มะขามแขก ผลไม้สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พูดถึงสมุนไพรในบ้านเรานั้น ต่างก็มีหลากหลายชนิด  หลากหลายสายพันธุ์  ที่แตกต่างกันออกไป  ตามลักษณะและรูปร่าง รวมไปถึงวิธีการปลูก ซึ่งเมืองไทยนั้นก็แทบได้ขึ้นชื่อว่ามีสมุนไพรที่มากพอสมควร เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ อย่าง จีน เอง ในครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ มะขามแขก ผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีสรรพคุณทั้งในเรื่องของยา และทางสมุนไพร ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์ และนำมาแปรรูปได้หลากหลายชนิดเลยทีเดียว

1.มะขามแขกพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่น่าจับตามอง
1. มะขามแขก พืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่น่าจับตามอง

การปลูกมะขามแขก 

มะขามแขกนั้นถือได้ว่าเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ของไทย นับว่าเป็นตัวยาที่ช่วยในการระบายชั้นดี อีกทั้งยังมีหลายรูปแบบในเลือกรับประทานได้ แต่การทาน มะขามแขก นั้นควรจะทานในปริมาณที่พอดี เพราะถึงแม้จะเป็นสมุนไพร แต่ก็ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะถึงอย่างไรก็อาจจะมีโทษได้ รวมไปถึงวิธีการปลูกนั้นก็ไม่ยุ่งยาก แต่มะขามแขกเป็นพืชที่มีอายุในการปลูกไม่นาน  จึงทำให้มีการปลูกกันเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาทำเป็นสมุนไพร  และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้มากมาย

ถึงยังไงก็แล้วแต่ มะขามแขกก็ยังคงเป็นสุดยอดสมุนไพรที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง และช่วยขับลม ได้ดี ถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีความต้องการที่หลากหลายในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ แต่ทั้งนี้สมุนไพรทุกชนิดรวมไปถึงมะขามแขกก็ควรที่จะบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ และพอดี หรืออาจจะต้องฟังคำแนะนำของแพทย์ร่วมด้วยก็จะเป็นเรื่องที่ดี ในการปลูกนั้นก็สามารถปลูกได้ง่าย เพราะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีด้วยเช่นกัน

มะขามแขกนั้นถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีความขึ้นชื่อเป็นอย่างมากในเมืองไทย เพราะได้มีการนำมาแปรรูป และนำมาใช้ในการรักษาและบรรเทาอาการต่างๆ อย่างมากมายเลยทีเดียว ถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาใช้ดูแลร่างกายเลยทีเดียว

สภาพพื้นที่ปลูกมะขามแขก

สำหรับมะขามแขกนั้นถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้กันอย่างยาวนานเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่ามีการใช้มะขามแขกมาประมาณ 1,000 กว่าปีเลยทีเดียว โดยมะขามแขกนั้นเป็นพืชเขตร้อน และถือว่าเป็นพืชพื้นเมืองของแอฟริกาเขตร้อนเลยก็ว่าได้

ซึ่งในทวีปแอฟริกาเขตร้อนนั้นส่วนใหญ่แล้วเราจะพบว่ามีการปลูกต้นมะขามแขกได้มากที่สุดเลยอยู่ในประเทศซูดาน เมืองคอร์โดฟาน และเมืองเซนน่า อีกทั้งยังมีการพบว่าอีก 1 สายพันธุ์ ของใบมะขามแขกนั้น ปลูกที่เมืองโซมาลิแลนด์ ในแคว้นปัญจาบ และสินธุ แต่แหล่งที่ปลูกพืชชนิดนี้เป็นอย่างมากเลยนั้นพบได้ที่ประเทศอินเดีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งในปัจจุบันนั้นนับว่าเมืองไทยเองก็มีการปลูกต้นมะขามแขกกันเป็นจำนวนมากขึ้น อีกทั้งยังมีการนำมะขามแขกนั้นสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ด้วย ถือได้ว่ามะขามแขกของเมืองไทยนั้นไม่แพ้ชาติอื่น และยังมีสรรพคุณที่ค่อนข้างโดดเด่น จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง

