมักประมาณ 30 วันเป็นอย่างต่ำ โดยหมักด้วยเกลือที่มีโซเดียมคลอไรด์ หรือจะหมักในน้ำเกลือที่มีความอิ่มตัวก็ได้ โดยหมักในอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ประมาณ 12 องศาเซลเซียส หรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อ AFS สามารถเกาะอยู่ในเนื้อ หรือส่งผลต่อเนื้อหมูได้นั่นเอง
การป้องกันและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในฟาร์มหมู
สำหรับการป้องกันโรคเลย สิ่งหนึ่งที่ต้องมีการคำนึงถึง คือ สถานที่สำหรับการเพาะเลี้ยงสุกร ต้องมีความปลอดภัย และสะอาด อีกทั้งควรทำเป็นรูปแบบที่ชัดเจน เนื่องจากว่ายังไม่มีวัคซีนที่สามารถใช้ในการป้องกันโรคได้อย่างเต็มที่ โดยถ้าเราสามารถที่จะเพิ่มโอกาสในการป้องกันโรคที่เข้ามาภายในฟาร์มได้ จะทำให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นเข้ามามีบทบาทที่จะช่วยในเรื่องการพัฒนาระบบการป้องกันโรคของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยสถานที่ที่มีการเลี้ยงสุกรรายย่อยนั้น คือ การเลี้ยงสุกรที่น้อยกว่า 50 ตัว ถ้าเป็นคำว่า ฟาร์ม คือ การเลี้ยงสุกรที่มากกว่า 50 ตัวขึ้นไป ซึ่งการปฏิบัติและการดูแลนั้นอาจจะมีข้อที่แตกต่างกันไปบ้าง ตามรูปแบบและขนาดพื้นที่ของการเลี้ยง ซึ่งการป้องกันนั้นต่างก็มีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพที่ป้องกันโรค และมีหลักเกณฑ์ที่มีความจำเป็น โดยได้มีการกำหนดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
ตามหลักกฎกระทรวงนั้น ผู้ที่ทำการเลี้ยงสุกรต้องปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้มีการกำหนดขึ้น โดยจะต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสุกรที่ชัดเจน ดูแลสุกรให้มีสุขภาพที่ดี โดยต้องคอยสังเกตว่าสุกรนั้นมีอาการป่วยหรือไม่ หากพบหรือสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนให้ครบกำหนดตามแพทย์สั่ง เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตัวสุกรเอง โดยวัคซีนโรคปากควรฉีดปีละ 2 ครั้ง โรคอหิวาต์ควรฉีดปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย ถ้ามีการนำสุกรเข้ามาเลี้ยงใหม่ควรจะแจ้งข้อมูลให้ชัดเจนว่านำมาจากไหน ว่าสถานที่ที่รับมานั้นมีระบบการป้องกันที่ดีหรือไม่ รวมทั้งจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และปฏิบัติตามระเบียบการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ให้ถูกต้อง
นอกจากนี้รถที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายจะต้องมีการฆ่าเชื้อทุกครั้งเมื่อมีการเคลื่อนย้ายสุกรไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ห้ามรถที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อออกนอกพื้นที่อย่างเด็ดขาด เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อทางอ้อม อีกทั้งควรติดตามเฝ้าระวังจากข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้เป็นการป้องกันไปในตัวเองด้วย รวมไปถึงต้องมีการบันทึกการเข้าและออกอย่างชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร จะได้มีข้อมูลแจ้งได้อย่างชัดเจนด้วย
นอกจากนี้การจัดการบุคคลก็มีส่วนสำคัญเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากคนมาสู่สัตว์ โดยบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องห้ามเข้ามาในพื้นที่ฟาร์มที่ได้รับการป้องกันด้วยระบบที่มีคุณภาพแล้วอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับการฆ่าเชื้อแล้วเรียบร้อยแล้ว หรือไม่เคยเข้าโรงเลี้ยงสุกรอื่นมาก่อนหลังจากฆ่าเชื้อแล้ว 5 วัน
แนวทางป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในฟาร์มหมู
ในปัจจุบันนั้นโรค AFS ในสุกร นับว่ายังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรคดังกล่าวได้ โดยมาตรการป้องกันและการควบคุมโรค รวมถึงการระบาด จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการเฝ้าระวังไม่ให้โรคดังกล่าวนั้นสามารถเข้ามาภายในประเทศไทย
โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่งได้ร่วมมือกันจัดเตรียมมาตรการฉุกเฉินไว้เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังโรคกันอย่างมาก โดยเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกร เพื่อเป็นการชะลอการนำเข้าสุกรที่มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มาจากสุกร หรือจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น ซึ่งก็ได้มีการเตรียมความพร้อม ทั้งในห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ รวมไปถึงบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ ในเรื่องของโรค เตรียมความพร้อมเพื่อที่จะเฝ้าระวังในเชิงลึกมากขึ้น เฝ้าระวังอาการในสุกร และมีการสุ่มเก็บตัวอย่างส่งตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการ
นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค และมีการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการให้ความรู้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อที่เกษตรกรจะได้เข้าใจถึงโรค และสามารถหาสาเหตุเกี่ยวกับโรคได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ การทำความสะอาด และพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากโรคนี้สร้างผลกระทบได้อย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูเป็นอย่างมาก
การควบคุมและป้องกันเป็นทางเลือกระดับต้นๆ ที่จะช่วยให้เรานั้นตื่นตัวกับโรคอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าโรคดังกล่าวมีความรุนแรง เกษตรกรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องพร้อม และมีความรู้ เพื่อที่จะได้ป้องกันได้ทันเวลาด้วย
การทำลายซากสุกรเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่ง
โดยในการทำลายซากสุกรนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงจะสามารถนำไปทำลายได้ โดยจะต้องทำตามกฎของกรมปศุสัตว์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการทำลายสัตว์ที่อาจจะเป็นโรค หรือเป็นพาหะในการระบาด หรือมีเหตุผลอันสมควรที่สงสัยว่าอาจจะติดโรค
โดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด จะต้องทำเรื่องเสนอภาครัฐประจำจังหวัดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เพื่อเป็นการประเมินราคาสัตว์หรือซากที่ถูกทำลาย โดยการประเมินในแต่ละครั้งจะต้องมีสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประจำท้องถิ่นด้วย เพื่อที่ว่าจะได้ประเมินความเสียหายที่จะต้องได้รับคืน ซึ่งการทำลายซากสุกรนั้น ทีมสัตวแพทย์จะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลเพื่อที่จะได้ทำการทำลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื้อโรคจะได้ไม่แพร่กระจายออกไปเป็นบริเวณกว้าง โดยต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ใกล้เคียงที่อาจจะได้รับผลกระทบด้วย
นอกจากนี้จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบด้วยว่าการทำลายนั้นเป็นไปตามขั้นตอนตามที่กรมปศุสัตว์ได้จัดทำหรือวางแผนไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้กำหนดหลักเกณฑ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งการเบิกจ่ายเพื่อทำลายซากสุกรที่มีความเสี่ยงนั้นอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำลาย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบ ควบคุมงบประมาณ และแจกแจงรายละเอียดในการทำลายให้เป็นเรื่องราว ทั้งนี้การควบคุมการทำลายซากสุกรนั้นอาจจะต้องมีการแนบหลักฐานการทำลาย ไม่ว่าจะเป็นการเกิดโรคระบาดในพื้นที่ หรืออาจจะแนบผลวิจัยของโรคไว้ด้วย
สำหรับค่าชดเชยในการทำลายสุกรนั้นจะมีการจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของราคาสุกร เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้สามารถตั้งตัวได้ใหม่ แต่จะต้องมีการแจ้งโรคต่อนายสัตวแพทย์ในพื้นที่ เพื่อที่จะเข้ามาตรวจสอบภายในระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง รวมไปถึงต้องมีการป้องกันและทำเครื่องหมายให้ชัดเจน ต้องจดบันทึกและตรวจการถ่ายพยาธิในสัตว์ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่ได้รับในแต่ละครั้งของการรักษาโรค
การให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคasf ในหมู
นอกจากนี้จะต้องทราบแหล่งที่มาของสุกรใหม่ด้วยว่านำมาจากไหน ใกล้หรืออยู่ในแหล่งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ เพราะว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาได้เลย
โรคasf ในสุกร นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสุกรโดยตรง เมื่อโรคดังกล่าวหลุดเข้ามาในประเทศไทยได้จะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อวงการการเลี้ยงหมูของเมืองไทย ซึ่งมาตรการในการเฝ้าระวัง รวมไปถึงวิธีการดูแลต่างๆ นับว่าเป็นเรื่องที่หลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร หรือภาคเอกชน เอง ต้องมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคชนิดนี้ไม่ให้เข้ามาสู่ประเทศไทยได้ อีกทั้งยังต้องให้ความรู้และอบรมในการเฝ้าระวังโรคดังกล่าวแก่เกษตรกรด้วยเช่นกัน
เรื่องราวของ โรคasf ในครั้งนี้ นับว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป หรือแม้แต่เกษตรกรเอง ก็ต้องทำความเข้าใจกับโรคดังกล่าวด้วย เพราะว่าไม่ใช่โรคที่ห่างไกลจากตัวเรามากเท่าไหร่นัก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบทความที่อยากส่งต่อความรู้ให้ได้รับรู้กันว่าโรคในวงการเกษตรนั้นมีมากมายพอสมควร และบางชนิดก็สามารถที่จะส่งผลร้ายแรงกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/341-news-hotissue/18881-hotissue-25620311-1,https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1625966,https://www.prachachat.net/columns/news-220195,https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/838642,https://fact.cpbrandsite.com/facts/african-swine-fever