สำหรับมะขามแขกนั้นก็จะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นพืชที่สามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันจะได้รับความนิยมในการปลูกเป็นจำนวนมากขึ้น

ลักษณะทั่วไปของต้นมะขามแขก 

ในส่วนของต้นมะขามแขกนั้นจัดว่าเป็นไม้ทรงพุ่ม มีความสูงตั้งเล็กไปถึงปานกลาง โดยปกติแล้วความสูงของต้นมะขามแขกนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 0.5-1.5 เมตร ซึ่งถือว่าไม่ได้สูงมากนัก นอกจากนี้ต้นมะขามแขกเองก็เป็นพืชที่ทนความแล้งได้ดี แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเท่าไหร่นัก เพราะว่าถ้าเกิดน้ำท่วมขังบริเวณต้นนั้นจะทำให้เกิดรากเน่าได้ และสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ถ้าอยู่ในดินที่มีสภาพร่อนหรือร่วนซุย และมีความอุดมสมบูรณ์ของดิน ก็จะช่วยให้เติบโตและได้รับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการใช้ต้นกล้า

สำหรับใบของต้นมะขามแขกนั้นจะมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกขึ้นสลับเรียงกันอยู่ ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปวงรี และรูปใบหอก เมื่อใบเริ่มแห้งจะมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบนั้นจะเรียบ ปลายและโคนใบจะแหลม โคนใบทั้งสองจะมีขนาดไม่เท่ากัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ขนาดของใบนั้นจะมีความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบของมะขามแขกนั้นจะมีกลิ่นที่ค่อนข้างเหม็นเขียว แต่กลับมีรสชาติที่เปรี้ยวและหวานชุ่มเป็นอย่างมาก จึงไม่แปลกที่จะมีการนำใบของมะขามแขกมาทำเป็นยาสมุนไพรชั้นดี

ในส่วนของดอกมะขามแขกนั้นจะมีการออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง และกลีบดอกจะมีสีเหลืองสวย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่เวลามองมายังต้นมะขามแขกเราก็จะได้พบกับดอกสีเหลืองสวยที่บานออกในช่วงการออกดอกด้วย

ส่วนสุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ ผลของมะขามแขก หรือเรียกอีกอย่างว่า ฝักมะขามแขก ก็ว่าได้ ซึ่งตัวลักษณะของผลมะขามแขกนั้นจะมีลักษณะรูปร่างที่เป็นฝักแปบน และรูปขอบขนาน ฝักอ่อนนั้นจะมีสีเขียว ถือว่าเป็นผลผลิตที่สามารถนำมาทำเป็นยาได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ปลูกง่าย และเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่ร้อน
2.ปลูกง่าย และเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่ร้อน

การปลูกและบำรุงดูแลมะขามแขก

มะขามแขกนั้นถือได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถปลูกและเติบโตได้ง่าย แม้แต่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเป็นเขตร้อน ต้นมะขามแขกก็สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน โดยปกติแล้วถึงแม้จะเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่ร้อน  แต่ก็ยังคงเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบดินที่มีความร่วนซุยอยู่ดี และต้องมีการเตรียมปุ๋ยหรืออินทรียวัตถุพอสมควร ชอบน้ำปานกลาง ถือว่าเป็นพืชที่มีความไวต่อแสงมากเลยทีเดียว

การเริ่มปลูกนั้นสิ่งแรกเลยเราจะต้องมีการเตรียมดินเสียก่อน โดยการเตรียมดินนั้นควรจะมีการทำพื้นให้มีความลาดเอียงเล็กน้อย จากนั้นก็ไถพรวนดินและสามารถเริ่มปลูกได้ทันที แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบก็ให้ทำการไถพรวนดินเช่นกัน แต่พื้นที่ราบนั้นจะต่างกับพื้นที่ลาดเอียง จำเป็นจะต้องมีการหว่านปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อเป็นการปรับธาตุอาหารในดินให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

หลังจากที่หว่านปุ๋ยเรียบร้อยแล้ว ในพื้นที่ที่เป็นที่ราบเรียบนั้นก็ให้ทำการไถกลบดินให้เรียบร้อย หลังจากนั้นถ้าจะทำการยกร่องก็ควรจะยกร่องให้เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมจะดีที่สุด และควรจะย่อยดินให้มีความละเอียดก่อนที่จะเริ่มหยอดเมล็ดลงปลูกด้วยเช่นกัน

การนำเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาปลูกนั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ และมีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งควรจะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ถูกชนิดกับพื้นที่ที่ปลูก และต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีโรคและแมลงปนมา โดยส่วนใหญ่แล้วสายพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกนั้นจะเป็นสายพันธุ์ที่มีจากอินเดีย และปัจจุบันก็เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกอย่างมากในพื้นที่จังหวัดลพบุรี แต่ที่สำคัญเลย ก็คือ เมล็ดพันธุ์นั้นจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรคและแมลงเข้าไปรบกวน เพราะว่าเมื่อเมล็ดพันธุ์เติบโตขึ้นก็จะทำให้ได้ต้นมะขามแขกที่มีความสมบูรณ์ และมีคุณภาพตามไปด้วย

การเริ่มปลูกมะขามแขกนั้นสิ่งแรกเลยจะต้องค่อยๆ ทำการหยอดเมล็ดลงหลุม ประมาณหลุมละ 2-3 เมล็ด แต่ถ้าดินแห้งมากก็ควรจะรดน้ำให้ชุ่มเสียก่อน ก่อนที่จะใส่เมล็ดลงไป โดยรดน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้ดินนั้นชุ่มพอดี พอเริ่มหมาดแล้วก็ค่อยทำการหยอดเมล็ดลง

โดยระยะที่ควรเว้นไว้ระหว่างต้นนั้นควรจะเว้นระยะประมาณ 50 เซนติเมตร ต่อต้น และระหว่างแถวประมาณ 1-1.5 เมตร หรือขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ที่ทำการปลูก หลังจากนั้นก็กลับเมล็ดด้วยดินบางๆ และรดน้ำตามให้ชุ่ม หลังจากนั้นต้นอ่อนก็จะเริ่มงอก โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ก็จะเริ่มเห็นต้นอ่อนแล้ว และการใช้เมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกมะขามแขกนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ เป็นตัวมาตรฐานในการกำหนดว่าเราจะใช้เมล็ดพันธุ์มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไร่ที่ทำการเพาะปลูกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกมะขามแขก ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่ทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีช่วงเวลาหรือฤดูที่เหมาะสมกับการปลูก โดยปกติแล้วการปลูกมะขามแขกนั้นจะปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจะเหมาะสมมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่สภาพอากาศเหมาะสม ความชื้นพอดี อาจจะเป็นช่วงเดือนกรกฎาคมก็ได้เช่นกัน

สำหรับต้นมะขามแขกนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่อายุไม่ยืนยาวมากนัก เมื่อเทียบกับพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยต้นมะขามแขกนั้นจะมีอายุได้แค่ 1-3 ปี เท่านั้น จึงทำให้ในการปลูกแต่ละครั้ง เมื่อต้นเก่าเริ่มเสื่อมโทรมลงก็จะต้องมีการปลูกต้นใหม่ขึ้นมา เพื่อเป็นการทดแทนเป็นประจำแทบทุกปีเลยก็ว่าได้

3.ใบอ่อนมะขามแขก
3.ใบอ่อนมะขามแขก

การให้น้ำและปุ๋ยต้นมะขามแขก

สำหรับการดูแลต้นมะขามแขกนั้นก็เหมือนหรือมีลักษณะที่คล้ายๆ กับการดูแลพืชสมุนไพร หรือต้นไม้ทั่วไป เพราะว่าต้นมะขามแขกนั้นต่อให้เป็นต้นไม้ที่มีการความคงทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดีก็จริง แต่ก็ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เติบโตและได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายได้ จึงจำเป็นต้องดูแลในเรื่องของน้ำ ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช เป็นต้น

การให้น้ำในต้นมะขามแขกนั้น เนื่องจากว่าต้นมะขามแขกนั้นเป็นพืชที่ชอบความแล้งและทนแล้งได้ดี  การให้น้ำจึงไม่จำเป็นจะต้องให้บ่อยมากนัก เพียงแค่ให้ในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนแรกก็พอ หลังจากนั้นก็ค่อยให้ตามความเหมาะสมก็ได้  หรือถ้าช่วงไหนที่ฝนไม่ได้ตกบ่อย  หรือเห็นว่าดินแห้งมากเกินไป ก็ให้ตามความเหมาะสม เพื่อทำให้ดินนั้นชุ่มชื้นก็ได้เช่นกัน

การให้ปุ๋ยนั้นนับว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับต้นไม้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นต้นที่มีความสมบูรณ์หรือทนต่อสภาพอากาศได้ดี ก็จำเป็นที่จะต้องมีการให้ปุ๋ยเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินให้มีความสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้นด้วย และจะเริ่มให้ได้ในช่วงที่มะขามแขกเริ่มงอกแล้วประมาณ 1 เดือน หรือ 30 วัน ปุ๋ยที่เหมาะสมกับการให้นั้นควรจะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้เช่นกัน โดยอัตราการให้จะอยู่ที่ 200 กิโลกรัม ต่อไร่ และให้ในระยะที่เหมาะสมกับระหว่างแถวด้วย

การป้องกันและกำจัด โรค แมลง วัชพืช ต้นมะขามแขก

ในส่วนของการกำจัดวัชพืช ถึงแม้ว่ามะขามแขกนั้นจะเป็นพืชที่สามารถทนแล้งได้ดี แต่การที่มีหญ้าหรือวัชพืชขึ้นปกคลุมโคนต้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีมากนัก เพราะว่าจะทำให้วัชพืชเหล่านั้นไปแย่งธาตุอาหารในดินบริเวณต้นมะขามแขก ทำให้ต้นมะขามแขกโตได้ช้า และอาจจะได้ผลผลิตไม่เต็มที่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำจัดวัชพืชรอบๆ บริเวณโคนต้นมะขามแขกทุกครั้ง เพื่อให้พื้นที่บริเวณดูโล่ง และไม่รก หลังจากนั้นก็พูนดินรอบโคนให้ร่องสูงขึ้น เพื่อจะช่วยการระบายน้ำได้ดีขึ้นด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในส่วนของโรคนั้นต้องยอมรับเลยว่ามะขามแขกนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถทนทานต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพียงอย่างเดียวที่อาจจะทำให้เกิดขึ้นได้ คือ โรครากเน่า ถ้ามีการรดน้ำหรือเกิดน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นก็จะทำให้รากนั้นเน่าตายได้ แต่ในส่วนของโรคอื่นๆ นั้นยอมรับว่าเป็นพืชที่ทนต่อโรคมากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีความทนทาน และไม่สิ้นเปลืองในเรื่องของสารเคมีมากเท่าไหร่นัก

ทางด้านของแมลงที่ต้องระวัง ถึงแม้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคในมะขามแขกมากวนใจ แต่เรื่องของแมลงนับว่าก็ต้องเป็นเรื่องที่ระวังมากเลยทีเดียว เพราะว่ามีแมลงศัตรูพืชที่จะคอยทำลายต้นมะขามแขกอยู่ด้วย นั่นก็คือ ด้วงปีกแข็งสีดำ ด้วงชนิดนี้จะเข้าไปทำลายช่อดอกและฝัก รวมถึงใบอ่อน ในช่วงเวลากลางคืน การป้องกันและกำจัดนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการเผาทำลายในส่วนที่ด้วงได้เข้าไปทำลายแล้วเป็นส่วนมาก

นอกจากด้วงปีกแข็งดำแล้วยังมีหนอนเขียวข้างเหลืองที่จะคอยกัดกินยอดอ่อนและดอกของมะขามแขกด้วย อีกทั้งยังมีหนอนเจาะลำต้นที่จะทำให้ต้นมีอาการเหี่ยว และลำต้นเองก็จะมีรอยเจาะทำลายเกิดขึ้น

4.ออกดอกเต็มต้น มะขามแขก
4.ออกดอกเต็มต้น มะขามแขก

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะขามแขก

ต้นมะขามแขกนั้นจะสามารถนำมาทำเป็นสมุนไพรและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว ฉะนั้นการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งอาจจะมีช่วงเวลาที่ไม่เหมือนกัน เพราะว่าการเก็บเกี่ยวของมะขามแขกนั้นจะเป็นการเก็บเกี่ยวแบบแยกใบและฝัก ต่างกันที่ช่วงเวลา จึงทำให้ต้องมีความรู้ในด้านนี้บ้าง

สำหรับการเก็บเกี่ยวใบของมะขามแขกนั้นจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อช่วงอายุของใบมะขามแขกมีอายุได้ 45-60 วัน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวใบได้แล้ว แต่จะต้องดูความสมบูรณ์ด้วยว่าใบนั้นมีรอยกัด หรือไม่มีตำหนิมากจนเกินไป เพราะว่าถ้ามีมากเกินไปอาจจะทำให้เสียคุณภาพ และจำหน่ายไม่ได้

การเก็บเกี่ยวฝักซึ่งจะเริ่มหลังจากติดฝักแล้วประมาณ 21-25 วัน แต่ทั้งนี้เวลาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามขนาดของสีฝัก ซึ่งฝักที่จะเก็บเกี่ยวนั้นจะต้องมีสีเขียวปนน้ำตาลถึงจะเริ่มเก็บได้ ซึ่งการเก็บเกี่ยวทั้งหมดนั้นจะต้องเริ่มจากการตัดยอดเหนือใบที่แก่ก่อน จากนั้นก็รูดเอาแต่ใบย่อย หลังจากนั้นการตัดใบควรตัดหรือทำอย่างน้อย 3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งควรทำห่างกันประมาณ 20 วัน จากนั้นก็ปล่อยให้ออกดอกเพื่อที่จะทำการเก็บฝัก ฝักที่จะเก็บได้ก็ต้องเป็นฝักที่เริ่มมีเมล็ดใสๆ แล้วเท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ดอกมะขามแขก
5.ดอกมะขามแขก

การแปรรูปมะขามแขก 

หลังจากที่เราเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีวิธีการนำมาแปรรูป และเก็บรักษา ซึ่งทั้ง 2 วิธีนั้นก็จะมีวิธีการเก็บและดูแลที่อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย

โดยการแปรรูปควรจะนำมาผึ่งใบที่เก็บเกี่ยวในที่ร่มประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้นก็นำไปผึ่งแดดอีกครั้งประมาณ 1 วัน เพื่อให้ใบนั้นแห้งสนิท การนำไปตากแดดนั้นจะต้องดูแสงแดดในแต่ละวันด้วยว่าปริมาณแดดแรงพอที่จะทำให้ใบแห้งหรือไม่ แต่ถ้าไม่ได้นำไปตากแดด

ใครมีทุนหน่อยก็อาจจะใช้วิธีการนำไปอบในอุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาเซลเซียสก็ได้ โดยอบประมาณ 8-12 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นในส่วนของฝักก็ให้นำมาผึ่งแดดประมาณ 4-6 ชั่วโมงหลังจากนั้นก็นำไปผึ่งลมให้แห้งสนิท ก็จะสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้แล้ว

สำหรับการเก็บรักษานั้นควรจะมีการบรรจุในภาชนะที่สะอาด และมีฝาที่ปิดสนิท และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 ปี เพราะว่าถ้าเก็บไว้นานกว่านั้นปริมาณสารสกัดและคุณประโยชน์ต่างๆ อาจจะลดลงได้ ส่วนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เกษตรกรส่วนใหญ่จะต้องดูแล และควรมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี

ซึ่งเมล็ดพันธุ์มะขามแขกนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีความแก่จัด จากฝักที่เก็บก่อนจะแตกอ้า หรือเมล็ดร่วงลงพื้นดิน เพื่อให้ได้เมล็ดที่สะอาด จะได้เป็นการเก็บไว้ทำพันธุ์ จากนั้นก็นำมาคัดเลือกเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ไม่เล็กลีบเกินไป และต้องมีการนำไปผึ่งลมให้แห้งก่อนที่จะนำไปเก็บได้ โดยเก็บภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และควรเก็บไว้ในที่เย็น

สำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะขามแขกนั้น ในปัจจุบันถือว่ามีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และหาซื้อมารับประทานได้ง่ายเป็นอย่างดี เพราะว่าตามร้านขายยาทั่วไปก็มีจำหน่ายกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากมะขามแขกนั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการทำในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเม็ด แบบแคปซูล แบบผง หรือแบบสำเร็จรูปต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการในการรับประทานของผู้บริโภคทุกช่วงวัย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการขายจำแนกออกตามราคา การแปรรูปของแต่ละบริษัทหรือแต่ละพื้นที่ ที่เป็นคนทำผลิตภัณฑ์ตัวนั้นขึ้นมา ซึ่งราคาก็อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง อาจจะมีทั้งแบบราคาหลักสิบไปจนถึงราคาหลักพันเลยก็มี ถือว่าเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภคที่สนใจและต้องการรับประทานด้วย

6.มะขามแขกใช้ได้ทั้งใบและฝัก
6. มะขามแขก ใช้ได้ทั้งใบและฝัก

ประโยชน์และโทษของมะขามแขก

คุณประโยชน์ของมะขามแขกนั้นถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก ในส่วนของใบและฝักของมะขามแขกนั้นถือว่าเป็นยาระบายหรือยาถ่ายชั้นดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของอาการท้องผูกได้ โดยปกติแล้วต้องนำใบมะขามแขกมาประมาณ 2 หยิบมือ หรือจะใช้ฝักก็ได้ประมาณ 10-15 ฝัก มาต้มกับน้ำประมาณ 4 นาที แล้วใส่เกลือเล็กน้อย ซึ่งต้องทำในปริมาณที่สามารถทานได้ครั้งเดียว หรือจะใช้วิธีการบดใบแห้งให้เป็นผงก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าใครเกิดอาการมวนท้อง อาจจะมีการนำอย่างอื่นมาต้มรวมกันได้ เช่น กานพลู ขิง อบเชย เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้

นอกจากช่วยในเรื่องของการขับถ่ายแล้ว มะขามแขกยังมีส่วนช่วยในเรื่องอื่นๆได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขับพิษไข้ ช่วยขับพิษเศษเสมหะ ช่วยในเรื่องของการขับลมในลำไส้ ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้เป็นอย่างดี ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ใช้ใบช่วยขับพยาธิได้เป็นอย่างดีด้วย

ข้อควรระวังในการบริโภคมะขามแขก

ถึงแม้ว่ามะขามแขกนั้นจะถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการขับลม และช่วยในการขับถ่าย แต่ก็ต้องมีข้อควรระวังในการบริโภคด้วย เนื่องจากว่าเป็นตัวช่วยในการขับถ่ายนี่เอง การทานในแต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมาก สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่ควรที่จะรับประทานมะขามแขกอย่างเด็ดขาด เพราะว่ามะขามแขกถือว่าเป็นยาระบายได้อย่างดี ถึงแม้จะไม่มีผลต่อน้ำนม แต่ก็เสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่ให้นมบุตร

นอกจากนี้มะขามแขกยังไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ด้วย อีกทั้งมะขามแขกนั้นมีฤทธิ์ที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงไม่เหมาะเป็นอย่างมากในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งช่องท้อง ไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ อีกทั้งผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นในบางรายอาจมีอาการมวนท้องได้ ถ้าจะใช้เป็นยาแก้ท้องผูกสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น หรือว่าใช้เท่าที่จำเป็นจะดีที่สุด ไม่ควรที่จะใช้ในระยะยาว และไม่ควรใช้เกินหรือติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ แต่ถ้าทานติดต่อกันเรื่อยอาจจะส่งผลเสียต่อตับได้ด้วยเช่นกัน

และที่สำคัญเลยมะขามแขกนั้นไม่ควรจะทานเป็นยาลดความอ้วนเด็ดขาด เพราะมะขามแขกนั้นเป็นตัวช่วยในการขับถ่าย แต่ไขมันจะไม่ถูกขับออกมา จึงมีความเสี่ยงถ้าใช้เป็นยาลดความอ้วนจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสี่ยงอันตรายได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ใบมะขามแขกสมุนไพรชั้นดีตัวช่วยในเรื่องบรรเทาอาการต่างๆ
7.ใบมะขามแขกสมุนไพรชั้นดีตัวช่วยในเรื่องบรรเทาอาการต่างๆ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มะขามแขก

ปัจจุบันตลาดของมะขามแขกนั้นเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ยิ่งเมื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์ทางสมุนไพร ในรูปแบบผง แคปซูล หรือแบบอัดเม็ด ซึ่งถือว่ามีการเปิดกว้าง และได้รับความนิยมในการบริโภคเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปแล้วจะมีขายตามร้านขายยาทั่วไป หรือตามร้านสะดวกซื้อที่มีร้านขายยา ทั้งแผนไทยและปัจจุบัน

นอกจากนี้ในส่วนของตัวใบและฝักก็มีการนำมาจำหน่ายในราคาตามท้องตลาดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการวางขายในท้องตลาดอาจจะมีไม่มากนัก  แต่ถ้าเป็นตามเว็บ หรือขายออนไลน์ที่มีหน้าร้าน  แต่เปิดรับออเดอร์ทางออนไลน์ด้วย ก็จะมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งราคาก็แล้วแต่อาจจะอยู่ 100 ไปจนถึง 500 กว่าบาทเลยก็มี ซึ่งถือว่าตลาดของมะขามแขกนั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่ายมากกว่าการขายใบสดหรือแบบฝัก เพราะเป็นตัวเลือกที่หาทาน หาซื้อได้ง่าย แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ทานเป็นยาลดความอ้วนเด็ดขาด

มะขามแขก นั้นถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี แต่การใช้บ่อยมากเกินไปนั้นก็อาจจะส่งผลเสียให้กับตัวผู้ใช้เองได้ อีกทั้งการใช้ มะขามแขก เป็นสมุนไพรช่วยกระตุ้นการขับถ่ายนั้นถือว่าต้องสอบถามกับแพทย์ผู้ใช้ด้วย เพราะว่าถึงแม้จะเป็นพืชสมุนไพร แต่การใช้ก็มีความเสี่ยงและผลข้างเคียงได้เช่นกัน การปลูกและวิธีการดูแลนั้นก็ง่ายไม่ยุ่งยาก ถือว่าเป็นพืชทางเลือกที่เหมาะกับเกษตรกรไม่น้อยเลยทีเดียว

สำหรับเรื่องของ มะขามแขก นั้นปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูปจาก มะขามแขก มาแล้วนั้นถือว่ามีวางขายทั่วไปตามท้องตลาดเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว นับว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ไม่ว่าจะเข้าร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ ก็สามารถพบเจอได้ง่าย แต่สรรพคุณที่มีประโยชน์ก็ย่อมมีโทษ การรับประทาน มะขามแขก ควรจะรับประทานในปริมาณที่พอดี ซึ่งบทความนี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบทความที่นำเสนอเรื่องราวของ มะขามแขก ให้แก่ผู้ที่สนใจได้อ่านกัน ถือว่าเป็นเรื่องราวดีๆ ที่นำมาแชร์ให้ได้ทราบกันนั่นเอง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://thailand-an-field.blogspot.com,https://medthai.com,https://puechkaset.com, http://hort.ezathai.org,https://siripa3herbal-tropical.fandom.com

โฆษณา
AP Chemical Thailand